เผยปี 51 พบแรงงานหญิง-เด็กต่างด้าวถูกทารุณหนักมากขึ้น ลาวมากสุด ตามด้วย พม่า เขมร ชี้ พบแจ๋วอายุน้อยสุดเพียง 12 ปี ส่วนใหญ่ถูกนายจ้างใช้งานเยี่ยงทาส กักขัง งดติดต่อครอบครัว ไม่จ่ายค่าแรง ถูกทำร้ายร่างกาย-ละเมิดทางเพศ ด้าน ผบช.สตม.ชี้ กฎหมายครอบครัวไม่คุ้มครองคนรับใช้ในบ้าน ระบุ หากโดนนายจ้างทำร้ายมีกฎหมายอาญารองรับ ฝากประชาชนพบเห็นคนในครอบครัวถูกทำร้ายแจ้งทันที
วันนี้ (25 ก.พ.) ที่โรงแรมเอเชีย มูลนิธิผู้หญิง จัดเสวนา เรื่อง “ใครจะช่วยแรงงานหญิงและเด็กต่างชาติทำงานบ้าน” โดย น.ส.ดาราราย รักษาสิริพงศ์ เจ้าหน้าที่โครงการช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กต่างชาติ มูลนิธิผู้หญิง กล่าวว่า มูลนิธิผู้หญิงร่วมกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(สตม.) ทำโครงการให้ความช่วยเหลือแก่หญิงและเด็กต่างชาติ พบว่า ปี 2551 มีแรงงานหญิงและเด็กต่างชาติได้รับความช่วยเหลือ 348 คน ส่วนใหญ่เป็นคนลาว รองลงมาเป็น พม่า และกัมพูชาตามลำดับ โดยแบ่งเป็นแรงงานย้ายถิ่น 196 คน ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ 63 คน
ทั้งนี้ พบว่า ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ กลุ่มใหญ่เป็นแรงงานบ้าน 37 คน มาจากลาว 34 คน และพม่า 3 คน แบ่งเป็นอายุ 15-18 ปี 18 คน อายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 16 คน อายุเกิน 18 ปี มี 3 คน โดยอายุต่ำสุดเพียง 12 ปีเท่านั้น นอกจากนี้ สภาพปัญหาของแรงงานหญิงและเด็ก 28 คน ถูกนายจ้างกักขัง ห้ามติดต่อครอบครัว 21 คน ไม่เคยได้ค่าแรง 14 คน ถูกนายจ้างทำร้ายร่างกายบางคนถึงขั้นตาบอดมองไม่เห็น และ 4 คน ถูกนายจ้างละเมิดและทารุณทางเพศ โดยทุกคนต้องทำงานมากกว่า 12 ชม.ต่อวัน ถูกใช้แรงงานเยี่ยงทาสและเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ
“เด็กและผู้หญิงเหล่านี้แทบไม่มีโอกาสออกนอกบ้าน ไม่ได้รับสวัสดิการใดๆ นอกจากที่พักและอาหารวันละ 2 มื้อ บางคนได้กินมื้อเดียว หรือนายจ้างให้กินข้าวเปล่ากับน้ำปลา อาหารเน่าเสียที่แบ่งจากสัตว์เลี้ยงของนายจ้าง ทำให้เด็กเป็นโรคขาดสารอาหาร หากทำงานไม่ถูกใจนายจ้าง หรือสื่อสารไม่เข้าใจก็จะถูกด่า ตบตี ทำร้ายร่างกาย ขายต่อให้คนอื่นหรือนำไปปล่อยทิ้ง นายจ้างมักข่มขู่ให้กลัวไม่กล้าหนี เด็กบางคนถูกทารุณทางกายและจิตใจจนเป็นบ้าป่วยทางจิต นายจ้างจึงปล่อยออกมา และมีคนนำส่งโรงพยาบาลศรีธัญญา แพทย์วินิจฉัยว่าได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง ก่อนส่งสตม.อย่างไรก็ตามนายจ้างที่กระทำผิดอยู่ใน กทม.มากที่สุด 20 ราย ยังไม่สามารถเอาผิดได้อย่างจริงจัง ที่น่าห่วง คือ สถานการณ์เศรษฐกิจและปัญหาบ้านเมืองเพิ่มจำนวน และความรุนแรงกับคนกลุ่มนี้มากขึ้น เพราะนายจ้างยิ่งเครียดแล้วมาลงกับเด็ก เช่น เด็กเลี้ยงหมาแล้วหมาป่วยนายจ้างไม่พอใจก็จะทำร้ายเด็กแทน เป็นต้น”น.ส.ดาราราย กล่าว
น.ส.ดาราราย กล่าวอีกว่า เด็กและผู้หญิงที่เป็นเหยื่อกลุ่มแรงงานบ้านส่วนใหญ่มาจากลาวใต้ แขวงสะหวันเขต สาละวัน จำปาสัก โดยจะเสียค่านายหน้า 2,000-5,000 บาท และมาจากพม่า รัฐกะเหรี่ยง และรัฐมอน ต้องเสียค่านายหน้า 14,000-17,000 บาท ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิคนกลุ่มนี้มักขาดพยานหลักฐานร่องรอยการถูกทำร้าย ละเมิดทางเพศ ข้อมูลนายจ้าง และผู้เสียหายไม่กล้าแจ้งความกลัวถูกจับฐานเข้าเมืองผิดกฎหมาย ทั้งนี้ นอกจากกฎหมายค้ามนุษย์ในการจัดการเรื่องนี้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งมาตรา 3 กำหนดว่าบุคคลในครอบครัวรวมถึงคนที่อยู่ในครัวเรือนเดียวกันจึงน่าจะรวมถึงแรงงานในบ้านด้วยที่ต้องได้รับการคุ้มครองหากถูกกระทำความรุนแรง
ด้าน พล.ต.ท.ชัชวาล สุขสมจิตร ผบช.สตม. กล่าวว่า แรงงานหญิงและเด็กต่างด้าวมีกฎหมายคุ้มครองหลายฉบับ เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กฎหมายคุ้มครองเด็ก กฎหมายการทำงานคนต่างด้าว กฎหมายคนเข้าเมือง ซึ่งเบื้องต้นหากถูกทำร้ายร่างกายก็มีกฎหมายอาญาลงโทษอยู่แล้ว หรือหากมีลักษณะของการใช้คนเป็นทาสก็เข้าข่ายค้ามนุษย์ด้วย แต่การใช้พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ขณะนี้แวดวงอัยการมองว่าแรงงานในบ้าน ไม่ถือเป็นคนในครอบครัว คงใช้เพียงกฎหมายอาญาหรือกฎหมายค้ามนุษย์ กฎหมายคุ้มครองเด็ก เป็นต้น ที่ดำเนินการได้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าผู้พบเห็นคนในบ้านไหนถูกทำร้ายแม้ไม่ทราบเป็นลูกจ้าง หรือคนในครอบครัวสามารถแจ้งตำรวจได้ กฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเหตุด้วยความสุจริตใจ เป็นหน้าที่ตำรวจใช้ดุลยพินิจจะเอากฎหมายใดมาดำเนิน
วันนี้ (25 ก.พ.) ที่โรงแรมเอเชีย มูลนิธิผู้หญิง จัดเสวนา เรื่อง “ใครจะช่วยแรงงานหญิงและเด็กต่างชาติทำงานบ้าน” โดย น.ส.ดาราราย รักษาสิริพงศ์ เจ้าหน้าที่โครงการช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กต่างชาติ มูลนิธิผู้หญิง กล่าวว่า มูลนิธิผู้หญิงร่วมกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(สตม.) ทำโครงการให้ความช่วยเหลือแก่หญิงและเด็กต่างชาติ พบว่า ปี 2551 มีแรงงานหญิงและเด็กต่างชาติได้รับความช่วยเหลือ 348 คน ส่วนใหญ่เป็นคนลาว รองลงมาเป็น พม่า และกัมพูชาตามลำดับ โดยแบ่งเป็นแรงงานย้ายถิ่น 196 คน ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ 63 คน
ทั้งนี้ พบว่า ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ กลุ่มใหญ่เป็นแรงงานบ้าน 37 คน มาจากลาว 34 คน และพม่า 3 คน แบ่งเป็นอายุ 15-18 ปี 18 คน อายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 16 คน อายุเกิน 18 ปี มี 3 คน โดยอายุต่ำสุดเพียง 12 ปีเท่านั้น นอกจากนี้ สภาพปัญหาของแรงงานหญิงและเด็ก 28 คน ถูกนายจ้างกักขัง ห้ามติดต่อครอบครัว 21 คน ไม่เคยได้ค่าแรง 14 คน ถูกนายจ้างทำร้ายร่างกายบางคนถึงขั้นตาบอดมองไม่เห็น และ 4 คน ถูกนายจ้างละเมิดและทารุณทางเพศ โดยทุกคนต้องทำงานมากกว่า 12 ชม.ต่อวัน ถูกใช้แรงงานเยี่ยงทาสและเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ
“เด็กและผู้หญิงเหล่านี้แทบไม่มีโอกาสออกนอกบ้าน ไม่ได้รับสวัสดิการใดๆ นอกจากที่พักและอาหารวันละ 2 มื้อ บางคนได้กินมื้อเดียว หรือนายจ้างให้กินข้าวเปล่ากับน้ำปลา อาหารเน่าเสียที่แบ่งจากสัตว์เลี้ยงของนายจ้าง ทำให้เด็กเป็นโรคขาดสารอาหาร หากทำงานไม่ถูกใจนายจ้าง หรือสื่อสารไม่เข้าใจก็จะถูกด่า ตบตี ทำร้ายร่างกาย ขายต่อให้คนอื่นหรือนำไปปล่อยทิ้ง นายจ้างมักข่มขู่ให้กลัวไม่กล้าหนี เด็กบางคนถูกทารุณทางกายและจิตใจจนเป็นบ้าป่วยทางจิต นายจ้างจึงปล่อยออกมา และมีคนนำส่งโรงพยาบาลศรีธัญญา แพทย์วินิจฉัยว่าได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง ก่อนส่งสตม.อย่างไรก็ตามนายจ้างที่กระทำผิดอยู่ใน กทม.มากที่สุด 20 ราย ยังไม่สามารถเอาผิดได้อย่างจริงจัง ที่น่าห่วง คือ สถานการณ์เศรษฐกิจและปัญหาบ้านเมืองเพิ่มจำนวน และความรุนแรงกับคนกลุ่มนี้มากขึ้น เพราะนายจ้างยิ่งเครียดแล้วมาลงกับเด็ก เช่น เด็กเลี้ยงหมาแล้วหมาป่วยนายจ้างไม่พอใจก็จะทำร้ายเด็กแทน เป็นต้น”น.ส.ดาราราย กล่าว
น.ส.ดาราราย กล่าวอีกว่า เด็กและผู้หญิงที่เป็นเหยื่อกลุ่มแรงงานบ้านส่วนใหญ่มาจากลาวใต้ แขวงสะหวันเขต สาละวัน จำปาสัก โดยจะเสียค่านายหน้า 2,000-5,000 บาท และมาจากพม่า รัฐกะเหรี่ยง และรัฐมอน ต้องเสียค่านายหน้า 14,000-17,000 บาท ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิคนกลุ่มนี้มักขาดพยานหลักฐานร่องรอยการถูกทำร้าย ละเมิดทางเพศ ข้อมูลนายจ้าง และผู้เสียหายไม่กล้าแจ้งความกลัวถูกจับฐานเข้าเมืองผิดกฎหมาย ทั้งนี้ นอกจากกฎหมายค้ามนุษย์ในการจัดการเรื่องนี้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งมาตรา 3 กำหนดว่าบุคคลในครอบครัวรวมถึงคนที่อยู่ในครัวเรือนเดียวกันจึงน่าจะรวมถึงแรงงานในบ้านด้วยที่ต้องได้รับการคุ้มครองหากถูกกระทำความรุนแรง
ด้าน พล.ต.ท.ชัชวาล สุขสมจิตร ผบช.สตม. กล่าวว่า แรงงานหญิงและเด็กต่างด้าวมีกฎหมายคุ้มครองหลายฉบับ เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กฎหมายคุ้มครองเด็ก กฎหมายการทำงานคนต่างด้าว กฎหมายคนเข้าเมือง ซึ่งเบื้องต้นหากถูกทำร้ายร่างกายก็มีกฎหมายอาญาลงโทษอยู่แล้ว หรือหากมีลักษณะของการใช้คนเป็นทาสก็เข้าข่ายค้ามนุษย์ด้วย แต่การใช้พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ขณะนี้แวดวงอัยการมองว่าแรงงานในบ้าน ไม่ถือเป็นคนในครอบครัว คงใช้เพียงกฎหมายอาญาหรือกฎหมายค้ามนุษย์ กฎหมายคุ้มครองเด็ก เป็นต้น ที่ดำเนินการได้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าผู้พบเห็นคนในบ้านไหนถูกทำร้ายแม้ไม่ทราบเป็นลูกจ้าง หรือคนในครอบครัวสามารถแจ้งตำรวจได้ กฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเหตุด้วยความสุจริตใจ เป็นหน้าที่ตำรวจใช้ดุลยพินิจจะเอากฎหมายใดมาดำเนิน