สพฐ.ย้ำโรงเรียนให้จัดซื้อตำราเรียนตามรายชื่อที่ สพฐ.ประกาศในหลักสุตรเดิม ชี้ตำราเรียนตามหลักสูตรใหม่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบเนื้อหาจาก ศธ. ด้าน ผอ.สพท.หนุนใช้ตำราเรียนหลักสูตรเดิมควรรอตำราหลักสูตรใหม่ตรวจเนื้อหาก่อน ชี้แม้เปลี่ยนหลักสูตรแต่ตำราเก่าก็ใช้ได้ เพราะเนื้อหาเดิมถึง 90% เด็กได้ความรู้หรือไม่ขึ้นอยู่กับวิธีการของครู จับตาซื้อตำราล็อตใหญ่จะมีคนกอบโกยผลประโยชน์เข้ากระเป๋า
นายวินัย รอดจ่าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวถึงการจัดซื้อตำราเรียน ตามนโยบายเรียนฟรีของรัฐบาลว่า ตำราเรียนที่จะนำมาใช้ จะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์เพราะต้องมีการส่งตรวจตำราเรียนระหว่างเดือนมีนาคม-พฤศจิกายน เพื่อดูว่ามีจุดบกพร่องตรงไหน หากมีจุดบกพร่องก็จะให้สำนักพิมพ์นำกลับไปแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องเสียก่อน ส่วนวิชาหลักเนื้อหาคงไม่ได้ปรับเปลี่ยนมากนัก มีเพียงวิชาสังคมศึกษาที่ต้องปรับปรุงเนื้อหาให้เป็นปัจจุบัน เพราะฉะนั้น สำนักพิมพ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขององค์การค้า ที่ต้องผ่านการตรวจจาก สพฐ.หรือสำนักพิมพ์เอกชนต้องมีการตรวจสอบและต้องมั่นใจว่าถูกต้อง หากมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นระหว่างพิมพ์ตำราเรียนไปแล้ว ก็จะต้องทำใบแทรกเนื้อหาที่ถูกต้องเข้าไป
“อย่างไรก็ตาม การซื้อตำราเรียนในปีนี้ขอให้ซื้อหนังสือที่เป็นตำราเรียนในปัจจุบันเท่านั้นตามรายชื่อที่ประกาศไว้ในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. อย่าเพิ่งซื้อตำราที่ยังไม่ได้ตรวจความถูกต้อง”นายวินัยกล่าว
นายอนุสรณ์ ฟูเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) สุพรรณบุรี เขต 1 แสดงความคิดเห็นว่า การใช้หลักสูตรใหม่ที่สำนักพิมพ์เอกชนนำมาเสนอนั้น ส่วนตัวคิดว่ายังไม่อยากให้โรงเรียนซื้อเพราะเท่าที่ทราบ เนื้อหาตำราเรียนดังกล่าวยังไม่ผ่านการตรวจสอบเกี่ยวกับเนื้อหาสาระต่างๆ ว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะฉะนั้นควรใช้หลักเกณฑ์เดียวกับส่วนกลางที่กำหนดให้ใช้ตำราปัจจุบัน ซึ่งโรงเรียนต่างๆ สามารถซื้อได้ตามรายชื่อหนังสือของ สพฐ. ส่วนโรงเรียนนำร่องใช้หลักสุตรใหม่ของ สพท.สุพรรณบุรี เขต 1 จะไปพิจารณาอย่างเข้มงวดว่าใช้เนื้อหาหลักสูตรใหม่ผลการเรียนของเด็กเป็นอย่างไร แต่เชื่อว่าเนื้อหาหลักสูตรคงไม่แตกต่างจากหลักสูตรเก่ามากนัก เพราะเท่าที่รู้บอกว่าปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเหมือนเดิมถึง 90%
“ส่วนเด็กจะได้ความรู้แค่ไหนน่าจะอยู่ที่การปรับเปลี่ยนและปรับปรุงของครูผู้สอนที่ควรเน้นกิจกรรม เพื่อให้เด็กเข้าถึงเนื้อหามากกว่าการยึดตำราเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ครูผู้สอนจะต้องพยายามอัพเดทเนื้อหาวิชาที่ตัวเองสอนอยู่อย่างต่อเนื่องโดยการเข้าไปค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และอัพเดทข้อมูลอย่างต่อเนื่อง แล้วนำมาผสมผสานสอนเด็ก น่าจะทำให้เด็กมีความรู้มากกว่าใช้เนื้อหาตำราเรียนเพียงอย่างเดียว ”นายอนุสรณ์กล่าว
ผอ.สพท.สุพรรณบุรี เขต 1 กล่าวอีกว่า จะแจ้งไปยังโรงเรียนว่าการเลือกซื้อตำราให้เลือกซื้อตามรายชื่อที่ สพฐ.กำหนดอย่าซื้อนอกเหนือจากที่ สพฐ.กำหนด เพราะยังไม่มั่นใจว่าเนื้อหาถูกต้องหรือไม่ รอจนกว่าคณะกรรมการการที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหามีความเห็นว่าถูกต้องแล้ว และระบุว่าสามารถนำมาใช้ได้ จึงจะจัดซื้อได้ แต่คงไม่ทันในปีนี้ เพราะคณะกรรมการจะเริ่มตรวจเนื้อหาตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน และกว่าจะรู้ว่าหนังสือเล่มไหนใช้ได้หรือไม่ได้ ก็คงจะเป็นปีการศึกษาหน้าหรือปี 2553
ด้าน นายสมัย ธนะศรี ผอ.สพท.น่าน เขต 2 กล่าวว่า การจัดซื้อตำราเรียนจำนวนมากอาจจะมีบางกลุ่มการแสวงหาผลประโยชน์จากโรงเรียน ดังนั้น ทาง สพฐ.จึงมีนโยบายให้ สพท.ทั่วประเทศจัดนิทรรศการแสดงตำราเรียน และชุดนักเรียนเพื่อให้โรงเรียนครู และผู้ปกครองได้ร่วมกันพิจารณา นอกจากนี้แม้ว่าในปี 2555 จะมีการเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ทั้งหมด แต่หนังสือเรียนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็ไม่ได้เสียหาย ยังนำมาใช้ในห้องสมุดเพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับวิชาการมาสอนนักเรียนได้
“สิ่งที่น่ากลัวมากกว่า คือ เรื่องการหาผลประโยชน์จากกลุ่มหรือบุคคลที่ไม่หวังดี เพราะจะมีการซื้อตำราเป็นล็อตใหญ่ๆ เพราะฉะนั้น เราไม่ต้องการให้โรงเรียนหรือใครถูกหลอก ก็จะจัดนิทรรศการให้ดูว่าตำราที่ใช้เป็นของสำนักพิมพ์ไหน หรือว่าใช้ขององค์การค้า และจะบอกด้วยว่ากระดาษแต่ละสำนักพิมพ์เป็นอย่างไร”นายสมัยกล่าว
นายวินัย รอดจ่าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวถึงการจัดซื้อตำราเรียน ตามนโยบายเรียนฟรีของรัฐบาลว่า ตำราเรียนที่จะนำมาใช้ จะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์เพราะต้องมีการส่งตรวจตำราเรียนระหว่างเดือนมีนาคม-พฤศจิกายน เพื่อดูว่ามีจุดบกพร่องตรงไหน หากมีจุดบกพร่องก็จะให้สำนักพิมพ์นำกลับไปแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องเสียก่อน ส่วนวิชาหลักเนื้อหาคงไม่ได้ปรับเปลี่ยนมากนัก มีเพียงวิชาสังคมศึกษาที่ต้องปรับปรุงเนื้อหาให้เป็นปัจจุบัน เพราะฉะนั้น สำนักพิมพ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขององค์การค้า ที่ต้องผ่านการตรวจจาก สพฐ.หรือสำนักพิมพ์เอกชนต้องมีการตรวจสอบและต้องมั่นใจว่าถูกต้อง หากมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นระหว่างพิมพ์ตำราเรียนไปแล้ว ก็จะต้องทำใบแทรกเนื้อหาที่ถูกต้องเข้าไป
“อย่างไรก็ตาม การซื้อตำราเรียนในปีนี้ขอให้ซื้อหนังสือที่เป็นตำราเรียนในปัจจุบันเท่านั้นตามรายชื่อที่ประกาศไว้ในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. อย่าเพิ่งซื้อตำราที่ยังไม่ได้ตรวจความถูกต้อง”นายวินัยกล่าว
นายอนุสรณ์ ฟูเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) สุพรรณบุรี เขต 1 แสดงความคิดเห็นว่า การใช้หลักสูตรใหม่ที่สำนักพิมพ์เอกชนนำมาเสนอนั้น ส่วนตัวคิดว่ายังไม่อยากให้โรงเรียนซื้อเพราะเท่าที่ทราบ เนื้อหาตำราเรียนดังกล่าวยังไม่ผ่านการตรวจสอบเกี่ยวกับเนื้อหาสาระต่างๆ ว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะฉะนั้นควรใช้หลักเกณฑ์เดียวกับส่วนกลางที่กำหนดให้ใช้ตำราปัจจุบัน ซึ่งโรงเรียนต่างๆ สามารถซื้อได้ตามรายชื่อหนังสือของ สพฐ. ส่วนโรงเรียนนำร่องใช้หลักสุตรใหม่ของ สพท.สุพรรณบุรี เขต 1 จะไปพิจารณาอย่างเข้มงวดว่าใช้เนื้อหาหลักสูตรใหม่ผลการเรียนของเด็กเป็นอย่างไร แต่เชื่อว่าเนื้อหาหลักสูตรคงไม่แตกต่างจากหลักสูตรเก่ามากนัก เพราะเท่าที่รู้บอกว่าปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเหมือนเดิมถึง 90%
“ส่วนเด็กจะได้ความรู้แค่ไหนน่าจะอยู่ที่การปรับเปลี่ยนและปรับปรุงของครูผู้สอนที่ควรเน้นกิจกรรม เพื่อให้เด็กเข้าถึงเนื้อหามากกว่าการยึดตำราเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ครูผู้สอนจะต้องพยายามอัพเดทเนื้อหาวิชาที่ตัวเองสอนอยู่อย่างต่อเนื่องโดยการเข้าไปค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และอัพเดทข้อมูลอย่างต่อเนื่อง แล้วนำมาผสมผสานสอนเด็ก น่าจะทำให้เด็กมีความรู้มากกว่าใช้เนื้อหาตำราเรียนเพียงอย่างเดียว ”นายอนุสรณ์กล่าว
ผอ.สพท.สุพรรณบุรี เขต 1 กล่าวอีกว่า จะแจ้งไปยังโรงเรียนว่าการเลือกซื้อตำราให้เลือกซื้อตามรายชื่อที่ สพฐ.กำหนดอย่าซื้อนอกเหนือจากที่ สพฐ.กำหนด เพราะยังไม่มั่นใจว่าเนื้อหาถูกต้องหรือไม่ รอจนกว่าคณะกรรมการการที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหามีความเห็นว่าถูกต้องแล้ว และระบุว่าสามารถนำมาใช้ได้ จึงจะจัดซื้อได้ แต่คงไม่ทันในปีนี้ เพราะคณะกรรมการจะเริ่มตรวจเนื้อหาตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน และกว่าจะรู้ว่าหนังสือเล่มไหนใช้ได้หรือไม่ได้ ก็คงจะเป็นปีการศึกษาหน้าหรือปี 2553
ด้าน นายสมัย ธนะศรี ผอ.สพท.น่าน เขต 2 กล่าวว่า การจัดซื้อตำราเรียนจำนวนมากอาจจะมีบางกลุ่มการแสวงหาผลประโยชน์จากโรงเรียน ดังนั้น ทาง สพฐ.จึงมีนโยบายให้ สพท.ทั่วประเทศจัดนิทรรศการแสดงตำราเรียน และชุดนักเรียนเพื่อให้โรงเรียนครู และผู้ปกครองได้ร่วมกันพิจารณา นอกจากนี้แม้ว่าในปี 2555 จะมีการเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ทั้งหมด แต่หนังสือเรียนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็ไม่ได้เสียหาย ยังนำมาใช้ในห้องสมุดเพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับวิชาการมาสอนนักเรียนได้
“สิ่งที่น่ากลัวมากกว่า คือ เรื่องการหาผลประโยชน์จากกลุ่มหรือบุคคลที่ไม่หวังดี เพราะจะมีการซื้อตำราเป็นล็อตใหญ่ๆ เพราะฉะนั้น เราไม่ต้องการให้โรงเรียนหรือใครถูกหลอก ก็จะจัดนิทรรศการให้ดูว่าตำราที่ใช้เป็นของสำนักพิมพ์ไหน หรือว่าใช้ขององค์การค้า และจะบอกด้วยว่ากระดาษแต่ละสำนักพิมพ์เป็นอย่างไร”นายสมัยกล่าว