อย.เผาทำลายของกลางเครื่องสำอางผสมสารห้ามใช้ที่ถูกยึด จำนวน 5 ตัน มูลค่ากว่า 7 ล้านบาท ที่ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมประกาศ! เครื่องสำอางผิดกฎหมายต้องหมดไปจากท้องตลาด ขอให้ผู้บริโภคมั่นใจ อย.ลุยตรวจสอบอย่างใกล้ชิด และดำเนินคดีอย่างเข้มงวดต่อร้านค้าที่นำเครื่องสำอางผสมห้ามใช้มาจำหน่าย เพื่อคุ้มครองให้ผู้บริโภคได้รับเครื่องสำอางที่ปลอดภัย
วันนี้ (2 ธ.ค.) ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเผาทำลาย ของกลางผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการกวาดล้างจับกุมสถานประกอบการเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมายอย่างสม่ำเสมอ ทั้งที่สืบสวนเอง และได้รับเบาะแสจากการร้องเรียน เนื่องจากมักพบการโฆษณาอวดอ้าง ว่า สามารถรักษาฝ้า ทำให้หน้าขาว ซึ่งไม่เป็นความจริง โดยเครื่องสำอางดังกล่าวมีการผสมสารห้ามใช้ ไม่ว่าจะเป็นสารประกอบของปรอท ที่ทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษ-สะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบ
ส่วนของสารไฮโดรควิโนน จะทำให้เกิดการระคายเคือง เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวร รักษาไม่หาย และกรดเรทิโนอิก (กรดวิตามินเอ) จะทำให้หน้าแดง แสบร้อนรุนแรง เกิดการอักเสบ ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรง และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
“ในครั้งนี้จึงรวบรวมของกลางผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผิดกฎหมายในรอบช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมของกลางทั้งสิ้น จำนวน 5 ตัน มูลค่าประมาณ 7 ล้านบาท โดยนำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ถูกยึดทั้งหมดนี้เผาทำลายให้สิ้นซากต่อหน้าสาธารณชน เพื่อให้เห็นการทำงานของภาครัฐในการดำเนินมาตรการเข้มงวดต่อผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค” นพ.พิพัฒน์ กล่าว
เลขาธิการ อย.กล่าวต่อไปว่า เมื่อจะซื้อเครื่องสำอาง ขอให้ผู้บริโภคให้ความระมัดระวัง โดยซื้อจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน มีฉลากภาษาไทยที่มีข้อความบังคับครบถ้วน ได้แก่ ชื่อและประเภท ผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบสำคัญ วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต ปริมาณสุทธิ ที่สำคัญ ไม่ควรซื้อเพียงเพราะเชื่อคำโฆษณา โดยเฉพาะเครื่องสำอางที่โฆษณาอวดอ้างว่าทำให้ผิวขาว อวดอ้างแก้ฝ้า สำหรับร้านค้าที่ซื้อเครื่องสำอางมาจำหน่ายจะต้องซื้อจากผู้มีหลักแหล่งน่าเชื่อถือ และมีหลักฐานการซื้อขายที่ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้ขายอย่างชัดเจน และขออย่าได้นำเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมายดังกล่าวมาจำหน่าย หากเจ้าหน้าที่ อย. ตรวจพบจะดำเนินคดีทางกฎหมายอย่างเข้มงวด โดยผู้ขายจะต้องมีความผิดเช่นเดียวกับผู้ผลิต หากผู้ขาย รู้ต้นตอแหล่งผลิตให้แจ้งทางราชการทราบโดยด่วน เพื่อจะได้ดำเนินการกวาดล้างเครื่องสำอางอันตรายให้หมดไปจากท้องตลาด สำหรับรายชื่อเครื่องสำอางมีสารห้ามใช้ที่ อย.เคยประกาศไปทั้งหมดผู้บริโภคสามารถตรวจสอบรายชื่อ พร้อมดูภาพได้ที่ www.fda.moph.go.th
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ อย.มีมาตรการเชิงรุกในการควบคุมสารเคมีที่เป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางเพื่อแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง เนื่องจากสารเคมีเหล่านี้อาจมีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศุลกากร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการที่ใช้สารเคมีเหล่านี้ และวางมาตรการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีโอกาสที่จะนำมาลักลอบผสมในเครื่องสำอาง ซึ่งมีจำนวนมากมายหลายประเภท
สำหรับเครื่องสำอางผสมสารห้ามใช้ที่ยึดจากสถานที่ลักลอบผลิตเครื่องสำอางผิดกฎหมาย ประกอบด้วย ภาชนะบรรจุ (ตลับ กล่อง กระปุก เป็นต้น) และเครื่องสำอางสำเร็จรูปที่ อย. เคยประกาศว่ามีสารห้ามใช้ เช่น ทรีเดย์ วินเซิร์ฟ เป็นต้น, เครื่องสำอางที่ยึกจากแหล่งจำหน่ายขนาดใหญ่ เช่น ตลาดใหม่ดอนเมือง เป็นต้น ซึ่งมีทั้งเครื่องสำอางที่ผสมสารห้ามใช้ เครื่องสำอางแสดงฉลากไม่ถูกต้องตามกฎหมาย/แสดงฉลาก โอ้อวดเกินจริง, เครื่องสำอางที่ยึดมาประกอบการดำเนินคดีสถานที่ผลิตเครื่องสำอาง/สถานที่จำหน่ายทั่วๆ ไป เช่น เครื่องสำอางควบคุมพิเศษที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน เป็นต้น
วันนี้ (2 ธ.ค.) ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเผาทำลาย ของกลางผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการกวาดล้างจับกุมสถานประกอบการเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมายอย่างสม่ำเสมอ ทั้งที่สืบสวนเอง และได้รับเบาะแสจากการร้องเรียน เนื่องจากมักพบการโฆษณาอวดอ้าง ว่า สามารถรักษาฝ้า ทำให้หน้าขาว ซึ่งไม่เป็นความจริง โดยเครื่องสำอางดังกล่าวมีการผสมสารห้ามใช้ ไม่ว่าจะเป็นสารประกอบของปรอท ที่ทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษ-สะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบ
ส่วนของสารไฮโดรควิโนน จะทำให้เกิดการระคายเคือง เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวร รักษาไม่หาย และกรดเรทิโนอิก (กรดวิตามินเอ) จะทำให้หน้าแดง แสบร้อนรุนแรง เกิดการอักเสบ ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรง และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
“ในครั้งนี้จึงรวบรวมของกลางผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผิดกฎหมายในรอบช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมของกลางทั้งสิ้น จำนวน 5 ตัน มูลค่าประมาณ 7 ล้านบาท โดยนำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ถูกยึดทั้งหมดนี้เผาทำลายให้สิ้นซากต่อหน้าสาธารณชน เพื่อให้เห็นการทำงานของภาครัฐในการดำเนินมาตรการเข้มงวดต่อผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค” นพ.พิพัฒน์ กล่าว
เลขาธิการ อย.กล่าวต่อไปว่า เมื่อจะซื้อเครื่องสำอาง ขอให้ผู้บริโภคให้ความระมัดระวัง โดยซื้อจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน มีฉลากภาษาไทยที่มีข้อความบังคับครบถ้วน ได้แก่ ชื่อและประเภท ผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบสำคัญ วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต ปริมาณสุทธิ ที่สำคัญ ไม่ควรซื้อเพียงเพราะเชื่อคำโฆษณา โดยเฉพาะเครื่องสำอางที่โฆษณาอวดอ้างว่าทำให้ผิวขาว อวดอ้างแก้ฝ้า สำหรับร้านค้าที่ซื้อเครื่องสำอางมาจำหน่ายจะต้องซื้อจากผู้มีหลักแหล่งน่าเชื่อถือ และมีหลักฐานการซื้อขายที่ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้ขายอย่างชัดเจน และขออย่าได้นำเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมายดังกล่าวมาจำหน่าย หากเจ้าหน้าที่ อย. ตรวจพบจะดำเนินคดีทางกฎหมายอย่างเข้มงวด โดยผู้ขายจะต้องมีความผิดเช่นเดียวกับผู้ผลิต หากผู้ขาย รู้ต้นตอแหล่งผลิตให้แจ้งทางราชการทราบโดยด่วน เพื่อจะได้ดำเนินการกวาดล้างเครื่องสำอางอันตรายให้หมดไปจากท้องตลาด สำหรับรายชื่อเครื่องสำอางมีสารห้ามใช้ที่ อย.เคยประกาศไปทั้งหมดผู้บริโภคสามารถตรวจสอบรายชื่อ พร้อมดูภาพได้ที่ www.fda.moph.go.th
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ อย.มีมาตรการเชิงรุกในการควบคุมสารเคมีที่เป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางเพื่อแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง เนื่องจากสารเคมีเหล่านี้อาจมีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศุลกากร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการที่ใช้สารเคมีเหล่านี้ และวางมาตรการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีโอกาสที่จะนำมาลักลอบผสมในเครื่องสำอาง ซึ่งมีจำนวนมากมายหลายประเภท
สำหรับเครื่องสำอางผสมสารห้ามใช้ที่ยึดจากสถานที่ลักลอบผลิตเครื่องสำอางผิดกฎหมาย ประกอบด้วย ภาชนะบรรจุ (ตลับ กล่อง กระปุก เป็นต้น) และเครื่องสำอางสำเร็จรูปที่ อย. เคยประกาศว่ามีสารห้ามใช้ เช่น ทรีเดย์ วินเซิร์ฟ เป็นต้น, เครื่องสำอางที่ยึกจากแหล่งจำหน่ายขนาดใหญ่ เช่น ตลาดใหม่ดอนเมือง เป็นต้น ซึ่งมีทั้งเครื่องสำอางที่ผสมสารห้ามใช้ เครื่องสำอางแสดงฉลากไม่ถูกต้องตามกฎหมาย/แสดงฉลาก โอ้อวดเกินจริง, เครื่องสำอางที่ยึดมาประกอบการดำเนินคดีสถานที่ผลิตเครื่องสำอาง/สถานที่จำหน่ายทั่วๆ ไป เช่น เครื่องสำอางควบคุมพิเศษที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน เป็นต้น