วธ.สั่งกรมศิลป์ รุดทำความเข้าใจชาวบ้านรุกที่เมืองเก่าสุโขทัย สกัดปัญหาไม่ให้บานปลาย ชี้หากพบครองโฉนดทับที่โบราณสถานต้องเวนคืน จัดโซนนิ่ง หวั่นเสียภาพลักษณ์ เผยจ่าย10 ล้านรื้อถอนบ้านเรือนเขตพระราชวังจันทน์แล้ว
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวถึงกรณีที่มีชาวบ้านบุกรุกพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์เมืองเก่าสุโขทัยกว่า 400 ไร่ว่า ได้มอบหมายให้กรมศิลปากรเร่งตรวจสอบพื้นที่โดยรอบอุทยานทั้งหมดโดยเฉพาะในเขตที่มีการบุกรุก โดยให้ดำเนินการตามแผนแม่บทอุทยานประวัติศาสตร์ เนื่องจากทราบมาว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตโบราณสถานชั้นนอก อยู่ตรงข้ามกับวัดอรัญญิก นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ ซึ่งหากชาวบ้านเรียกร้องขอมีสิทธิครอบครองจริงก็ต้องเป็นหน้าที่ของสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัยจะต้องเร่งสร้างความเข้าใจ โดยจัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการเป็นประธาน
นายเขมชาติ เทพไชย รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ปัญหาการบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และโบราณสถานมีมาอย่างต่อเนื่องโดยส่วนใหญ่พบว่าชาวบ้านเข้าไปตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่โดยรอบเขตโบราณสถานหลายพื้นที่ อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์เชียงแสน จ.เชียงราย โบราณสถานพระราชวังจันทน์ จ.พิษณุโลก อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (ปราสาทหินพิมาย) เป็นต้น ซึ่งเป็นที่น่ากังวลว่าจะกระทบต่อการขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกต่อไป
นายเขมชาติกล่าวอีกว่า สำหรับกรณีอุทยานประวัติศาสตร์เมืองเก่าสุโขทัยที่พบว่ามีการบุกรุกพื้นที่กว่า 400 ไร่นั้น กรมศิลปากรได้มอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย ไปสำรวจพื้นที่เบื้องต้นพบว่าชาวบ้านได้ทุบกำแพงดินโบราณเพื่อเป็นแนวถนนเข้าสู่บ้านเรือนของตัวเอง และถางป่าโปร่งโบราณเหี้ยนเตียน เป็นทุ่งโล่งเตรียมทำการก่อสร้าง ขณะนี้ตนได้มอบหมายให้ นายอนันต์ ชูโชติ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย และเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้ชาวบ้านเกี่ยวกับกฎหมายการบุกรุกโบราณสถานแล้ว
“กรณีที่มีชาวบ้านเข้าไปอาศัยอยู่โดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยนั้นเราต้องสกัดไม่ให้เติบโตบานปลายโดยจะต้องประชุมกับองค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดอาณาเขตโบราณสถาน แต่หากพบว่าชาวบ้านมีเอกสารสิทธิครอบครองพื้นที่อยู่ก่อน เราก็ต้องอาศัยแผนแม่บทของอุทยานประวัติศาสตร์เพื่อกำหนดโซนนิ่งการอยู่อาศัย และหากตรวจสอบแล้วพบว่ามีการทำลายโบราณสถานหรือทำลายไปแล้ว เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของแหล่งโบราณสถาน เราก็ต้องเวนคืนที่ดินโดยจ่ายค่าชดเชย เช่นเดียวกับพระราชวังจันทน์ที่พิษณุโลก แต่ก็ต้องใช้งบประมาณมากในการบูรณะ” นายเขมชาติ กล่าว
ด้านนายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยความคืบหน้าโครงการบูรณะโบราณสถานพระราชวังจันทน์ จ.พิษณุโลก ว่า สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย ได้ดำเนินการอนุรักษ์ขุดค้นขุดแต่งซากกำแพงพระราชวังจันทน์มาตั้งแต่ปี 2545 ที่ขณะนี้ใกล้จะแล้วเสร็จ เหลือเพียงบางส่วนที่เป็นบ้านเรือนราษฎรอาศัยอยู่บริเวณซากกำแพงพระราชวังจำนวน 121 หลังคาเรือน ซึ่งกรมศิลปากร และ จ.พิษณุโลก ได้ดำเนินแผนงานการโยกย้ายบ้านเรือนดังกล่าว ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้อยู่อาศัยและหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เห็นคุณค่าสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ จึงได้จัดสรรงบประมาณประจำปี 2552 จำนวนเงิน 10,166,199 บาท มอบให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดจ่ายค่าชดเชยรื้อถอนบ้านเรือนจำนวน 53 หลัง ส่วนที่เหลือจะได้จัดสรรงบฯ มาดำเนินการอีกครั้ง
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวถึงกรณีที่มีชาวบ้านบุกรุกพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์เมืองเก่าสุโขทัยกว่า 400 ไร่ว่า ได้มอบหมายให้กรมศิลปากรเร่งตรวจสอบพื้นที่โดยรอบอุทยานทั้งหมดโดยเฉพาะในเขตที่มีการบุกรุก โดยให้ดำเนินการตามแผนแม่บทอุทยานประวัติศาสตร์ เนื่องจากทราบมาว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตโบราณสถานชั้นนอก อยู่ตรงข้ามกับวัดอรัญญิก นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ ซึ่งหากชาวบ้านเรียกร้องขอมีสิทธิครอบครองจริงก็ต้องเป็นหน้าที่ของสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัยจะต้องเร่งสร้างความเข้าใจ โดยจัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการเป็นประธาน
นายเขมชาติ เทพไชย รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ปัญหาการบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และโบราณสถานมีมาอย่างต่อเนื่องโดยส่วนใหญ่พบว่าชาวบ้านเข้าไปตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่โดยรอบเขตโบราณสถานหลายพื้นที่ อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์เชียงแสน จ.เชียงราย โบราณสถานพระราชวังจันทน์ จ.พิษณุโลก อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (ปราสาทหินพิมาย) เป็นต้น ซึ่งเป็นที่น่ากังวลว่าจะกระทบต่อการขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกต่อไป
นายเขมชาติกล่าวอีกว่า สำหรับกรณีอุทยานประวัติศาสตร์เมืองเก่าสุโขทัยที่พบว่ามีการบุกรุกพื้นที่กว่า 400 ไร่นั้น กรมศิลปากรได้มอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย ไปสำรวจพื้นที่เบื้องต้นพบว่าชาวบ้านได้ทุบกำแพงดินโบราณเพื่อเป็นแนวถนนเข้าสู่บ้านเรือนของตัวเอง และถางป่าโปร่งโบราณเหี้ยนเตียน เป็นทุ่งโล่งเตรียมทำการก่อสร้าง ขณะนี้ตนได้มอบหมายให้ นายอนันต์ ชูโชติ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย และเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้ชาวบ้านเกี่ยวกับกฎหมายการบุกรุกโบราณสถานแล้ว
“กรณีที่มีชาวบ้านเข้าไปอาศัยอยู่โดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยนั้นเราต้องสกัดไม่ให้เติบโตบานปลายโดยจะต้องประชุมกับองค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดอาณาเขตโบราณสถาน แต่หากพบว่าชาวบ้านมีเอกสารสิทธิครอบครองพื้นที่อยู่ก่อน เราก็ต้องอาศัยแผนแม่บทของอุทยานประวัติศาสตร์เพื่อกำหนดโซนนิ่งการอยู่อาศัย และหากตรวจสอบแล้วพบว่ามีการทำลายโบราณสถานหรือทำลายไปแล้ว เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของแหล่งโบราณสถาน เราก็ต้องเวนคืนที่ดินโดยจ่ายค่าชดเชย เช่นเดียวกับพระราชวังจันทน์ที่พิษณุโลก แต่ก็ต้องใช้งบประมาณมากในการบูรณะ” นายเขมชาติ กล่าว
ด้านนายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยความคืบหน้าโครงการบูรณะโบราณสถานพระราชวังจันทน์ จ.พิษณุโลก ว่า สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย ได้ดำเนินการอนุรักษ์ขุดค้นขุดแต่งซากกำแพงพระราชวังจันทน์มาตั้งแต่ปี 2545 ที่ขณะนี้ใกล้จะแล้วเสร็จ เหลือเพียงบางส่วนที่เป็นบ้านเรือนราษฎรอาศัยอยู่บริเวณซากกำแพงพระราชวังจำนวน 121 หลังคาเรือน ซึ่งกรมศิลปากร และ จ.พิษณุโลก ได้ดำเนินแผนงานการโยกย้ายบ้านเรือนดังกล่าว ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้อยู่อาศัยและหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เห็นคุณค่าสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ จึงได้จัดสรรงบประมาณประจำปี 2552 จำนวนเงิน 10,166,199 บาท มอบให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดจ่ายค่าชดเชยรื้อถอนบ้านเรือนจำนวน 53 หลัง ส่วนที่เหลือจะได้จัดสรรงบฯ มาดำเนินการอีกครั้ง