เมื่อย้อนกลับสู่อดีต มนุษย์ไม่ได้แยก “การเรียนรู้” ออกจาก “ชีวิต” หากแต่เป็นการเรียนรู้ร่วมกับชีวิต สะสมองค์ความรู้แบบองค์รวม ประยุกต์ศาสตร์กับอาชีพเข้าหากัน ครั้นเมื่อยามเจ็บป่วยก็เข้าป่าหาสมุนไพรมารักษาตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งแพทย์หรือยาแผนปัจจุบัน เพราะพวกเขาเรียนรู้กับธรรมชาติ เป็นตำราเล่มใหญ่ เสมือนเป็นห้องทดลองสำหรับวิจัย หรือลงมือปฏิบัติ
แต่ปัจจุบันระบบการศึกษาได้เปลี่ยนโฉมหน้า การขีดเส้นแบ่งความรู้ในโรงเรียนกับปัญญาปฏิบัติของชาวบ้าน กลายเป็นตัวแบ่ง “ความรู้” ออกจาก “ชีวิต” และ “วัฒนธรรม” ตัดขาดจากธรรมชาติภายนอก นั่งจดตามสิ่งที่ครูสอน กลายเป็นผู้รับเพียงอย่างเดียว คำถามมีอยู่ว่า ถ้าไม่มีระบบโรงเรียนแล้ว...จะไม่มีการเรียนรู้อย่างนั้นหรือ การเรียนรู้ที่แท้จริงคืออะไร?
ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเครือข่ายโรงเรียนไทยไท 12 แห่งขึ้น ภายใต้โครงการระพีเสวนา : การเรียนรู้เพื่อความเป็นไท ได้แก่ ร.ร.รุ่งอรุณ, ร.ร.เพลินพัฒนา, ร.ร.จิตตเมตต์ (ปฐมวัย), ร.ร.อนุบาลบ้านรัก, ร.ร.ดรุณสิกขาลัย, ร.ร.ทอสี, ร.ร.สยามสามไตร, ร.ร.สัมมาสิกขาสันติอโศก, ร.ร.สัตยาไส, ร.ร.หมู่บ้านเด็ก, ร.ร.วรรณสว่างจิต, และร.ร.นานาชาติเมธา เพื่อแลกเปลี่ยนระบบการเรียนการสอน จัดกิจกรรมร่วมกัน โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบการเรียนการสอนแนวใหม่ที่ต่างจากการศึกษาในระบบเดิมๆ
โรงเรียนเหล่านี้มีรูปแบบการเรียนการสอนเช่นไรกันบ้าง ต้องติดตาม
** อารมณ์ความเป็นแม่ คลอดโรงเรียนสร้างสุข
ครูกรองทอง บุญประคอง ครูใหญ่ ร.ร.จิตตเมตต์ บอกว่า จะเรียนโดยเน้นบูรณาการ คือ จะทำอย่างไรให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีความสุข ดังนั้นเราต้องเข้าใจทางด้านพัฒนาการของเด็ก เข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยนำธรรมชาติรอบข้างมาเป็นกิจกรรม เพื่อสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นกับเด็ก เช่น การเรียนดอกไม้ลอยน้ำเพื่อสร้างสมาธิ การสวดมนต์ไหว้พระ กิจกรรมหยิบบัตรอารมณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อารมณ์และรู้จักตัวเอง
“เด็กบางคนหยิบบัตรเศร้าขึ้นมา ครูก็จะถามว่าทำไมหยิบบัตรนี้ขึ้นมา เด็กก็จะตอบว่าสุนัขที่บ้านตาย ทำให้ครูรับรู้อารมณ์ของเด็ก ทำให้เด็กรู้อารมณ์ของตัวเองสามารถบอกให้คนอื่นรับรู้และทำให้เขาสามารถจัดการกับอารมณ์ของเขาได้” ครูใหญ่ เล่า
นอกจากนี้ ก็จะมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยให้เด็กใช้ความคิดที่สร้างสรรค์ในการสร้างลีลาการเคลื่อนไหวเอง หลังจากนั้น ก็จะเป็นกิจกรรมที่จะแบ่งตามระดับชั้นที่ออกแบบให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย ลักษณะการเรียนแบบนี้นอกจากเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขแล้วยังทำให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาร่วมกันระหว่างโรงเรียน ครอบครัวผู้ปกครอง ครูและต่างก็เป็นครูของกันและกัน
** บ้านรัก-บ้านครอบครัว เข้าใจธรรมชาติเด็ก
ครูอภิสิรี จรัลชวนะเพท หรือ “ครูอุ้ย” ผอ.ร.ร.อนุบาลบ้านรัก บอกว่า ทางโรงเรียนมีแนวการสอนแบบครอบครัว มีพ่อ แม่ และลูก เรียนรู้ และทำกิจกรรมร่วมกัน รวมทั้งเข้าใจธรรมชาติของเด็กในระดับปฐมวัย ที่แบ่งช่วงของการเปลี่ยนผ่านตามแนวทางการศึกษาแบบวอลดอร์ฟ หรือพื้นฐานความคิดตามแนวมนุษยปรัชญา โดยจะเน้นศิลปะ ทำให้เข้าใจว่า มนุษย์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ Willing พลังแห่งความมุ่งมั่น Filling ความรู้สึก และ Thinking พลังทางความคิด ซึ่งจะต้องพัฒนาให้เกิดความสมดุลกัน
“การเรียนรู้แบบวอลดอร์ฟ แบ่งช่วงอายุเด็กเป็นระดับในช่วงเด็กเล็กอายุ 0-7 ขวบ เป็นวัยที่อยู่ในช่วงภาวะกึ่งฝัน เด็กจึงเกิดจินตนาการ เป็นการพัฒนาเจตจำนงทางการเรียนรู้ หรือพลังแห่งความมุ่งมั่น เป็นบ่อเกิดของความคิดที่อิสระ ผ่านการเล่นอิสระของเด็ก หลักสูตรจะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตท้องถิ่น ได้แก่ วันจันทร์เรียนร้อยดอกไม้ วันอังคารเรียนทำขนม วันพุธเล่นกีฬา วันพฤหัสฯ จรดดินสอ วาดภาพลงสี และวันศุกร์เรียนเล่นการแสดงหุ่นละคร ทุกอย่างจะเชื่อมโยงถึงกันหมด” ผอ.เล่าถึงรูปแบบการสอน
** เรียนรู้ชีวิตตามแนวคิดวิถีพุทธ
ครูอนินทิตา โปษะกฤษณะ หรือ “ครูหน่อย” ผอ.ร.ร.สยามสามไตร (อนุบาลหนูน้อย-บ้านพุทธประถม) บอกว่า แนวคิดการจัดตั้งโรงเรียน เน้นให้เด็กเรียนรู้ในสถานที่จริง โลกจริง เกิดการเชื่อมโยง และร่วมกันบูรณาการระหว่างครู กับนักเรียน เช่น เรียนเรื่องธรรมชาติ จะเรียนจากป่าชายเลน หรือ เขาใหญ่ เป็นการพัฒนามิติด้านจิตใจ และจิตวิญญาณ โดยเน้นวิชาการ ควบคู่กับการรู้จักตนเอง ด้วยการบูรณาการหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามาสู่ชีวิตแห่งการเรียนรู้ รวมทั้งเน้นการสร้างชุมชน ครู และผู้ปกครอง เพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาแนวทางการดำเนินชีวิตที่ดีแก่เด็ก
** วรรณสว่างจิต “วิชา” ต้องสมดุลกับ "ชีวิต" นางนลินี มัคคสมัน ผู้รับใบอนุญาต และผู้จัดการ ร.ร.วรรณสว่างจิต เล่าให้ฟังถึงแนวคิดของโรงเรียนว่า เด็กต้องเรียนรู้อยู่ในสังคมที่มีความสุข ไม่ใช่เรียนรู้แค่ท่องจำหรือจดตามสิ่งที่ครูบอก กระบวนการเรียนจึงไม่แยกวิชา ออกจากชีวิต เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างรอบด้านโดยการลงพื้นที่ปฏิบัติจริง เช่น ลงแปลงเกษตรขนาดย่อม งานร้อยดอกไม้ เรียนรู้ความสัมพันธ์บนวิถีชีวิตในชุมชนเกิดความรู้ที่เชื่อมโยงกับชีวิต เป็นความรู้ที่เด็กจะต้องเข้าใจตนเอง สังคม ซึ่งเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง โดยจะแบ่งพื้นที่การเรียนออกเป็น 3 ส่วน คือ บ้านเด็กเล็ก เรือนอนุบาล และลานประถม
“การศึกษาไทยสอนเด็กท่องจำ หลอมให้เรียนแบบตัวใครตัวมัน มุ่งแต่จะแข่งขันเพื่อการสอบ แต่ไม่เคยสร้างมิติแห่งความสุขให้แก่เด็ก สิ่งตรงนี้ที่โรงเรียนบางแห่งยังขาด ดังนั้นจึงต้องนำวิชา มาบูรณาการกับชีวิต ด้วยการเรียนรู้จากตัวเด็กร่วมกับธรรมชาติภายนอก โดยมีผู้แนะนำเป็นที่ปรึกษา ไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดเพียงอย่างเดียว” ผู้จัดการ ร.ร.วรรณสว่างจิต สะท้อนมุมมอง
นอกจากนี้ การเรียนแนวใหม่ของโรงเรียนฯ ทำให้เด็กเกือบทุกคนมีความกระตือรือร้นมากขึ้น คิด และวิเคราะห์ได้เร็ว สามารถนำวิชาไปใช้ประยุกต์ สร้างสรรค์ร่วมกับชีวิตได้อย่างลงตัว เช่น เรียนเรื่องการดูแลสุขภาพ เด็กจะร่วมกันคิดเมนูเพื่อสุขภาพ วางแผนงบประมาณ แบ่งหน้าที่กันไปจ่ายตลาด และกลับเข้าครัวเพื่อลงมือทำอาหารเอง โดยมีครูเป็นที่ปรึกษา และแนะนำอยู่เคียงข้าง เป็นต้น
** “กระบวนการเรียนรู้ที่ดี” เด็กต้องเป็นผู้สร้าง
ครูศรีประไพ เอี่ยมแสน ครูใหญ่ ร.ร.นานาชาติเมธา เล่าให้ฟังว่า ครูสร้างโรงเรียนให้เหมาะกับเด็ก ได้เรียนวิธีการที่เป็นสากล เน้นกระบวนการคิด เน้นการเป็นผู้นำ โดยใช้กิจกรรมในการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยจะแบ่งออกเป็นคลาส คือ Ka อายุตั้งแต่ 2 ขวบครึ่งถึง 3 ขวบ กับ Kb ตั้งแต่ 3 ขวบถึง 5 ขวบ แต่ก็ไม่แน่นอนจะดูตามช่วงพัฒนาการเด็กเป็นสำคัญ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา จิตใจ สังคม นอกจากนี้ก็จะมี E1 ซึ่งจะเป็นเด็กโตอายุ 5-6 ขวบ E2 ป.3-ป.4 และ Ms คือเด็กก่อนจะขึ้นชั้นมัธยม
“ก่อนที่จะให้เด็กมาเข้าเรียน จะมีการสัมภาษณ์ผู้ปกครองเกี่ยวกับทัศนคติว่า ทางเราไม่ได้ต้องการเน้นให้เด็กรับข้อมูลที่เป็นวิชาการ แต่จะเป็นการดึงศักยภาพของเด็กออกมา ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่พอใจ ทำให้เด็กมีความสุขในการเรียน เน้นการเป็นคนดี และจะดูเด็กในภาพรวมว่าเด็กที่จะรับเข้าเรียนนั้นเป็นคนอย่างไร” ครูศรีประไพ เล่า
สำหรับรูปแบบการเรียนจะเรียนภาษาจีนควบคู่กับภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมเป็นตัวเชื่อมจึงทำให้เด็กไม่สับสนเรื่องของภาษา เด็กสามารถเรียนรู้ภาษโดยธรรมชาติ ในหนึ่งชั้นเรียนจะมีครูหลายคน มีครูภาษาอังกฤษเป็นผู้ดำเนินการ แต่ขณะเดียวกันครูภาษาไทยครูภาษาจีนก็จะอยู่รอบข้าง นั่นคือ สิ่งแวดล้อมจะมีการลงมือปฏิบัติร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะเน้นวิธีการที่เป็นสากล แต่ทางโรงเรียนจะไม่ทิ้งรากเหง้าทางวัฒนธรรม โดยทุกวันพฤหัสบดีทางโรงเรียนจะให้เด็กใส่ชุดไทยรวมทั้งมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยภาคปฏิบัติ เพื่อให้เด็กได้ซึบซับความเป็นไทย ผสมผสานการเรียนรู้แบบสากล
** เกิดสุข ได้ปัญญา...เสียงสะท้อนของเด็ก
ด.ช.ณภัทร อดุลยานุโกศล หรือ “น้องหนอยแน่” นักเรียนชั้น ป.4 ร.ร.นานาชาติเมธา เล่าให้ฟังว่า เคยย้ายโรงเรียนมาแล้วถึง 2 โรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนเดิม ไม่ให้อิสระกับนักเรียน เช่น การเรียนวิชาบังคับ ทรงผมนักเรียน เป็นต้น แต่เมื่อย้ายมาเรียนที่โรงเรียนนานาชาติเมธา รู้สึกว่าชอบ เพราะโรงเรียนให้อิสระในการเลือกเรียนที่หลากหลาย โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ และศิลปะที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ ทำให้มีความสุขที่จะเรียนให้เกิดปัญญา
“เวลาอยู่ที่โรงเรียนจะมีกิจกรรมทุกวัน มีนั่งสมาธิ เล่นเกม สอนทำสร้อยสปาเกตตี ครูจะสอนให้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำในห้องเรียน แล้วก็มีเรียนวิชาภาษาอังกฤษ กับจีนด้วย ทำให้ผมเรียนภาษาต่างประเทศควบคู่กับวิชาหลัก ผมบอกตามตรงว่า สนุกมากครับ รู้สึกอยากไปโรงเรียนทุกวันเลยครับ” หนอยแน่เผยความรู้สึก
เช่นเดียวกับ ด.ญ.ไอริณ ทวีสินรัตนกุล หรือ "น้องข้าว" นักเรียนชั้น ป.3 ร.ร.วรรณสว่างจิต บอกว่า โรงเรียนจะเน้นการสอนแบบบูรณาการ บวกกับทำกิจกรรมระหว่างเรียน เกือบทุกเดือนครูสอนวิชาประวัติศาสตร์จะพาไปทัศนศึกษาตามแหล่งความรู้ หรือสถานที่ประวัติศาสตร์อยู่บ่อยครั้ง เช่น วัดกัลยาณมิตร พระราชวังเดิม เป็นการเรียนรู้ผ่านโครงงาน หลังจากกลับมา จะนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการกับวิชาศิลปะโดยรวมกลุ่มกับเพื่อน สร้างและประดิษฐ์เป็นเมืองจำลองประวัติศาสตร์ เพื่อเข้าสร้างจิตนาการ ฝึกความคิด และความเข้าใจอย่างแท้จริง
แต่ปัจจุบันระบบการศึกษาได้เปลี่ยนโฉมหน้า การขีดเส้นแบ่งความรู้ในโรงเรียนกับปัญญาปฏิบัติของชาวบ้าน กลายเป็นตัวแบ่ง “ความรู้” ออกจาก “ชีวิต” และ “วัฒนธรรม” ตัดขาดจากธรรมชาติภายนอก นั่งจดตามสิ่งที่ครูสอน กลายเป็นผู้รับเพียงอย่างเดียว คำถามมีอยู่ว่า ถ้าไม่มีระบบโรงเรียนแล้ว...จะไม่มีการเรียนรู้อย่างนั้นหรือ การเรียนรู้ที่แท้จริงคืออะไร?
ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเครือข่ายโรงเรียนไทยไท 12 แห่งขึ้น ภายใต้โครงการระพีเสวนา : การเรียนรู้เพื่อความเป็นไท ได้แก่ ร.ร.รุ่งอรุณ, ร.ร.เพลินพัฒนา, ร.ร.จิตตเมตต์ (ปฐมวัย), ร.ร.อนุบาลบ้านรัก, ร.ร.ดรุณสิกขาลัย, ร.ร.ทอสี, ร.ร.สยามสามไตร, ร.ร.สัมมาสิกขาสันติอโศก, ร.ร.สัตยาไส, ร.ร.หมู่บ้านเด็ก, ร.ร.วรรณสว่างจิต, และร.ร.นานาชาติเมธา เพื่อแลกเปลี่ยนระบบการเรียนการสอน จัดกิจกรรมร่วมกัน โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบการเรียนการสอนแนวใหม่ที่ต่างจากการศึกษาในระบบเดิมๆ
โรงเรียนเหล่านี้มีรูปแบบการเรียนการสอนเช่นไรกันบ้าง ต้องติดตาม
** อารมณ์ความเป็นแม่ คลอดโรงเรียนสร้างสุข
ครูกรองทอง บุญประคอง ครูใหญ่ ร.ร.จิตตเมตต์ บอกว่า จะเรียนโดยเน้นบูรณาการ คือ จะทำอย่างไรให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีความสุข ดังนั้นเราต้องเข้าใจทางด้านพัฒนาการของเด็ก เข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยนำธรรมชาติรอบข้างมาเป็นกิจกรรม เพื่อสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นกับเด็ก เช่น การเรียนดอกไม้ลอยน้ำเพื่อสร้างสมาธิ การสวดมนต์ไหว้พระ กิจกรรมหยิบบัตรอารมณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อารมณ์และรู้จักตัวเอง
“เด็กบางคนหยิบบัตรเศร้าขึ้นมา ครูก็จะถามว่าทำไมหยิบบัตรนี้ขึ้นมา เด็กก็จะตอบว่าสุนัขที่บ้านตาย ทำให้ครูรับรู้อารมณ์ของเด็ก ทำให้เด็กรู้อารมณ์ของตัวเองสามารถบอกให้คนอื่นรับรู้และทำให้เขาสามารถจัดการกับอารมณ์ของเขาได้” ครูใหญ่ เล่า
นอกจากนี้ ก็จะมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยให้เด็กใช้ความคิดที่สร้างสรรค์ในการสร้างลีลาการเคลื่อนไหวเอง หลังจากนั้น ก็จะเป็นกิจกรรมที่จะแบ่งตามระดับชั้นที่ออกแบบให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย ลักษณะการเรียนแบบนี้นอกจากเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขแล้วยังทำให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาร่วมกันระหว่างโรงเรียน ครอบครัวผู้ปกครอง ครูและต่างก็เป็นครูของกันและกัน
** บ้านรัก-บ้านครอบครัว เข้าใจธรรมชาติเด็ก
ครูอภิสิรี จรัลชวนะเพท หรือ “ครูอุ้ย” ผอ.ร.ร.อนุบาลบ้านรัก บอกว่า ทางโรงเรียนมีแนวการสอนแบบครอบครัว มีพ่อ แม่ และลูก เรียนรู้ และทำกิจกรรมร่วมกัน รวมทั้งเข้าใจธรรมชาติของเด็กในระดับปฐมวัย ที่แบ่งช่วงของการเปลี่ยนผ่านตามแนวทางการศึกษาแบบวอลดอร์ฟ หรือพื้นฐานความคิดตามแนวมนุษยปรัชญา โดยจะเน้นศิลปะ ทำให้เข้าใจว่า มนุษย์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ Willing พลังแห่งความมุ่งมั่น Filling ความรู้สึก และ Thinking พลังทางความคิด ซึ่งจะต้องพัฒนาให้เกิดความสมดุลกัน
“การเรียนรู้แบบวอลดอร์ฟ แบ่งช่วงอายุเด็กเป็นระดับในช่วงเด็กเล็กอายุ 0-7 ขวบ เป็นวัยที่อยู่ในช่วงภาวะกึ่งฝัน เด็กจึงเกิดจินตนาการ เป็นการพัฒนาเจตจำนงทางการเรียนรู้ หรือพลังแห่งความมุ่งมั่น เป็นบ่อเกิดของความคิดที่อิสระ ผ่านการเล่นอิสระของเด็ก หลักสูตรจะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตท้องถิ่น ได้แก่ วันจันทร์เรียนร้อยดอกไม้ วันอังคารเรียนทำขนม วันพุธเล่นกีฬา วันพฤหัสฯ จรดดินสอ วาดภาพลงสี และวันศุกร์เรียนเล่นการแสดงหุ่นละคร ทุกอย่างจะเชื่อมโยงถึงกันหมด” ผอ.เล่าถึงรูปแบบการสอน
** เรียนรู้ชีวิตตามแนวคิดวิถีพุทธ
ครูอนินทิตา โปษะกฤษณะ หรือ “ครูหน่อย” ผอ.ร.ร.สยามสามไตร (อนุบาลหนูน้อย-บ้านพุทธประถม) บอกว่า แนวคิดการจัดตั้งโรงเรียน เน้นให้เด็กเรียนรู้ในสถานที่จริง โลกจริง เกิดการเชื่อมโยง และร่วมกันบูรณาการระหว่างครู กับนักเรียน เช่น เรียนเรื่องธรรมชาติ จะเรียนจากป่าชายเลน หรือ เขาใหญ่ เป็นการพัฒนามิติด้านจิตใจ และจิตวิญญาณ โดยเน้นวิชาการ ควบคู่กับการรู้จักตนเอง ด้วยการบูรณาการหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามาสู่ชีวิตแห่งการเรียนรู้ รวมทั้งเน้นการสร้างชุมชน ครู และผู้ปกครอง เพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาแนวทางการดำเนินชีวิตที่ดีแก่เด็ก
** วรรณสว่างจิต “วิชา” ต้องสมดุลกับ "ชีวิต" นางนลินี มัคคสมัน ผู้รับใบอนุญาต และผู้จัดการ ร.ร.วรรณสว่างจิต เล่าให้ฟังถึงแนวคิดของโรงเรียนว่า เด็กต้องเรียนรู้อยู่ในสังคมที่มีความสุข ไม่ใช่เรียนรู้แค่ท่องจำหรือจดตามสิ่งที่ครูบอก กระบวนการเรียนจึงไม่แยกวิชา ออกจากชีวิต เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างรอบด้านโดยการลงพื้นที่ปฏิบัติจริง เช่น ลงแปลงเกษตรขนาดย่อม งานร้อยดอกไม้ เรียนรู้ความสัมพันธ์บนวิถีชีวิตในชุมชนเกิดความรู้ที่เชื่อมโยงกับชีวิต เป็นความรู้ที่เด็กจะต้องเข้าใจตนเอง สังคม ซึ่งเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง โดยจะแบ่งพื้นที่การเรียนออกเป็น 3 ส่วน คือ บ้านเด็กเล็ก เรือนอนุบาล และลานประถม
“การศึกษาไทยสอนเด็กท่องจำ หลอมให้เรียนแบบตัวใครตัวมัน มุ่งแต่จะแข่งขันเพื่อการสอบ แต่ไม่เคยสร้างมิติแห่งความสุขให้แก่เด็ก สิ่งตรงนี้ที่โรงเรียนบางแห่งยังขาด ดังนั้นจึงต้องนำวิชา มาบูรณาการกับชีวิต ด้วยการเรียนรู้จากตัวเด็กร่วมกับธรรมชาติภายนอก โดยมีผู้แนะนำเป็นที่ปรึกษา ไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดเพียงอย่างเดียว” ผู้จัดการ ร.ร.วรรณสว่างจิต สะท้อนมุมมอง
นอกจากนี้ การเรียนแนวใหม่ของโรงเรียนฯ ทำให้เด็กเกือบทุกคนมีความกระตือรือร้นมากขึ้น คิด และวิเคราะห์ได้เร็ว สามารถนำวิชาไปใช้ประยุกต์ สร้างสรรค์ร่วมกับชีวิตได้อย่างลงตัว เช่น เรียนเรื่องการดูแลสุขภาพ เด็กจะร่วมกันคิดเมนูเพื่อสุขภาพ วางแผนงบประมาณ แบ่งหน้าที่กันไปจ่ายตลาด และกลับเข้าครัวเพื่อลงมือทำอาหารเอง โดยมีครูเป็นที่ปรึกษา และแนะนำอยู่เคียงข้าง เป็นต้น
** “กระบวนการเรียนรู้ที่ดี” เด็กต้องเป็นผู้สร้าง
ครูศรีประไพ เอี่ยมแสน ครูใหญ่ ร.ร.นานาชาติเมธา เล่าให้ฟังว่า ครูสร้างโรงเรียนให้เหมาะกับเด็ก ได้เรียนวิธีการที่เป็นสากล เน้นกระบวนการคิด เน้นการเป็นผู้นำ โดยใช้กิจกรรมในการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยจะแบ่งออกเป็นคลาส คือ Ka อายุตั้งแต่ 2 ขวบครึ่งถึง 3 ขวบ กับ Kb ตั้งแต่ 3 ขวบถึง 5 ขวบ แต่ก็ไม่แน่นอนจะดูตามช่วงพัฒนาการเด็กเป็นสำคัญ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา จิตใจ สังคม นอกจากนี้ก็จะมี E1 ซึ่งจะเป็นเด็กโตอายุ 5-6 ขวบ E2 ป.3-ป.4 และ Ms คือเด็กก่อนจะขึ้นชั้นมัธยม
“ก่อนที่จะให้เด็กมาเข้าเรียน จะมีการสัมภาษณ์ผู้ปกครองเกี่ยวกับทัศนคติว่า ทางเราไม่ได้ต้องการเน้นให้เด็กรับข้อมูลที่เป็นวิชาการ แต่จะเป็นการดึงศักยภาพของเด็กออกมา ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่พอใจ ทำให้เด็กมีความสุขในการเรียน เน้นการเป็นคนดี และจะดูเด็กในภาพรวมว่าเด็กที่จะรับเข้าเรียนนั้นเป็นคนอย่างไร” ครูศรีประไพ เล่า
สำหรับรูปแบบการเรียนจะเรียนภาษาจีนควบคู่กับภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมเป็นตัวเชื่อมจึงทำให้เด็กไม่สับสนเรื่องของภาษา เด็กสามารถเรียนรู้ภาษโดยธรรมชาติ ในหนึ่งชั้นเรียนจะมีครูหลายคน มีครูภาษาอังกฤษเป็นผู้ดำเนินการ แต่ขณะเดียวกันครูภาษาไทยครูภาษาจีนก็จะอยู่รอบข้าง นั่นคือ สิ่งแวดล้อมจะมีการลงมือปฏิบัติร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะเน้นวิธีการที่เป็นสากล แต่ทางโรงเรียนจะไม่ทิ้งรากเหง้าทางวัฒนธรรม โดยทุกวันพฤหัสบดีทางโรงเรียนจะให้เด็กใส่ชุดไทยรวมทั้งมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยภาคปฏิบัติ เพื่อให้เด็กได้ซึบซับความเป็นไทย ผสมผสานการเรียนรู้แบบสากล
** เกิดสุข ได้ปัญญา...เสียงสะท้อนของเด็ก
ด.ช.ณภัทร อดุลยานุโกศล หรือ “น้องหนอยแน่” นักเรียนชั้น ป.4 ร.ร.นานาชาติเมธา เล่าให้ฟังว่า เคยย้ายโรงเรียนมาแล้วถึง 2 โรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนเดิม ไม่ให้อิสระกับนักเรียน เช่น การเรียนวิชาบังคับ ทรงผมนักเรียน เป็นต้น แต่เมื่อย้ายมาเรียนที่โรงเรียนนานาชาติเมธา รู้สึกว่าชอบ เพราะโรงเรียนให้อิสระในการเลือกเรียนที่หลากหลาย โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ และศิลปะที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ ทำให้มีความสุขที่จะเรียนให้เกิดปัญญา
“เวลาอยู่ที่โรงเรียนจะมีกิจกรรมทุกวัน มีนั่งสมาธิ เล่นเกม สอนทำสร้อยสปาเกตตี ครูจะสอนให้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำในห้องเรียน แล้วก็มีเรียนวิชาภาษาอังกฤษ กับจีนด้วย ทำให้ผมเรียนภาษาต่างประเทศควบคู่กับวิชาหลัก ผมบอกตามตรงว่า สนุกมากครับ รู้สึกอยากไปโรงเรียนทุกวันเลยครับ” หนอยแน่เผยความรู้สึก
เช่นเดียวกับ ด.ญ.ไอริณ ทวีสินรัตนกุล หรือ "น้องข้าว" นักเรียนชั้น ป.3 ร.ร.วรรณสว่างจิต บอกว่า โรงเรียนจะเน้นการสอนแบบบูรณาการ บวกกับทำกิจกรรมระหว่างเรียน เกือบทุกเดือนครูสอนวิชาประวัติศาสตร์จะพาไปทัศนศึกษาตามแหล่งความรู้ หรือสถานที่ประวัติศาสตร์อยู่บ่อยครั้ง เช่น วัดกัลยาณมิตร พระราชวังเดิม เป็นการเรียนรู้ผ่านโครงงาน หลังจากกลับมา จะนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการกับวิชาศิลปะโดยรวมกลุ่มกับเพื่อน สร้างและประดิษฐ์เป็นเมืองจำลองประวัติศาสตร์ เพื่อเข้าสร้างจิตนาการ ฝึกความคิด และความเข้าใจอย่างแท้จริง