xs
xsm
sm
md
lg

เตือน! เครื่องสำอาง 13 รายการอันตราย พบสารประกอบของปรอท

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


อย.ประกาศรายชื่อเครื่องสำอาง 13 รายการ ผสมสารห้ามใช้ ทั้ง ไฮโดรควิโนน กรดเรทิโรอิก และสารประกอบของปรอท ชี้ ทำให้หน้าพัง เตือนอย่าหลงเชื่อคำโฆษณามาก ใช้มาตราการเชิงรุกควบคุมสารเคมีที่เป็นสารห้ามใช้เข้มก่อนลักลอบผลิตเครื่องสำอาง

ภญ.วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประกาศผลการตรวจสอบหรือวิเคราะห์เครื่องสำอางที่พบสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายให้ประชาชนทราบเป็นระยะ นั้น ล่าสุด ปรากฏผลการตรวจวิเคราะห์เครื่องสำอางที่เก็บจากร้านเครื่องสำอางในเขตกรุงเทพฯ ได้แก่ ร้านสวย ตั้งอยู่เลขที่ 40/71 ซอยเจ๊เล้งใหม่ แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ พบสารที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ดังนี้ 1.ไคลี่ครีมกลางคืน (KAILI NIGHT CREAM) ผลิตโดย บริษัท ไคลี่ เลิฟลี่คอสเมทิค จำกัด ประเทศจีน นำเข้าโดย บริษัท ไจโอนูโอ อินเตอร์เนชั่นแนล ไทยแลนด์ จำกัด วันที่ผลิต 2007/06/08 ตรวจพบไฮโดรควิโนน 2. D’Jeanne PARIS Extra Peeling Beauty Cream ไม่ระบุผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย เลขที่ผลิตและวันที่ผลิต ตรวจพบไฮโดรควิโนนและกรดเรทิโนอิก 3. AQUA GOLD EXTRA BRIGHTENING CREAM (ครีมรักษาฝ้า สูตรพิเศษ) ผลิตและจำหน่ายโดย DNA BEAUTY CO.,LTD. เลขที่ 34 ถ.จรัลสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 ไม่ระบุเลขที่ผลิต/วันที่ผลิต ตรวจพบไฮโดรควิโนนและกรดเรทิโนอิก

4. Kavias Brilliant White/USA (ครีมทาผิว) ผลิตโดย Konvas (USA) Co., Ltd. จำหน่ายโดย K-live Trading Co., Ltd. เลขที่ 59/157 ม.3 บางพูด ปากเกร็ด นนทบุรี ไม่ระบุเลขที่ผลิต/วันที่ผลิต ตรวจพบไฮโดรควิโนนและกรดเรทิโนอิก 5. บาชิครีมกลางวัน (BASCHI DAY CREAM) ผลิตโดย บริษัท ห้วยโจเขื่อนเอิน คอสเมทิค จำกัด (ประเทศจีน) นำเข้าโดย บริษัท ไจโอ นูโอ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด เลขที่ 302/20 ลาดพร้าว 71 เขตวังทองหลาง กทม.10320 ไม่ระบุเลขที่ผลิต/วันที่ผลิต ตรวจพบสารประกอบของปรอท 6. BASCHI PEARL ACTIVE CREAM ไม่ระบุผู้ผลิต เลขที่ผลิต และวันที่ผลิต ตรวจพบสารประกอบของปรอท 7. YANKO Fade-out Cream Day Cream (YK-868) กล่องกระดาษสีชมพู ไม่ระบุผู้ผลิต เลขที่ผลิต และวันที่ผลิต ตรวจพบสารประกอบของปรอท

8. YANKO Fade-out Cream Day Cream (YK-868) กล่องกระดาษสีครีม-ทอง ไม่ระบุผู้ผลิต เลขที่ผลิต และวันที่ผลิต ตรวจพบสารประกอบของปรอท 9. YANKO Whitening Cream Night Cream (YK-883) กล่องกระดาษสีน้ำเงิน ไม่ระบุผู้ผลิต เลขที่ผลิต และวันที่ผลิต ตรวจพบกรดเรทิโนอิก 10. YANKO Whitening Cream Night Cream (YK-883) กล่องกระดาษสีเขียว-ทอง ไม่ระบุผู้ผลิต เลขที่ผลิต และวันที่ผลิต ตรวจพบกรดเรทิโนอิก นอกจากนี้ยังตรวจพบเครื่องสำอางผสมสารห้ามใช้ที่ร้านขายเครื่องสำอางไม่มีชื่อ ตั้งอยู่ในห้างอิมพีเรียล สาขาสำโรง เลขที่ 999 ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ได้แก่

11.ครีมหมอหญิง ขาว สวย ใส ผลิตโดย บริษัท ไมลอท์ แลบบอราทริส์ (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่ 54 ม.9 ถ.เทพารักษ์ บางปลา บางพลี จ.สมุทรปราการ ไม่ระบุเลขที่ผลิต และวันที่ผลิต ตรวจพบสารประกอบของปรอท 12. EED’S ครีมไข่มุก หน้าสวย ไม่ระบุผู้ผลิต เลขที่ผลิต และวันที่ผลิต ตรวจพบไฮโดรควิโนน และ 13. EED’S ครีมแก้ฝ้า จุดด่างดำ ไม่ระบุผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย เลขที่ผลิตและวันที่ผลิต ตรวจพบสารประกอบของปรอท
 
สำหรับเครื่องสำอางที่ผสมสารประกอบของปรอท จะทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษสะสมของสารปรอท และทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ผสมไฮโดรควิโนน ทำให้ระคายเคือง เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวร รักษาไม่หาย และผลิตภัณฑ์ที่ผสมกรดเรทิโนอิก ทำให้หน้าแดง แสบร้อนรุนแรง เกิดการอักเสบ ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรง อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

“ทั้งนี้ เครื่องสำอางดังกล่าวเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า และผู้ขาย มีความผิดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเนื่องจากที่ฉลากของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้นได้แจ้งแหล่งผลิตที่มิใช่ความจริง จึงจัดเป็นเครื่องสำอางปลอมอีกด้วย ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น จึงขอให้ร้านค้าซื้อเครื่องสำอางมาจำหน่ายจากผู้มีหลักแหล่งน่าเชื่อถือ และมีหลักฐานการซื้อขายที่ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้ขายอย่างชัดเจน และขออย่าได้นำเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมายดังกล่าวมาจำหน่ายเด็ดขาด โดยผู้ขายจะต้องมีความผิดเช่นเดียวกับผู้ผลิต หากผู้ขายรู้ต้นตอแหล่งผลิตให้แจ้งทางราชการทราบโดยด่วน เพื่อจะได้ดำเนินการกวาดล้างเครื่องสำอางอันตรายให้หมดไปจากท้องตลาด”ภญ.วีรวรรณ กล่าว

รองเลขาธิการ อย.กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ อย.มีมาตรการเชิงรุกในการควบคุมสารเคมีที่เป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางเพื่อแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง เนื่องจากสารเคมีเหล่านี้อาจมีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศุลกากร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการที่ใช้สารเคมีเหล่านี้ และวางมาตรการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีโอกาสที่จะนำมาลักลอบผสมในเครื่องสำอาง สำหรับรายชื่อเครื่องสำอางมีสารห้ามใช้ที่ อย.เคยประกาศไปทั้งหมด ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบรายชื่อ พร้อมดูภาพได้ที่ www.fda.moph.go.th
กำลังโหลดความคิดเห็น