โอฬาร เผยแผนช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี หวังลดอัตราการถูกเลิกกจ้าง นำร่องแผน 4 ทางเลือก เน้นย้ายแรงงานไปโรงานอื่น และฝึกอบรมแรงงาน เพิ่มทักษะการทำงาน ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงงานเปี่ยมศักยภาพ ชี้หนทางสุดท้ายต้องการให้นายจ้างการงจ้างงานไว้ โดยรัฐฯ หนุนค่าใช้จ่าย คาดแรงงานเอสเอ็มอีประมาณ 90,000 คน จากโรงงาน 400 แห่ง กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์กระทบมากสุด
นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของหน่วยงานจากภาครัฐฯ และเอกชน เพื่อลดปัญหาอัตราการเลิกจ้าง ที่ขณะนี้ จ.พระนครศรีอยุธยา กำลังประสบปัญหาดังกล่าวอยู่ โดยเฉพาะโรงงานขนาดย่อมในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ว่า ตนได้วางแนวทางช่วยเหลือแรงงานไว้ 4 ทางเลือก คือ การจัดแรงงานไปโรงงานอื่นภายในจังหวัด การฝึกอบรมแรงงานให้มีทักษะการทำงานในสาขาอุตสาหกรรมที่มีความต้องการแรงงานเพิ่ม การฝึกอบรมในสายอาชีพที่แรงงานต้องการ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการคลังร่วมมือกันหาสินเชื่อเพื่อการศึกษาสำหรับแรงงานที่ต้องการศึกษาต่อ ในขณะที่ทางเลือกสุดท้าย คือ ให้สถานประกอบการคงการจ้างงานไว้ โดยภาครัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพแรงงาน และการประกอบอาชีพเสริม หากมีความจำเป็นต้องลดชั่วโมงการทำงาน
ทั้งนี้การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นจากทางภาครัฐฯ จะให้หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจให้ความสำคัญกับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่ผลิตภายในประเทศเป็นหลัก และให้ช่วยเจรจาการค้าเพื่อให้มีคำสั่งซื้อตลอดเวลามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อ การเร่งแก้ไขปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน และการเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับกิจการที่มีประวัติดี โดยให้มีการพิจารณาสินเชื่อจากธนาคารของรัฐและธนาคารเอกชนเข้าร่วมด้วย สนับสนุนการฝึกอบรมให้ผู้ประกอบการ การบริหารจัดการและพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ รวมทั้งให้กระทรวงอุตสาหกรรม และ สสว.จัดทำศูนย์ข้อมูลด้านความต้องการจ้างแรงงานประเภทต่าง ๆ และประชาสัมพันธ์ให้มีการใช้ศูนย์ข้อมูลอย่างกว้างขวาง การฝึกอบรมเอสเอ็มอีให้เปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการมากขึ้น การตั้งกองทุนช่วยเหลือเอสเอ็มอีสำหรับผู้ส่งออกที่มีประวัติดี
สำหรับการสำรวจอัตราการเลิกจ้างแรงงานใน จ.พระนครศรีอยุธยา พบว่า มีแรงงานในระบบมากกว่า 2.5 แสนคน และมีแรงงานในธุรกิจขนาดเล็กอีก 90,000 คน ส่วนใหญ่ผลกระทบที่ได้รับจะอยู่ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และเอสเอ็มอี เป็นหลัก คาดว่าจากกรณีที่แย่ที่สุด คือ ยอดสั่งซื้อในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ลดลงประมาณร้อยละ 30-40 ทำให้คาดว่าต้องเลิกจ้างทั้งสิ้น 40,000 คน โดยแรงงานในกลุ่มนี้มีจำนวน 1.2 แสนคน และเกือบทั้งหมดมีวุฒิการศึกษาไม่เกินมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ปวช. ขณะที่เอสเอ็มอีมีแรงงานประมาณ 90,000 คน จากโรงงาน 400 แห่ง คาดว่าผู้ที่รับงานจากภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งยังไม่มีตัวเลขที่แน่นอน
“หลังมีการสำรวจข้อมูลของแรงงานที่ถูกเลิกจ้างที่ชัดเจนในจังหวัดต่าง ๆ แล้ว จะให้นำแนวทางการแก้ไขปัญหาของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นตัวอย่างต่อไป โดยขอความร่วมมือให้ภาคเอกชนเร่งสำรวจปัญหาการเลิกจ้างงานในพื้นที่ที่มีนิคมอุตสาหกรรม 10 พื้นที่ เร่งสำรวจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โรงแรม ขนส่ง-อาหาร และอุตสาหกรรมพื้นบ้านที่รับทำของและขายส่งออก” รองนายกรัฐมนตรีกล่าว
นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของหน่วยงานจากภาครัฐฯ และเอกชน เพื่อลดปัญหาอัตราการเลิกจ้าง ที่ขณะนี้ จ.พระนครศรีอยุธยา กำลังประสบปัญหาดังกล่าวอยู่ โดยเฉพาะโรงงานขนาดย่อมในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ว่า ตนได้วางแนวทางช่วยเหลือแรงงานไว้ 4 ทางเลือก คือ การจัดแรงงานไปโรงงานอื่นภายในจังหวัด การฝึกอบรมแรงงานให้มีทักษะการทำงานในสาขาอุตสาหกรรมที่มีความต้องการแรงงานเพิ่ม การฝึกอบรมในสายอาชีพที่แรงงานต้องการ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการคลังร่วมมือกันหาสินเชื่อเพื่อการศึกษาสำหรับแรงงานที่ต้องการศึกษาต่อ ในขณะที่ทางเลือกสุดท้าย คือ ให้สถานประกอบการคงการจ้างงานไว้ โดยภาครัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพแรงงาน และการประกอบอาชีพเสริม หากมีความจำเป็นต้องลดชั่วโมงการทำงาน
ทั้งนี้การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นจากทางภาครัฐฯ จะให้หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจให้ความสำคัญกับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่ผลิตภายในประเทศเป็นหลัก และให้ช่วยเจรจาการค้าเพื่อให้มีคำสั่งซื้อตลอดเวลามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อ การเร่งแก้ไขปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน และการเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับกิจการที่มีประวัติดี โดยให้มีการพิจารณาสินเชื่อจากธนาคารของรัฐและธนาคารเอกชนเข้าร่วมด้วย สนับสนุนการฝึกอบรมให้ผู้ประกอบการ การบริหารจัดการและพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ รวมทั้งให้กระทรวงอุตสาหกรรม และ สสว.จัดทำศูนย์ข้อมูลด้านความต้องการจ้างแรงงานประเภทต่าง ๆ และประชาสัมพันธ์ให้มีการใช้ศูนย์ข้อมูลอย่างกว้างขวาง การฝึกอบรมเอสเอ็มอีให้เปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการมากขึ้น การตั้งกองทุนช่วยเหลือเอสเอ็มอีสำหรับผู้ส่งออกที่มีประวัติดี
สำหรับการสำรวจอัตราการเลิกจ้างแรงงานใน จ.พระนครศรีอยุธยา พบว่า มีแรงงานในระบบมากกว่า 2.5 แสนคน และมีแรงงานในธุรกิจขนาดเล็กอีก 90,000 คน ส่วนใหญ่ผลกระทบที่ได้รับจะอยู่ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และเอสเอ็มอี เป็นหลัก คาดว่าจากกรณีที่แย่ที่สุด คือ ยอดสั่งซื้อในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ลดลงประมาณร้อยละ 30-40 ทำให้คาดว่าต้องเลิกจ้างทั้งสิ้น 40,000 คน โดยแรงงานในกลุ่มนี้มีจำนวน 1.2 แสนคน และเกือบทั้งหมดมีวุฒิการศึกษาไม่เกินมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ปวช. ขณะที่เอสเอ็มอีมีแรงงานประมาณ 90,000 คน จากโรงงาน 400 แห่ง คาดว่าผู้ที่รับงานจากภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งยังไม่มีตัวเลขที่แน่นอน
“หลังมีการสำรวจข้อมูลของแรงงานที่ถูกเลิกจ้างที่ชัดเจนในจังหวัดต่าง ๆ แล้ว จะให้นำแนวทางการแก้ไขปัญหาของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นตัวอย่างต่อไป โดยขอความร่วมมือให้ภาคเอกชนเร่งสำรวจปัญหาการเลิกจ้างงานในพื้นที่ที่มีนิคมอุตสาหกรรม 10 พื้นที่ เร่งสำรวจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โรงแรม ขนส่ง-อาหาร และอุตสาหกรรมพื้นบ้านที่รับทำของและขายส่งออก” รองนายกรัฐมนตรีกล่าว