อธิบดีกรมศิลปากร เห็นด้วยหนุนแนวคิด “ธีระ” ผลิตตะกรุด-ลูกปัด เป็นสินค้าวัฒนธรรมจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ แต่ขอศึกษาก่อนว่าเหมาะสมหรือไม่
นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการที่นายธีระ สลักเพชร รมว.วัฒนธรรม มีแนวคิดให้ศึกษาข้อดีข้อเสียการจัดทำสินค้าที่ระลึก เครื่องประดับ อาทิ ลูกปัด และตะกรุด ให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรมเพื่อขายให้นักท่องเที่ยวนั้น เป็นแนวคิดที่อยากให้อนุรักษ์เอาไว้ โดยมีหลายฝ่ายมีส่วนร่วม ซึ่งต่อยอดจากการขุดค้นลูกปัดบริเวณ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ เพื่อทำเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งหากเปิดให้มีการท่องเที่ยวจึงมีแนวคิดว่าทำสินค้าที่ระลึกโดยชาวบ้านผลิตขึ้นมาใหม่โดยใช้ต้นแบบจากลูกปัดที่ขุดค้นพบ คาดว่า จะช่วยเพิ่มรายได้ให้ท้องถิ่นทางหนึ่ง สำหรับแนวทางการผลิตลูกปัดเป็นสินค้าวัฒนธรรมนั้นกำลังอยู่ในขั้นตอนศึกษาขบวนการผลิตเพื่อนำเสนอให้ รมว.วัฒนธรรม ต่อไป
“เราอยู่ในขั้นตอนการศึกษาข้อดีข้อเสียอยู่ว่าถ้าจะผลิตจะเป็นอย่างไร ซึ่งชาวบ้านก็ทำกันเองบ้างแล้ว แต่สำหรับเรื่องตะกรุดลายไทยก็อาจจะเป็นหนึ่งในเรื่องที่ต้องศึกษา เพราะประเทศไทยมีวัฒนธรรมหลากหลาย แต่ละท้องถิ่นมีจุดเด่นไม่เหมือนกัน ภาคเหนือเป็นงานไม้ เมืองนครศรีธรรมราชมีเครื่องโลหะ ทองเหลือง ส่วนตะกรุดเป็นความเชื่อหนึ่งของเราเหมือนแขวนพระ แต่อาจจะน้อยกว่า อย่างไรก็ตามก็ต้องศึกษาว่าเหมาะหรือไม่ เราต้องดูในภาพรวมด้วย” อธิบดีกรมศิลปากร กล่าว
นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการที่นายธีระ สลักเพชร รมว.วัฒนธรรม มีแนวคิดให้ศึกษาข้อดีข้อเสียการจัดทำสินค้าที่ระลึก เครื่องประดับ อาทิ ลูกปัด และตะกรุด ให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรมเพื่อขายให้นักท่องเที่ยวนั้น เป็นแนวคิดที่อยากให้อนุรักษ์เอาไว้ โดยมีหลายฝ่ายมีส่วนร่วม ซึ่งต่อยอดจากการขุดค้นลูกปัดบริเวณ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ เพื่อทำเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งหากเปิดให้มีการท่องเที่ยวจึงมีแนวคิดว่าทำสินค้าที่ระลึกโดยชาวบ้านผลิตขึ้นมาใหม่โดยใช้ต้นแบบจากลูกปัดที่ขุดค้นพบ คาดว่า จะช่วยเพิ่มรายได้ให้ท้องถิ่นทางหนึ่ง สำหรับแนวทางการผลิตลูกปัดเป็นสินค้าวัฒนธรรมนั้นกำลังอยู่ในขั้นตอนศึกษาขบวนการผลิตเพื่อนำเสนอให้ รมว.วัฒนธรรม ต่อไป
“เราอยู่ในขั้นตอนการศึกษาข้อดีข้อเสียอยู่ว่าถ้าจะผลิตจะเป็นอย่างไร ซึ่งชาวบ้านก็ทำกันเองบ้างแล้ว แต่สำหรับเรื่องตะกรุดลายไทยก็อาจจะเป็นหนึ่งในเรื่องที่ต้องศึกษา เพราะประเทศไทยมีวัฒนธรรมหลากหลาย แต่ละท้องถิ่นมีจุดเด่นไม่เหมือนกัน ภาคเหนือเป็นงานไม้ เมืองนครศรีธรรมราชมีเครื่องโลหะ ทองเหลือง ส่วนตะกรุดเป็นความเชื่อหนึ่งของเราเหมือนแขวนพระ แต่อาจจะน้อยกว่า อย่างไรก็ตามก็ต้องศึกษาว่าเหมาะหรือไม่ เราต้องดูในภาพรวมด้วย” อธิบดีกรมศิลปากร กล่าว