สธ.เร่งนโยบายส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรไทยเพื่อลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ หลังพบต้องควักจ่ายปีละกว่า 50,000 ล้านบาท พร้อมสร้างมาตรฐานยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพรครบวงจร
วันที่ 14 มีนาคม นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะ เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย โรงพยาบาลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ สถานีอนามัยตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก โรงพยาบาลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดชุมพร พร้อมทั้งชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและการจ่ายเงินค่าตอบแทน แก่อสม.จังหวัดชุมพร ที่วัดสวนสมบูรณ์ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
นายมานิต กล่าวว่า จากข้อมูลการนำเข้ายาแผนปัจจุบันและแผนโบราณของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ปี 2550 ของประเทศไทย พบมีมูลค่าสูงถึง 53,269,378 บาท โดยเป็นยาแผนปัจจุบัน 25,998,901 บาท นอกนั้นเป็นยาสมุนไพรที่นำเข้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เฉพาะการใช้ยาจากสมุนไพรในสถานพยาบาลของรัฐขณะนี้ยังมีน้อยมาก ทั้งๆ ที่ยาจากสมุนไพรมีประสิทธิภาพในการบำบัดอาการหรือรักษาโรคได้ดีเทียบเท่ายาแผนปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้นำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เข้ามาเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่มารับการรักษา และสนับสนุนให้มีการใช้ยาจากสมุนไพรในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับมากขึ้น เพื่อลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรในชุมชนอย่างครบวงจร
นายมานิต กล่าวต่อว่า กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กำลังเร่งพัฒนาและส่งเสริมให้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ เป็นศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทยครบวงจร คือ 1.มีคลินิกการแพทย์แผนไทยเปิดให้บริการจ่ายยาจากสมุนไพร มีบริการนวดไทย อบสมุนไพร ประคบสมุนไพร การฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอด 2.มีการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร 3.มีการฝึกอบรมหลักสูตรด้านการแพทย์แผนไทย 4.มีการผลิตยาจากสมุนไพร และล่าสุดได้มีโครงการพัฒนาการปลูกและเก็บเกี่ยววัตถุดิบสมุนไพรตามมาตรฐาน GACP
สำหรับศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย โรงพยาบาลท่าแซะ เป็น 1 ในศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย ที่มีอยู่ทั้งหมด 348 แห่งทั่วประเทศ เป็นศูนย์ผลิตยาสมุนไพรของภาคใต้ เริ่มผลิตสมุนไพรตั้งแต่ปี 2542 ปัจจุบันสามารถผลิตสมุนไพรแปรรูปได้ทั้งหมด 41 ชนิด เช่น สมุนไพรบรรจุในแคปซูล ชาชงชนิดต่างๆ สบู่ ยาสระผม ครีมนวดผม ลูกประคบ และโลชั่น เป็นต้น ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมาจากชาวบ้านในจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง โดยมีอสม.เป็นผู้แนะนำและรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ปลูกพืชสมุนไพรเพื่อนำไปขายให้กับศูนย์ผลิตสมุนไพรที่โรงพยาบาลท่าแซะ เป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่อีกทางหนึ่ง
วันที่ 14 มีนาคม นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะ เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย โรงพยาบาลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ สถานีอนามัยตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก โรงพยาบาลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดชุมพร พร้อมทั้งชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและการจ่ายเงินค่าตอบแทน แก่อสม.จังหวัดชุมพร ที่วัดสวนสมบูรณ์ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
นายมานิต กล่าวว่า จากข้อมูลการนำเข้ายาแผนปัจจุบันและแผนโบราณของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ปี 2550 ของประเทศไทย พบมีมูลค่าสูงถึง 53,269,378 บาท โดยเป็นยาแผนปัจจุบัน 25,998,901 บาท นอกนั้นเป็นยาสมุนไพรที่นำเข้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เฉพาะการใช้ยาจากสมุนไพรในสถานพยาบาลของรัฐขณะนี้ยังมีน้อยมาก ทั้งๆ ที่ยาจากสมุนไพรมีประสิทธิภาพในการบำบัดอาการหรือรักษาโรคได้ดีเทียบเท่ายาแผนปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้นำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เข้ามาเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่มารับการรักษา และสนับสนุนให้มีการใช้ยาจากสมุนไพรในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับมากขึ้น เพื่อลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรในชุมชนอย่างครบวงจร
นายมานิต กล่าวต่อว่า กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กำลังเร่งพัฒนาและส่งเสริมให้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ เป็นศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทยครบวงจร คือ 1.มีคลินิกการแพทย์แผนไทยเปิดให้บริการจ่ายยาจากสมุนไพร มีบริการนวดไทย อบสมุนไพร ประคบสมุนไพร การฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอด 2.มีการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร 3.มีการฝึกอบรมหลักสูตรด้านการแพทย์แผนไทย 4.มีการผลิตยาจากสมุนไพร และล่าสุดได้มีโครงการพัฒนาการปลูกและเก็บเกี่ยววัตถุดิบสมุนไพรตามมาตรฐาน GACP
สำหรับศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย โรงพยาบาลท่าแซะ เป็น 1 ในศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย ที่มีอยู่ทั้งหมด 348 แห่งทั่วประเทศ เป็นศูนย์ผลิตยาสมุนไพรของภาคใต้ เริ่มผลิตสมุนไพรตั้งแต่ปี 2542 ปัจจุบันสามารถผลิตสมุนไพรแปรรูปได้ทั้งหมด 41 ชนิด เช่น สมุนไพรบรรจุในแคปซูล ชาชงชนิดต่างๆ สบู่ ยาสระผม ครีมนวดผม ลูกประคบ และโลชั่น เป็นต้น ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมาจากชาวบ้านในจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง โดยมีอสม.เป็นผู้แนะนำและรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ปลูกพืชสมุนไพรเพื่อนำไปขายให้กับศูนย์ผลิตสมุนไพรที่โรงพยาบาลท่าแซะ เป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่อีกทางหนึ่ง