“สุขุมพันธุ์” เตรียมผลักดันโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส ทะลุใต้ดินเกาะรัตนโกสินทร์ ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาไปพรานนก คาดได้เห็นเป็นรูปธรรมช่วงท้ายสมัย ส่วนบีอารทีต้องเปิดใช้ให้ได้ อนาคตเตรียมผุด Mono Rail เขตเมืองชั้นใน
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยมสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) เขตดินแดง ว่า กทม.จะเดินหน้าส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสสายพระปิ่นเกล้า จากสนามกีฬาแห่งชาติ-พรานนก ระยะทาง 12 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ กทม.โดยตนได้มอบหมายให้นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม.และ สจส.ไปศึกษารายละเอียดโครงการอย่างเร่งด่วน เพราะเป็นเส้นทางที่สำคัญที่จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรได้ดียิ่งขึ้นโดยเส้นทางจะต้องผ่านเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งในประเด็นนี้จะต้องมีการหารือกับคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์เพื่อทำแผนอย่างเป็นรูปธรรม
ในส่วนโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษ (BRT) นั้น เราจะเดินหน้าต่อเนื่องและในเส้นทางที่ 1 สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ระยะทาง 16.5 กิโลเมตร แม้จะยังมีปัญหาอยู่แต่ตนจะเดินหน้าให้สามารถเปิดใช้บริการได้ต้นปี 2553 เพราะได้ลงทุนไปแล้วจะต้องไม่สูญเปล่า ส่วนสายหมอชิต-ศูนย์ราชการ ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร อยู่ระหว่างขอเส้นทางจากกรมการขนส่งทางบก สายช่องนนทรี-ประชาอุทิศ ระยะทาง 19.5 กิโลเมตร จะเปิดประกวดราคาเดือนมิถุนายน 2552 สายดอนเมือง-มีนบุรี-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 38 กิโลเมตร สายมีนบุรี-ศรีนครินทร์-บางนา ระยะทาง 25 กิโลเมตร สายบางนา-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 15.6 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด
นอกจากนี้ กทม.ยังมีโครงการการสัญจรทางน้ำพัฒนาเส้นทางเดินเรือ ทั้งการเดินทางและการท่องเที่ยว โครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ามวลชนรางเดี่ยว (Mono Rail) ในเขตเมืองชั้นใน โดยเส้นทางแรกคือศูนย์ราชการ จากอนุสาวรีย์ชัย-มักกะสันคอมเพล็กซ์-กทม.2 ซึ่งอยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษา นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะสร้างอีก 4 เส้นทาง ดังนี้ คือ ศูนย์กลางธุรกิจมี 3 เส้นทาง ได้แก่ 1.เส้นทางเจริญกรุง-เจริญนคร และเยาวราช-สมเด็จเจ้าพระยา 2.เส้นทางสยาม-จุฬา 3.เส้นทางเจริญกรุง-หัวลำโพง-สีลม-สาทร และเส้นทางศูนย์กลางเดินทาง ได้แก่ เส้นทางพระโขนง-มหาวิทยาลัยรามคำแหง-ศรีนครินทร์ โครงการพัฒนาระบบรถโดยสารระยะสั้น (Shuttle Bus) เพื่อสนับสนุนขนส่งประชาชนไปยังระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ส่วนการส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะนั้น กทม.มีโครงการพัฒนาจุดเชื่อมต่อการเดินทาง Sky Walk โครงการจุดเรียกแท็กซี่ โครงการรถจักรยานยนต์รับจ้าง โครงการเครือข่ายเส้นทางจักรยาน โครงการจุดจอดแล้วจร โครงการรถโรงเรียน โครงการระบบตั๋วร่วม
รวมถึงโดย สจส.ยังกำหนดเป้าหมายลดอุบัติเหตุลง 2% ต่อปี มีแนวคิดจัดทำโครงการควบคุมปริมาณรถยนต์ในย่านจราจรติดขัด เช่น เก็บค่าเข้าใช้ถนนในพื้นที่รถติด ห้ามแท็กซี่ไม่มีผู้โดยสาร ห้ามจอดในพื้นที่ควบคุม การกำหนดมาตรการจำกัดรถยนต์ ทั้งจำกัดอายุรถยนต์ จำกัดการจดทะเบียนรถยนต์ การใช้ภาษี มาตรการผู้ซื้อรถต้องมีที่จอดรถ จำกัดการใช้รถวันคู่วันคี่ การจัดให้มีช่องรถมวลชน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการจราจร การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV 20,000 ตัว รวมถึงการส่งเสริมความรู้ด้านการจราจรแก่ประชาชนด้วย ซึ่งตนได้มอบให้ สจส.ทำการศึกษาอย่างถี่ถ้วนถึงผลกระทบกับทุกฝ่าย
ด้าน นายธีระชน กล่าวว่า ส่วนต่อขยายไปพรานนกเบื้องต้นได้มีการศึกษาโครงการมาแล้วซึ่งมีการคำนวณงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานกว่า 20,000 ล้านบาท และหากรวมทั้งหมดจะอยู่ประมาณ 40,000 กว่าล้านบาท แต่จากการศึกษาดังกล่าวยังมีข้อท้วงติงจากคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์ที่มีความเป็นห่วงว่าจะกระทบต่อพื้นดังกล่าว เช่น จุดขึ้น-ลง ที่จะต้องไม่มีหลังคาคลุม จุดจอดแล้วจร (Park & Ride) ซึ่งเป็นปัญหาที่ค้างมาตั้งแต่สมัย นายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าฯ กทม.ดังนั้น เราจะตั้งคณะทำงานศึกษารายละเอียดเพื่อไปหารือกับคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์ซึ่งเชื่อว่าน่าจะแก้ไขได้ และหากจำเป็นจะต้องทำเส้นทางลงใต้ดินในช่วงที่ผ่านเกาะรัตนโกสินทร์ และลอดแม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนฯ ก็จะต้องทำแม้จะมีต้นทุนที่สูงขึ้นก็ตาม ส่วนจุดจอดแล้วจรนั้นจะใช้สถานที่บริเวณลานคนเมืองเป็นพื้นที่จอดแล้วจร ทั้งนี้คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนในการศึกษารายละเอียดและหารือกับคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์ จากนั้นเมื่อได้ข้อสรุปจะให้ที่ปรึกษาปรับรูปแบบให้เหมาะสม จากนั้นเป็นขั้นตอนการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) และส่งรายงานให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการเตรียมการโดยจะพิจารณาว่าโครงการดังกล่าวกทม.จะลงทุนเองทั้งหมดและจะร่วมทุน ซึ่งหากร่วมทุนก็ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี สุดท้ายเป็นการขั้นตอนการประกวดราคาซึ่งจะใช้เวลาจนถึงขั้นตอนนี้ประมาณ 3 ปี ดังนั้นโครงการส่วนต่อขยายไปพรานนกน่าจะเกิดเป็นรูปธรรมช่วงท้ายสมัยผู้ว่าฯสุขุมพันธุ์
นายธีระชน กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ คาดว่า หากโครงการจะมีผู้มาใช้บริการประมาณ 2 แสนคน อีกทั้งยังเป็นเส้นทางท่องเที่ยว จึงน่าจะมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการจำนวนมาก
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยมสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) เขตดินแดง ว่า กทม.จะเดินหน้าส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสสายพระปิ่นเกล้า จากสนามกีฬาแห่งชาติ-พรานนก ระยะทาง 12 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ กทม.โดยตนได้มอบหมายให้นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม.และ สจส.ไปศึกษารายละเอียดโครงการอย่างเร่งด่วน เพราะเป็นเส้นทางที่สำคัญที่จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรได้ดียิ่งขึ้นโดยเส้นทางจะต้องผ่านเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งในประเด็นนี้จะต้องมีการหารือกับคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์เพื่อทำแผนอย่างเป็นรูปธรรม
ในส่วนโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษ (BRT) นั้น เราจะเดินหน้าต่อเนื่องและในเส้นทางที่ 1 สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ระยะทาง 16.5 กิโลเมตร แม้จะยังมีปัญหาอยู่แต่ตนจะเดินหน้าให้สามารถเปิดใช้บริการได้ต้นปี 2553 เพราะได้ลงทุนไปแล้วจะต้องไม่สูญเปล่า ส่วนสายหมอชิต-ศูนย์ราชการ ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร อยู่ระหว่างขอเส้นทางจากกรมการขนส่งทางบก สายช่องนนทรี-ประชาอุทิศ ระยะทาง 19.5 กิโลเมตร จะเปิดประกวดราคาเดือนมิถุนายน 2552 สายดอนเมือง-มีนบุรี-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 38 กิโลเมตร สายมีนบุรี-ศรีนครินทร์-บางนา ระยะทาง 25 กิโลเมตร สายบางนา-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 15.6 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด
นอกจากนี้ กทม.ยังมีโครงการการสัญจรทางน้ำพัฒนาเส้นทางเดินเรือ ทั้งการเดินทางและการท่องเที่ยว โครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ามวลชนรางเดี่ยว (Mono Rail) ในเขตเมืองชั้นใน โดยเส้นทางแรกคือศูนย์ราชการ จากอนุสาวรีย์ชัย-มักกะสันคอมเพล็กซ์-กทม.2 ซึ่งอยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษา นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะสร้างอีก 4 เส้นทาง ดังนี้ คือ ศูนย์กลางธุรกิจมี 3 เส้นทาง ได้แก่ 1.เส้นทางเจริญกรุง-เจริญนคร และเยาวราช-สมเด็จเจ้าพระยา 2.เส้นทางสยาม-จุฬา 3.เส้นทางเจริญกรุง-หัวลำโพง-สีลม-สาทร และเส้นทางศูนย์กลางเดินทาง ได้แก่ เส้นทางพระโขนง-มหาวิทยาลัยรามคำแหง-ศรีนครินทร์ โครงการพัฒนาระบบรถโดยสารระยะสั้น (Shuttle Bus) เพื่อสนับสนุนขนส่งประชาชนไปยังระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ส่วนการส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะนั้น กทม.มีโครงการพัฒนาจุดเชื่อมต่อการเดินทาง Sky Walk โครงการจุดเรียกแท็กซี่ โครงการรถจักรยานยนต์รับจ้าง โครงการเครือข่ายเส้นทางจักรยาน โครงการจุดจอดแล้วจร โครงการรถโรงเรียน โครงการระบบตั๋วร่วม
รวมถึงโดย สจส.ยังกำหนดเป้าหมายลดอุบัติเหตุลง 2% ต่อปี มีแนวคิดจัดทำโครงการควบคุมปริมาณรถยนต์ในย่านจราจรติดขัด เช่น เก็บค่าเข้าใช้ถนนในพื้นที่รถติด ห้ามแท็กซี่ไม่มีผู้โดยสาร ห้ามจอดในพื้นที่ควบคุม การกำหนดมาตรการจำกัดรถยนต์ ทั้งจำกัดอายุรถยนต์ จำกัดการจดทะเบียนรถยนต์ การใช้ภาษี มาตรการผู้ซื้อรถต้องมีที่จอดรถ จำกัดการใช้รถวันคู่วันคี่ การจัดให้มีช่องรถมวลชน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการจราจร การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV 20,000 ตัว รวมถึงการส่งเสริมความรู้ด้านการจราจรแก่ประชาชนด้วย ซึ่งตนได้มอบให้ สจส.ทำการศึกษาอย่างถี่ถ้วนถึงผลกระทบกับทุกฝ่าย
ด้าน นายธีระชน กล่าวว่า ส่วนต่อขยายไปพรานนกเบื้องต้นได้มีการศึกษาโครงการมาแล้วซึ่งมีการคำนวณงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานกว่า 20,000 ล้านบาท และหากรวมทั้งหมดจะอยู่ประมาณ 40,000 กว่าล้านบาท แต่จากการศึกษาดังกล่าวยังมีข้อท้วงติงจากคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์ที่มีความเป็นห่วงว่าจะกระทบต่อพื้นดังกล่าว เช่น จุดขึ้น-ลง ที่จะต้องไม่มีหลังคาคลุม จุดจอดแล้วจร (Park & Ride) ซึ่งเป็นปัญหาที่ค้างมาตั้งแต่สมัย นายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าฯ กทม.ดังนั้น เราจะตั้งคณะทำงานศึกษารายละเอียดเพื่อไปหารือกับคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์ซึ่งเชื่อว่าน่าจะแก้ไขได้ และหากจำเป็นจะต้องทำเส้นทางลงใต้ดินในช่วงที่ผ่านเกาะรัตนโกสินทร์ และลอดแม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนฯ ก็จะต้องทำแม้จะมีต้นทุนที่สูงขึ้นก็ตาม ส่วนจุดจอดแล้วจรนั้นจะใช้สถานที่บริเวณลานคนเมืองเป็นพื้นที่จอดแล้วจร ทั้งนี้คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนในการศึกษารายละเอียดและหารือกับคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์ จากนั้นเมื่อได้ข้อสรุปจะให้ที่ปรึกษาปรับรูปแบบให้เหมาะสม จากนั้นเป็นขั้นตอนการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) และส่งรายงานให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการเตรียมการโดยจะพิจารณาว่าโครงการดังกล่าวกทม.จะลงทุนเองทั้งหมดและจะร่วมทุน ซึ่งหากร่วมทุนก็ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี สุดท้ายเป็นการขั้นตอนการประกวดราคาซึ่งจะใช้เวลาจนถึงขั้นตอนนี้ประมาณ 3 ปี ดังนั้นโครงการส่วนต่อขยายไปพรานนกน่าจะเกิดเป็นรูปธรรมช่วงท้ายสมัยผู้ว่าฯสุขุมพันธุ์
นายธีระชน กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ คาดว่า หากโครงการจะมีผู้มาใช้บริการประมาณ 2 แสนคน อีกทั้งยังเป็นเส้นทางท่องเที่ยว จึงน่าจะมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการจำนวนมาก