เครือข่ายคนทำงานยาเสพติด บุก สธ.ยื่นข้อเสนอหลังอนุ กก.สปสช.ให้ใช้สารเมธาโดนบำบัดผู้ใช้ยาเสพติด เสนอพัฒนาระบบการให้บริการ มีระบบการให้คำปรึกษา แจกเข็มและอุปกรณ์ฉีดที่สะอาด เยี่ยมบ้าน ส่งต่อผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอดส์ไอวีควบคู่การแจกสารบำบัดยาเสพติด ด้าน สธ.รับลูกไปพิจารณา
เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 16 ธันวาคม นางสุภัทรา นาคะผิว ประธานคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) พร้อมด้วยเครือข่ายคนทำงานด้านยาเสพติดกว่า 10 คน เดินทางมาที่ชั้น 5 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอบคุณคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานประเภท ขอบเขตของการบริการสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่มีนพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐเป็นประธาน เนื่องจากคณะอนุกรรมการได้ผลักดันให้สารทดแทนเมธาโดนระยะยาวเข้าไปอยู่ในสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
นางสุภัทรา กล่าวว่า ขอบคุณคณะอนุกรรมการที่ผลักดันให้การบริการสารทดแทนเมธาโดนแบบระยะยาว แก่ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยเริ่มบริการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ เป็นต้นมา แต่ทางเครือข่ายคนทำงานด้านยาเสพติด มีข้อเสนอต่อการจัดระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดพร้อมกันนี้ โดยให้เน้นเรื่องการบริการที่จำเป็นต้องมีควบคู่กับการให้บริการเมธาโดนด้วย ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษา แจกเข็ม และอุปกรณ์ฉีดที่สะอาด เยี่ยมบ้านของผู้รับบริการขึ้นตามความสมัครใจ หรือการส่งต่อผู้รับบริการเพื่อให้ได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ในกรณีที่ได้รับเชื้อเอชไอวีแล้ว ฯลฯ
นางสุภัทรา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังเสนอให้การรับบริการนั้นสามารถดำเนินการในสถานพยาบาลทุกแห่ง และขอให้ภาคประชาสังคมได้มาส่วนร่วมในการควบคุมมาตรฐานคุณภาพบริการ โดยให้แกนนำผู้ใช้ยาเกาะติดการบริการของศูนย์บริการทั้ง 111 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงเข้าไปพัฒนาระบบดังกล่าวด้วย โดยขอให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสนับสนุนงบประมาณบางส่วน เพื่อให้สะท้อนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ขณะเดียวกัน สปสช.ควรมีการกำหนดตัวชี้วัดคุณภาพและมาตรฐานบริการ
“ไม่เพียงเท่านี้ ควรประชาสัมพันธ์และจัดทำคู่มือการรับบริการสิทธิประโยชน์ดังกล่าวให้ผู้ใช้ยาได้รับรู้ถึงสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ และมีศูนย์ฮอตไลน์แจ้งเรื่องร้องเรียน พร้อมทั้งเสนอชื่อนักวิชาการเพื่อเข้าร่วมเป็นคณะทำงานด้านวิชาการ เพื่อพัฒนาแนวทางการให้บริการสารทดแทนเมธาโดนระยะยาวเข้าไปอยู่ในสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้แก่ นพ.สมสิทธิ์ ตันสุภสวัสดิกุล จากสถาบันบำราศนราดูร นพ.จรูญ จิตติวุฒิการ จาก จ.เชียงใหม่, ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ.ธนูรัตน์ พุทธชาด น.ส.มณฑิรา เมธา พยาบาลวิชาชีพ 7 ศูนย์บำบัดยาเสพติดภาคเหนือ เชียงใหม่” นางสุภัทรา กล่าว
ด้าน นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานประเภท ขอบเขตของการบริการสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จะรับข้อเสนอดังกล่าวของกลุ่มเครือข่ายคนทำงานด้านยาเสพติดไว้พิจารณา ทั้งนี้ ในเรื่องของสารเมธาโดนไม่ได้เป็นการเพิ่มสิทธิประโยชน์แต่อย่างใด เพียงแต่มีสิทธิประโยชน์นี้อยู่แล้ว แต่ไม่มีการบริการในทางปฏิบัติ ทางคณะอนุกรรมการจึงทำให้เกิดการปฏิบัติได้จริงเท่านั้น
เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 16 ธันวาคม นางสุภัทรา นาคะผิว ประธานคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) พร้อมด้วยเครือข่ายคนทำงานด้านยาเสพติดกว่า 10 คน เดินทางมาที่ชั้น 5 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอบคุณคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานประเภท ขอบเขตของการบริการสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่มีนพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐเป็นประธาน เนื่องจากคณะอนุกรรมการได้ผลักดันให้สารทดแทนเมธาโดนระยะยาวเข้าไปอยู่ในสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
นางสุภัทรา กล่าวว่า ขอบคุณคณะอนุกรรมการที่ผลักดันให้การบริการสารทดแทนเมธาโดนแบบระยะยาว แก่ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยเริ่มบริการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ เป็นต้นมา แต่ทางเครือข่ายคนทำงานด้านยาเสพติด มีข้อเสนอต่อการจัดระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดพร้อมกันนี้ โดยให้เน้นเรื่องการบริการที่จำเป็นต้องมีควบคู่กับการให้บริการเมธาโดนด้วย ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษา แจกเข็ม และอุปกรณ์ฉีดที่สะอาด เยี่ยมบ้านของผู้รับบริการขึ้นตามความสมัครใจ หรือการส่งต่อผู้รับบริการเพื่อให้ได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ในกรณีที่ได้รับเชื้อเอชไอวีแล้ว ฯลฯ
นางสุภัทรา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังเสนอให้การรับบริการนั้นสามารถดำเนินการในสถานพยาบาลทุกแห่ง และขอให้ภาคประชาสังคมได้มาส่วนร่วมในการควบคุมมาตรฐานคุณภาพบริการ โดยให้แกนนำผู้ใช้ยาเกาะติดการบริการของศูนย์บริการทั้ง 111 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงเข้าไปพัฒนาระบบดังกล่าวด้วย โดยขอให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสนับสนุนงบประมาณบางส่วน เพื่อให้สะท้อนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ขณะเดียวกัน สปสช.ควรมีการกำหนดตัวชี้วัดคุณภาพและมาตรฐานบริการ
“ไม่เพียงเท่านี้ ควรประชาสัมพันธ์และจัดทำคู่มือการรับบริการสิทธิประโยชน์ดังกล่าวให้ผู้ใช้ยาได้รับรู้ถึงสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ และมีศูนย์ฮอตไลน์แจ้งเรื่องร้องเรียน พร้อมทั้งเสนอชื่อนักวิชาการเพื่อเข้าร่วมเป็นคณะทำงานด้านวิชาการ เพื่อพัฒนาแนวทางการให้บริการสารทดแทนเมธาโดนระยะยาวเข้าไปอยู่ในสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้แก่ นพ.สมสิทธิ์ ตันสุภสวัสดิกุล จากสถาบันบำราศนราดูร นพ.จรูญ จิตติวุฒิการ จาก จ.เชียงใหม่, ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ.ธนูรัตน์ พุทธชาด น.ส.มณฑิรา เมธา พยาบาลวิชาชีพ 7 ศูนย์บำบัดยาเสพติดภาคเหนือ เชียงใหม่” นางสุภัทรา กล่าว
ด้าน นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานประเภท ขอบเขตของการบริการสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จะรับข้อเสนอดังกล่าวของกลุ่มเครือข่ายคนทำงานด้านยาเสพติดไว้พิจารณา ทั้งนี้ ในเรื่องของสารเมธาโดนไม่ได้เป็นการเพิ่มสิทธิประโยชน์แต่อย่างใด เพียงแต่มีสิทธิประโยชน์นี้อยู่แล้ว แต่ไม่มีการบริการในทางปฏิบัติ ทางคณะอนุกรรมการจึงทำให้เกิดการปฏิบัติได้จริงเท่านั้น