xs
xsm
sm
md
lg

แพทย์จุฬาฯ พัฒนาวิธีตรวจหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ 2009 รู้ผลใน 4 ชม.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คณะแพทย์รพ.จุฬาฯ ร่วมแถลงข่าวการพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
แพทย์ รพ.จุฬาฯ แถลงพัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัยไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หลังได้พัฒนาจากตัวอย่างพันธุกรรม หรือ RNA ของไวรัสต้นแบบจากอเมริกา ระบุให้ผลตรวจแม่นยำ รวดเร็วภายใน 4 ชั๋วโมง พร้อมส่งต่อให้แล็บอื่นที่ต้องการ ยันเชื้อระงับได้ด้วยยาโอเซลทามีเวียร์ ที่ไทยผลิตเองและมีอยู่จำนวนมาก ฝากประชาชนอย่าตื่นตระหนก แต่ก็ไม่ควรประมาท

วันนี้ (6 พ.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. ที่ห้องประชุมชั้น 10 ตึก สก. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก และคณะแพทย์ แถลงว่า ขณะนี้ทาง รพ.จุฬาฯ ได้รับตัวอย่างพันธุกรรม หรือ RNA ของไวรัสต้นแบบไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งเป็นไวรัสที่สกัดแยกสารพันธุกรรมจากศูนย์ป้องกันและควบคุม CDC ของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ที่ 4 พ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อนำมาใช้พัฒนาการตรวจวินิจฉัยในประเทศไทย โดยขณะนี้กลุ่มผู้วิจัยได้ปฏิบัติการเพิ่มจำนวนและคัดลอกแบบ หรือโคลนนิ่ง เพื่อใช้เป็นตัวเปรียบเทียบและพัฒนาการตรวจให้ได้ผลถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ซึ่งได้ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาการตรวจวินิจฉัยโดยใช้หลักชีวะโมเลกุล โดยใช้ตัวอย่างต้นแบบเป็นตัวเปรียบเทียบ แทนการใช้วิธีการถอดรหัสซึ่งใช้เวลายาวนานกว่า อีกทั้งการวินิจฉัยดังกล่าวสามารถแยกชนิดไข้หวัดใหญ่ H1N1 ที่พบตามฤดูกาลในมนุษย์ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ไข้หวัดใหญ่ที่พบในสุกร ทั้งนี้ การตรวจวินิจฉัยดังกล่าวใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 4 ชั่วโมง หลังจากได้รับตัวอย่างมาถึงห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ทาง รพ.จุฬาฯ ก็พร้อมทำ positive control หรือ plasmid ที่ใช้เป็นตัวเปรียบเทียบให้หน่วยตรวจอื่น ๆ ที่ต้องการด้วย


“ทางศูนย์ฯ ของ รพ.จุฬาฯ เป็นหน่วยในการช่วยเหลือรับตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งศูนย์กลางของการตรวจนั้นอยู่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีหน้าที่โดยตรง เราเป็นเพียงเครือข่ายของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เท่านั้น หากมีการตรวจพบเชื้อจริงทางเราก็ไม่สามารถรายงานออกไปได้ ต้องทำการส่งผลตรวจยืนยันไปที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็จะต้องยืนยันไปที่องค์การอนามัยโรคเพื่อประกาศต่อไป” ศ.นพ.ยงกล่าว

ศ.นพ.ยงกล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนก เพราะขณะนี้การระบาดยังอยู่เฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ ส่วนทวีปอื่น ๆ ยังถือว่า ไม่ระบาดในระดับชุมชน และอัตราการเสียชีวิต ก็ยังต่ำกว่าร้อยละ 1 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดตามฤดูกาลยังทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ดังนั้น ขอให้ชาวไทยอย่าตื่นตระหนก และอยู่ในความไม่ประมาทต้องติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
 
ทั้งนี้ อยากฝากไปถึงคนขับแท็กซี่ว่า หากได้รับคนไข้ที่มีอาการหวัดไปส่งโรงพยาบาล ก็ขอให้แท็กซี่คันดังกล่าวถามชื่อผู้ป่วย หรือให้โรงพยาบาลช่วยแจ้งข่าว เพื่อช่วยกันในการป้องกัน ระมัดระวังร่วมกัน แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เชื้อยังอยู่ในขั้นที่ระงับได้ด้วยยาโอเซลทามิเวียร์ ซึ่งยาตัวนี้ประเทศไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก และองค์การเภสัชกรรมก็สามารถผลิตได้เอง

รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคหวัดเม็กซิโกในประเทศไทย

  • รู้จัก “ไวรัสไข้หวัดหมู” มฤตยูสายพันธุ์ล่าสุด!

  • สธ.สั่งจับตาหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ในเม็กซิโกใกล้ชิด ยันไม่พบเชื้อนี้ในไทย ปชช.ไม่ต้องกังวล

  • คุมเข้ม! ตั้งด่านวัดอุณหภูมิ สนามบินสุวรรณภูมิสกัดหวัดหมู เน้นขาเข้าจากเม็กซิโก-อเมริกา

  • สธ.เปิดสายด่วนไข้หวัดหมู ป้องกันประชาชนตระหนก

  • สธ.รับมือ “หวัดหมู” กระจายยาสำหรับ 3 แสนคน WHO เผยติดจากคนสู่คน

  • แพทย์ระบุ “หวัดหมู” รุนแรงน้อยกว่าหวัดนก แต่กระจายได้มากกว่า

  • “สุวรรณภูมิ” จับตา 8 เที่ยวบินจากเม็กซิโก ยังไม่พบติดเชื้อหมูมรณะ

  • สธ.เตรียมใช้แผนรับหวัดนก หาก WHO เพิ่มความรุนแรง “หวัดหมู” เตรียมทำคู่มือแจกปชช.

  • รับมือ “ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก” (ฉบับประชาชน)/เอมอร คชเสนี

  • WHO ยกระดับ “หวัดเม็กซิโก” ระดับ 4-สธ.ชง ครม.ตั้งกรรมการคุมระบาด

  • สธ.เฝ้าระวัง "หวัดเม็กซิโก"เข้มข้น คัดกรองทุกสนามบิน วอนคนไทยเลี่ยงไปพื้นที่ระบาด

  • ครม.ตั้ง “เสธ.หนั่น” นั่งประธานคุม “หวัดเม็กซิโก”

  • ด่วน! ไทยพบผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อ “หวัดเม็กซิโก” หลังกลับจากเมืองจังโก้ รพ.จุฬาฯ แถลง 4 โมงเย็นนี้

  • จุฬาฯ แถลงพบหญิงผู้ป่วยเฝ้าระวัง “หวัดจังโก” วัย 42 ปี ลุ้นผลแล็บคืนนี้

  • ไทยโล่ง! ผลตรวจผู้ป่วยต้องสงสัย แค่หวัดธรรมดา-สธ.ออกแถลงการณ์ ฉ.1

  • คำแนะนำ สธ.เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก ฉบับที่ 1

  • จุฬาฯ แถลงชัดสาวใหญ่ป่วยหวัดใหญ่ธรรมดา ไม่ใช่หวัดเม็กซิโก

  • กรมการจัดหางานเตรียมพร้อมอพยพแรงงานไทยหาก “หวัดเม็กซิโก” คุมไม่อยู่

  • กทม.ร่อนสารแจ้งโรงแรมทั่วกรุงเฝ้าระวังหวัดเม็กซิโก หวั่นนักท่องเที่ยวนำเชื้อ

  • รับมือ “ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก”/ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล ภาควิชาจุลชีววิทยา

  • สธ.ออกคำแนะนำเรื่อง “หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” ฉบับที่ 2

  • แพทย์จุฬาฯ ปรับวิธีตรวจหาเชื้อไวรัสแค่ 4 ชม.รู้ผล - อเมริกาส่งเชื้อหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ให้วิจัยถึงไทยจันทร์นี้

  • สธ.เตรียมรับคนไทยกลุ่มแรกจากเม็กซิโก จัดทีมแพทย์ตรวจยิบ

  • ตื่นหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ 2009! อภ.เผยปชช.โทร.ซื้อ"โอเซลทามิเวียร์" เพียบ ระบุต้องหมอสั่ง ซื้อทั่วไปไม่ได้

  • สธ.เพิ่มมาตรการเข้มหลังหวัดใหญ่ 2009 ลามถึงฮ่องกง-เกาหลีใต้ ไทยเหลือผู้ป่วยเฝ้าระวัง 2 ราย

  • “เสธ.หนั่น” ตรวจด่านคุมโรคสุวรรณภูมิ เพิ่มเทอร์โมสแกนเต็มพิกัด 6 จุด เผยยังไม่พบหวัดใหญ่ 2009

  • ทูตเม็กซิโกประจำประเทศไทยทำหนังสือขอบคุณ สธ.ช่วยให้ข้อมูลหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ถูกต้อง

  • “มาร์ค” ยันไทยยังไม่ติดหวัด 2009 กทม.ระดมเขต-อสม.-อปพร.มอบนโยบายป้องกัน

  • ทูลกระหม่อมหญิงฯทรงแนะ สธ.เข้มมาตรการระวังสูง “หวัด 2009” ให้สูงกว่ามาตรฐานเพื่อความมั่นใจ

  • สธ.ยังไม่ห้ามคนไทยเข้า 16 พื้นที่ระบาด-จัดทีมแพทย์รับคนไทยจากเม็กซิโกถึงสนามบินคืนนี้

  • ยันคนไทยเฝ้าระวังปลอดหวัด 2009 แนะเดินทาง ตปท.ควรสังเกตอาการตัวเอง

  • “วิทยา” นำทีม สธ.รับครูและ นร.AFS จากเม็กซิโก-เผยผลตรวจ ด.ช.11 เดือนบุรีรัมย์ไม่ติดหวัด 2009

  • สธ.เผยผลตรวจ 14 นร.ไทยกลับจากเม็กซิโก มีไข้สูง 1 ราย เจ็บคอ มีน้ำมูก 2 ราย

  • “วิทยา” จวก ตม.สุวรรณภูมิควบคุมหวัด 2009 หละหลวม ไม่สวมหน้ากาก หวั่นเอาไม่อยู่

  • แนะเลิกเหล้า-บุหรี่ ป้องกันหวัดสายพันธุ์ใหม่ได้

  • ศิริราชเตือน! อย่ากินยาต้านหวัดใหญ่หากมีไข้ต่ำจะทำเชื้อดื้อยา

  • “สุขุมพันธุ์” แจกหน้ากากอนามัยให้วินมอเตอร์ไซค์ กันหวัดใหญ่ระบาด

  • “วิทยา” วอนเลี่ยงชุมนุมช่วงประชุม รมว.สธ.อาเซียน-เพิ่มเฝ้าระวังหวัด 2 จุดใต้

  • ผลตรวจ 14 คนไทยกลับจากเม็กซิโก ปลอดเชื้อหวัดพันธุ์ใหม่ 2009

  • ให้ 11 คนไทยกลับจากเม็กซิโกกลับบ้านวันนี้ ส่วนอีก 3 รายขอดูอาการต่อ

  • โล่ง! สธ.ยันผลผู้ป่วยเฝ้าระวัง 3 รายไม่ใช่หวัด 2009

    อุปกรณ์ในการสกัดตัวอย่างจากสิ่งส่งตรวจ

    นำตัวอย่างสิ่งส่งตรวจที่สกัดได้มาทำการเพิ่มจำนวน DNA
    เข้าสู่กระบวนการคัดแยก DNA ตามขนาด

    นำตัวอย่าง DNA ที่แยกแล้วผ่านเครื่องยูวี เพื่อให้รูปขึ้นยังจอภาพ ก่อนนำตัวอย่างที่ได้ไปวินิจฉัยต่อไป
  • กำลังโหลดความคิดเห็น