องค์การสมาร์ทชายด์-เครือข่ายการศึกษาเพื่อเด็ก บุก ศธ.ยื่นหนังสือถึง “อู๊ดด้า” ขอ สพฐ.ให้เด็ก ม.3 เลื่อนชั้นขึ้น ม.4 ร.ร.เดิมอัตโนมัติ พร้อมจัดหลักสูตรสอดคล้องเด็กเรียนอ่อน
นพ.พงษ์ศักดิ์ ศรีมุษิกโพธิ์ ผู้อำนวยการองค์การสมาร์ทชายด์ นางลำยอง เตียสกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อเด็ก พร้อมคณะ ได้เดินทางยื่นหนังสือถึง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องขอให้เลขาธิการ สพฐ.ทบทวนคำสั่งไม่เลื่อนช่วงชั้นจาก 3 ไป 4 อัตโนมัติ แต่รัฐมนตรีไปราชการต่างจังหวัด จึงได้ยื่นเรื่องไว้ที่สำนักงานรัฐมนตรี
ตามที่เป็นข่าว คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ย้ำว่าในปีการศึกษา 2551 นักเรียนที่ศึกษาในชั้น ม.3 จะไม่สามารถเลื่อนชั้น ม.4 โดยอัตโนมัติ โดยอ้างเหตุผลเพื่อให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียน และมักจะอ้างว่า การที่เด็กจบการศึกษามาแล้วอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เป็นเพราะวิธีการเลื่อนชั้นเรียนอัตโนมัติ
ทางองค์การสมาร์ทชายด์ เครือข่ายการศึกษาเพื่อเด็ก ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อเด็กกว่า 32 องค์กรทั่วประเทศ ขอให้ สพฐ.ทบทวนและพิจารณาปัญหาความเดือดร้อนของเด็กและผู้ปกครอง เพื่อให้ภาพของการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 12 ปีของประเทศไทยเป็นจริงได้ดังเหตุผลต่อไปนี้
ระบบการแข่งขันแบบแพ้คัดออก (เกรดไม่ถึง/สอบไม่ได้) ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาในการศึกษาของเด็ก แม้ทางโรงเรียนจะให้เหตุผลว่าเพื่อกระตุ้นให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาดีขึ้นหรือจัดหาที่เรียนที่เหมาะสมให้เด็กเรียนอ่อน แต่ในความเป็นจริงเด็กและผู้ปกครองต้องผจญกับปัญหา
นพ.พงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ถ้ามีเงินบริจาคให้โรงเรียนก็อาจจะได้เรียนที่เดิม วิธีนี้นับว่าเป็นช่องทางหาเงินสนับสนุนให้โรงเรียนอีกแบบหนึ่ง หากไม่มีเงินบริจาค สอบไม่ได้ ต้องหาที่เรียนใหม่ เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น และการหาที่เรียนใหม่ เด็กต้องปรับตัวใหม่เสียเวลาในการเรียนรู้ และเรียนที่ใหม่ ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้เด็กเรียนดีขึ้นกว่าที่เรียนเก่าเพราะวิธีการจัดการศึกษายังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป พร้อมกันนี้การผลักดันให้เด็กออกจากโรงเรียนเดิม อาจทำให้เด็กต้องไปเรียนในสายวิชาชีพ ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดของงานวิจัย สภาวะการศึกษาไทย ปี 2550-2551 รศ.วิทยากร เชียงกุล ระบุข้อมูลเด็กนักเรียนจาก ม.3 ขึ้น ม.4 ลดลง 11.04 สาเหตุส่วนใหญ่ มาจากปัญหาความยากจน
“การให้อำนาจโรงเรียนกำหนดเกรด 1 เกรด 2 หรือเกรด 2.5 เลื่อนชั้น ถ้านักเรียนเรียนได้เกรดต่ำกว่าที่โรงเรียนกำหนด นักเรียนจะต้องหาที่เรียนแห่งใหม่ หรือขอรับบริจาคเพื่อให้นักเรียนได้กลับมาเรียน เหมือนซ้ำเติมผู้ปกครองในยุควิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ”
ทั้งนี้ ขอเสนอแนวทางให้มีการเลื่อนชั้นอัตโนมัติจาก ช่วงชั้นที่ 3 ไปช่วงชั้นที่ 4 พร้อมกันนี้ขอให้พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับศักยภาพของเด็ก รวมถึงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับศักยภาพของเด็กอย่างแท้จริง
นพ.พงษ์ศักดิ์ ศรีมุษิกโพธิ์ ผู้อำนวยการองค์การสมาร์ทชายด์ นางลำยอง เตียสกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อเด็ก พร้อมคณะ ได้เดินทางยื่นหนังสือถึง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องขอให้เลขาธิการ สพฐ.ทบทวนคำสั่งไม่เลื่อนช่วงชั้นจาก 3 ไป 4 อัตโนมัติ แต่รัฐมนตรีไปราชการต่างจังหวัด จึงได้ยื่นเรื่องไว้ที่สำนักงานรัฐมนตรี
ตามที่เป็นข่าว คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ย้ำว่าในปีการศึกษา 2551 นักเรียนที่ศึกษาในชั้น ม.3 จะไม่สามารถเลื่อนชั้น ม.4 โดยอัตโนมัติ โดยอ้างเหตุผลเพื่อให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียน และมักจะอ้างว่า การที่เด็กจบการศึกษามาแล้วอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เป็นเพราะวิธีการเลื่อนชั้นเรียนอัตโนมัติ
ทางองค์การสมาร์ทชายด์ เครือข่ายการศึกษาเพื่อเด็ก ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อเด็กกว่า 32 องค์กรทั่วประเทศ ขอให้ สพฐ.ทบทวนและพิจารณาปัญหาความเดือดร้อนของเด็กและผู้ปกครอง เพื่อให้ภาพของการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 12 ปีของประเทศไทยเป็นจริงได้ดังเหตุผลต่อไปนี้
ระบบการแข่งขันแบบแพ้คัดออก (เกรดไม่ถึง/สอบไม่ได้) ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาในการศึกษาของเด็ก แม้ทางโรงเรียนจะให้เหตุผลว่าเพื่อกระตุ้นให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาดีขึ้นหรือจัดหาที่เรียนที่เหมาะสมให้เด็กเรียนอ่อน แต่ในความเป็นจริงเด็กและผู้ปกครองต้องผจญกับปัญหา
นพ.พงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ถ้ามีเงินบริจาคให้โรงเรียนก็อาจจะได้เรียนที่เดิม วิธีนี้นับว่าเป็นช่องทางหาเงินสนับสนุนให้โรงเรียนอีกแบบหนึ่ง หากไม่มีเงินบริจาค สอบไม่ได้ ต้องหาที่เรียนใหม่ เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น และการหาที่เรียนใหม่ เด็กต้องปรับตัวใหม่เสียเวลาในการเรียนรู้ และเรียนที่ใหม่ ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้เด็กเรียนดีขึ้นกว่าที่เรียนเก่าเพราะวิธีการจัดการศึกษายังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป พร้อมกันนี้การผลักดันให้เด็กออกจากโรงเรียนเดิม อาจทำให้เด็กต้องไปเรียนในสายวิชาชีพ ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดของงานวิจัย สภาวะการศึกษาไทย ปี 2550-2551 รศ.วิทยากร เชียงกุล ระบุข้อมูลเด็กนักเรียนจาก ม.3 ขึ้น ม.4 ลดลง 11.04 สาเหตุส่วนใหญ่ มาจากปัญหาความยากจน
“การให้อำนาจโรงเรียนกำหนดเกรด 1 เกรด 2 หรือเกรด 2.5 เลื่อนชั้น ถ้านักเรียนเรียนได้เกรดต่ำกว่าที่โรงเรียนกำหนด นักเรียนจะต้องหาที่เรียนแห่งใหม่ หรือขอรับบริจาคเพื่อให้นักเรียนได้กลับมาเรียน เหมือนซ้ำเติมผู้ปกครองในยุควิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ”
ทั้งนี้ ขอเสนอแนวทางให้มีการเลื่อนชั้นอัตโนมัติจาก ช่วงชั้นที่ 3 ไปช่วงชั้นที่ 4 พร้อมกันนี้ขอให้พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับศักยภาพของเด็ก รวมถึงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับศักยภาพของเด็กอย่างแท้จริง