สธ.ตั้งหน่วยเฝ้าระวังผลกระทบสุขภาพจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจต่อเนื่อง 2 ปี หวั่นหญิงตั้งครรภ์กินบะหมี่สำเร็จรูป ทำให้ขาดสารอาหาร คลอดลูกน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน เสนอของบกลางปีละ 8 ล้านบาท สำรวจสุขภาพอนามัยประชาชนทั่วประเทศ วัดความเครียด การฆ่าตัวตาย อัตราการดื่มสุรา อัตราการใช้บริการโรงพยาบาล
วันที่ 16 มีนาคม นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมวิชาการ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อติดตามความก้าวหน้านโยบาย ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ.2552 โดยนายวิทยา กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติจัดตั้งหน่วยเฝ้าระวังผลกระทบสุขภาพจากวิกฤติเศรษฐกิจ ที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์สภาพปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งข้อมูลล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 นี้ มีคนว่างงานเพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนคน โดยในการติดตามผลกระทบครั้งนี้ จะดูทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมหภาค เช่น ผลจากราคาน้ำมันสูงขึ้น รายได้มวลรวมประชาชาติ ระดับครัวเรือน ได้แก่ ปัญหาการขาดสารอาหาร จากการที่ประชาชนโดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์กินบะหมี่สำเร็จรูป ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจขั้นต้น อาจทำให้เด็กในครรภ์ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ มีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่ามาตรฐาน และระดับสุขภาพรายบุคคล โดยมีตัวชี้วัดสำคัญที่ต้องติดตามเฝ้าระวังหลักๆ ได้แก่ ความเครียด การฆ่าตัวตาย อัตราการดื่มสุรา เด็กแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม และการใช้บริการที่โรงพยาบาลภาครัฐเพิ่มขึ้น
“นอกจากนี้ ยังพบเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ตั้งครรภ์ เป็นแม่ตั้งแต่ยังเด็ก บางจังหวัดพบได้มากถึง 200 คน ได้ให้สาธารณสุขทุกจังหวัดตรวจสอบตัวเลขเด็กหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุยังน้อยมีความเสี่ยงในการขาดสารอาหารสูง พร้อมกันนี้ยังได้เตรียมหารือร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อดูแลสุขภาพของมารดาที่ตั้งครรภ์ และการรณรงค์ไม่ให้เด็กตั้งครรภ์ก่อนถึงวัยอันควร และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปสำรวจและดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ที่ทำงานในโรงงาน ซึ่งเร่งทำงานจนไม่ได้พักผ่อนและมักปกปิดการตั้งครรภ์เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับงาน”นายวิทยา กล่าว
ด้าน นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการเฝ้าระวังผลกระทบจากเศรษฐกิจในปีนี้ สธ.ได้แต่งตั้งคณะทำงาน 1 ชุด ประกอบด้วย กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต สถาบันวิจับระบบสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ ขณะนี้ได้ประชุมไปแล้ว 10 ครั้ง และจะติดตามเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี โดยได้เตรียมของบ กลางจากรัฐบาลเพื่อให้สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจผลกระทบสุขภาพคนไทยทั่วประเทศปีละ 1 ครั้ง ใช้งบประมาณปีละ 8 ล้านบาท
นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยเป็นประเทศต้นๆ ที่มีการตื่นตัวในเรื่องผลกระทบสุขภาพจากวิกฤติเศรษฐกิจ อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ ซึ่งขณะนี้มีหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ตื่นตัวจะมีการประชุมกับประเทศศรีลังกา บทเรียนสำคัญที่ไทยพบปัญหาตามมาหลังเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในช่วงปี 2540 ที่ชัดเจนได้แก่ หญิงตั้งครรภ์มีปัญหาซีดมากขึ้นจากการขาดสารอาหาร เด็กแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่ามาตรฐานคือต่ำกว่า 2,500 กรัม เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขได้วางแผนป้องกันปัญหาแล้ว โดยจะให้อสม.สำรวจและติดตามดูแลหญิงตั้งครรภ์ในหมู่บ้าน ชุมชนทั่วประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการขาดสารอาหาร
วันที่ 16 มีนาคม นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมวิชาการ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อติดตามความก้าวหน้านโยบาย ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ.2552 โดยนายวิทยา กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติจัดตั้งหน่วยเฝ้าระวังผลกระทบสุขภาพจากวิกฤติเศรษฐกิจ ที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์สภาพปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งข้อมูลล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 นี้ มีคนว่างงานเพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนคน โดยในการติดตามผลกระทบครั้งนี้ จะดูทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมหภาค เช่น ผลจากราคาน้ำมันสูงขึ้น รายได้มวลรวมประชาชาติ ระดับครัวเรือน ได้แก่ ปัญหาการขาดสารอาหาร จากการที่ประชาชนโดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์กินบะหมี่สำเร็จรูป ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจขั้นต้น อาจทำให้เด็กในครรภ์ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ มีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่ามาตรฐาน และระดับสุขภาพรายบุคคล โดยมีตัวชี้วัดสำคัญที่ต้องติดตามเฝ้าระวังหลักๆ ได้แก่ ความเครียด การฆ่าตัวตาย อัตราการดื่มสุรา เด็กแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม และการใช้บริการที่โรงพยาบาลภาครัฐเพิ่มขึ้น
“นอกจากนี้ ยังพบเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ตั้งครรภ์ เป็นแม่ตั้งแต่ยังเด็ก บางจังหวัดพบได้มากถึง 200 คน ได้ให้สาธารณสุขทุกจังหวัดตรวจสอบตัวเลขเด็กหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุยังน้อยมีความเสี่ยงในการขาดสารอาหารสูง พร้อมกันนี้ยังได้เตรียมหารือร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อดูแลสุขภาพของมารดาที่ตั้งครรภ์ และการรณรงค์ไม่ให้เด็กตั้งครรภ์ก่อนถึงวัยอันควร และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปสำรวจและดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ที่ทำงานในโรงงาน ซึ่งเร่งทำงานจนไม่ได้พักผ่อนและมักปกปิดการตั้งครรภ์เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับงาน”นายวิทยา กล่าว
ด้าน นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการเฝ้าระวังผลกระทบจากเศรษฐกิจในปีนี้ สธ.ได้แต่งตั้งคณะทำงาน 1 ชุด ประกอบด้วย กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต สถาบันวิจับระบบสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ ขณะนี้ได้ประชุมไปแล้ว 10 ครั้ง และจะติดตามเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี โดยได้เตรียมของบ กลางจากรัฐบาลเพื่อให้สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจผลกระทบสุขภาพคนไทยทั่วประเทศปีละ 1 ครั้ง ใช้งบประมาณปีละ 8 ล้านบาท
นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยเป็นประเทศต้นๆ ที่มีการตื่นตัวในเรื่องผลกระทบสุขภาพจากวิกฤติเศรษฐกิจ อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ ซึ่งขณะนี้มีหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ตื่นตัวจะมีการประชุมกับประเทศศรีลังกา บทเรียนสำคัญที่ไทยพบปัญหาตามมาหลังเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในช่วงปี 2540 ที่ชัดเจนได้แก่ หญิงตั้งครรภ์มีปัญหาซีดมากขึ้นจากการขาดสารอาหาร เด็กแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่ามาตรฐานคือต่ำกว่า 2,500 กรัม เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขได้วางแผนป้องกันปัญหาแล้ว โดยจะให้อสม.สำรวจและติดตามดูแลหญิงตั้งครรภ์ในหมู่บ้าน ชุมชนทั่วประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการขาดสารอาหาร