ผู้สูงอายุ จ.นนทบุรี ร้องหากไม่มีสมุดบัญชีกรุงไทยเจ้าหน้าที่ไม่รับลงทะเบียน ขณะที่บางเขตใน กทม.บาง อบต.ระบุให้ใช้บัญชีกรุงไทยเท่านั้น และไม่รับจ่ายเป็นเงินสด “พม.” รีบแจงโอนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใช้ได้ทุกธนาคาร เผย บางพื้่นที่ให้โอนเข้าธนาคารเดียวเพื่อแก้ปัญหาความยุ่งยาก ฝากเจ้าหน้าที่อธิบายให้เข้าใจชัดเจน ยันรัฐบาลปรับจ่ายจาก 6 เดือน เป็นตลอดชีพ ใช้งบ 4 หมื่นล้านบาท
ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ถึงการร้องเรียนจากผู้สูงอายุใน จ.นนทบุรี ว่า ไม่สามารถลงทะเบียนผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของเทศบาล จ.นนทบุรี อ้างว่า หากไม่มีสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทยก็ไม่สามารถลงทะเบียนได้ รวมทั้งยังมีการร้องเรียนผ่านสื่อมวลชนมาด้วยว่า กรณีบางเขตของกทม.มีเจ้าหน้าที่มาตั้งหน่วยรับลงทะเบียน พร้อมทั้งระบุว่าหากจะให้โอนเงินเข้าบัญชีจะต้องเป็นบัญชีของธนาคารกรุงไทยเท่านั้น หากเป็นบัญชีธนาคารอื่นจะไม่รับการยื่นยันว่าจะโอนเงินได้หรือไม่ หรือไม่ต้องมารับเงินสดด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ในบาง อบต.มีการระบุว่าสามารถโอนเงินเข้าบัญชีเพียงอย่างเดียว เพราะไม่สะดวกที่จะจ่ายเป็นเงินสด
จากนั้นผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง นายกิตติ สมานไทย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า ข้อร้องเรียนในการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุนั้น ตนจะประสานไปยังพื้นที่ที่มีปัญหา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุที่จะมาลงทะเบียน และขอชี้แจงว่าตามระเบียบขั้นตอนการลงทะเทียนนั้น ได้เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุแสดงความจำนงว่า จะเลือกรับเงินรูปแบบใด ซึ่งมีทั้งรับเป็นเงินสด หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ในส่วนของการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารตามระเบียบก็ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเป็น ธนาคารกรุงไทยแห่งเดียว ธนาคารอื่นๆ ก็สามารถรับเงินได้ แต่เจ้าหน้าที่ของ อบต.และ เทศบาลในบางพื้นที่ อาจจะแก้ปัญหาความยุ่งยากด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีเพียงธนาคารเดียวเพื่อความสะดวก ปัญหาตรงนี้เจ้าหน้าที่ที่รับลงทะเบียนต้องอธิบายให้ผู้สูงอายุเข้าใจอย่างชัดเจน
ผอ.สท.กล่าวอีกว่า ในส่วนประเด็นที่ผู้สูงอายุบางคนมีลูกอุปการะดูแล ทำให้ลูกนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ ทำให้ไม่สามารถไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้นั้น ในส่วนนี้ตามระเบียบการลงทะเบียน ไม่ได้มีข้อห้ามในส่วนนี้ไว้ ผู้สูงอายุในกลุ่มนี้มีสิทธิที่จะลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะมีผู้สูงอายุกลุ่มใหม่มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพประมาณ 3 ล้านคน เมื่อรวมกับผู้สูงอายุเดิมที่เคยได้รับเบี้ยยังชีพอยู่แล้วอีก 2 ล้านคน
ทั้งนี้ ยืนยันแน่นอนแล้วว่า จะมีการขยายสิทธิการรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งแต่เดิมรัฐบาลกำหนดไว้ 6 เดือน เป็นตลอดชีพ ซึ่งต้องใช้งบประมาณ 4 หมื่นล้านบาท โดยจะต้องรออนุมัติงบประมาณปี 2553 ต่อไป
ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ถึงการร้องเรียนจากผู้สูงอายุใน จ.นนทบุรี ว่า ไม่สามารถลงทะเบียนผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของเทศบาล จ.นนทบุรี อ้างว่า หากไม่มีสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทยก็ไม่สามารถลงทะเบียนได้ รวมทั้งยังมีการร้องเรียนผ่านสื่อมวลชนมาด้วยว่า กรณีบางเขตของกทม.มีเจ้าหน้าที่มาตั้งหน่วยรับลงทะเบียน พร้อมทั้งระบุว่าหากจะให้โอนเงินเข้าบัญชีจะต้องเป็นบัญชีของธนาคารกรุงไทยเท่านั้น หากเป็นบัญชีธนาคารอื่นจะไม่รับการยื่นยันว่าจะโอนเงินได้หรือไม่ หรือไม่ต้องมารับเงินสดด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ในบาง อบต.มีการระบุว่าสามารถโอนเงินเข้าบัญชีเพียงอย่างเดียว เพราะไม่สะดวกที่จะจ่ายเป็นเงินสด
จากนั้นผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง นายกิตติ สมานไทย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า ข้อร้องเรียนในการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุนั้น ตนจะประสานไปยังพื้นที่ที่มีปัญหา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุที่จะมาลงทะเบียน และขอชี้แจงว่าตามระเบียบขั้นตอนการลงทะเทียนนั้น ได้เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุแสดงความจำนงว่า จะเลือกรับเงินรูปแบบใด ซึ่งมีทั้งรับเป็นเงินสด หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ในส่วนของการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารตามระเบียบก็ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเป็น ธนาคารกรุงไทยแห่งเดียว ธนาคารอื่นๆ ก็สามารถรับเงินได้ แต่เจ้าหน้าที่ของ อบต.และ เทศบาลในบางพื้นที่ อาจจะแก้ปัญหาความยุ่งยากด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีเพียงธนาคารเดียวเพื่อความสะดวก ปัญหาตรงนี้เจ้าหน้าที่ที่รับลงทะเบียนต้องอธิบายให้ผู้สูงอายุเข้าใจอย่างชัดเจน
ผอ.สท.กล่าวอีกว่า ในส่วนประเด็นที่ผู้สูงอายุบางคนมีลูกอุปการะดูแล ทำให้ลูกนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ ทำให้ไม่สามารถไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้นั้น ในส่วนนี้ตามระเบียบการลงทะเบียน ไม่ได้มีข้อห้ามในส่วนนี้ไว้ ผู้สูงอายุในกลุ่มนี้มีสิทธิที่จะลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะมีผู้สูงอายุกลุ่มใหม่มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพประมาณ 3 ล้านคน เมื่อรวมกับผู้สูงอายุเดิมที่เคยได้รับเบี้ยยังชีพอยู่แล้วอีก 2 ล้านคน
ทั้งนี้ ยืนยันแน่นอนแล้วว่า จะมีการขยายสิทธิการรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งแต่เดิมรัฐบาลกำหนดไว้ 6 เดือน เป็นตลอดชีพ ซึ่งต้องใช้งบประมาณ 4 หมื่นล้านบาท โดยจะต้องรออนุมัติงบประมาณปี 2553 ต่อไป