การศึกษาครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาระบุวิตามินเสริมไม่สามารถป้องกันหญิงสูงวัยจากโรคหัวใจหรือมะเร็งได้อย่างคำกล่าวอ้าง
นักวิจัยมุ่งเน้นโรคมะเร็งและหัวใจโดยเฉพาะ เนื่องจากมีหลักฐานว่าอาหารที่อุดมด้วยวิตามินอาจช่วยปกป้องจากโรคเหล่านี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าวิตามินเสริมอาหารสามารถเป็นสารทดแทนที่ให้คุณประโยชน์ได้เหมือนกัน
“เราควรได้รับคุณค่าทางโภชนาการจากอาหาร เพราะอาหารจริงๆ ย่อมดีกว่าสารเสริมอาหาร” มาเรียน นิวเฮาเซอร์ จากสถาบันวิจัยมะเร็งเฟร็ด ฮัตชินสันในซีแอตเติล สหรัฐฯ ผู้นำการจัดทำรายงานการวิจัย แนะนำในรายงานที่อยู่ในอาร์ไคฟ์ส ออฟ อินเทอร์นอล เมดิซิน
ดร.โจแอนน์ แมนสัน หัวหน้าแผนกการป้องกันโรคของโรงพยาบาลบริกแฮม แอนด์ วีเมนส์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นผู้ร่วมจัดทำรายงาน กล่าวว่าแม้ผลลัพธ์ออกมาไม่ตรงกับสรรพคุณที่อวดอ้าง แต่งานวิจัยนี้ไม่ได้ต้องการสื่อว่าวิตามินรวมไม่มีประโยชน์ เนื่องจากข้อมูลที่ได้มาจากการสังเกตการณ์ ไม่ถือเป็นงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ขั้นสมบูรณ์ และยังไม่พบหลักฐานชัดเจนว่าการกินวิตามินช่วยปกป้องมะเร็งที่ใช้เวลาฟักตัวนานเป็นปีได้หรือไม่
แมนสันเสริมว่า วิตามินรวมอาจมีประโยชน์ในแง่ของหลักประกันสำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมการกินไม่ถูกสุขอนามัย
การศึกษานี้เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่เข้าร่วมการศึกษาระยะยาวเกี่ยวกับภาวะหลังวัยหมดประจำเดือน โดยเกือบ 42% ของผู้หญิงเหล่านี้บอกว่ากินวิตามินรวมเป็นประจำ
หลังผ่านไปแปดปี พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่กินวิตามินและไม่ได้กินวิตามินที่เป็นโรคมะเร็ง หัวใจวาย และปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจมีจำนวนพอๆ กัน โดยรวมแล้ว พบผู้เป็นมะเร็ง 9,619 ราย ซึ่งรวมถึงมะเร็งเต้านม ปอด รังไข่ กระเพาะอาหาร และลำไส้ใหญ่ และพบผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ 8,751 คน ซึ่งรวมถึงหัวใจวายและโรคเส้นเลือดสมอง
นอกจากนี้ ยังมีผู้หญิง 9,865 คนเสียชีวิต โดยมีสัดส่วนพอๆ กันระหว่างผู้ที่กินวิตามินรวมและไม่ได้กิน
อลิซ ลิกเทนสไตน์ ศาสตราจารย์ด้านโภชนาการจากมหาวิทยาลัยทัฟต์ส สหรัฐฯ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องด้วย มองว่าการวิจัยนี้มีความสำคัญเนื่องจากครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก และได้ผลลัพธ์ในแนวทางเดียวกับการศึกษาผลการใช้สารเสริมอาหารในผู้ชาย
อิริก จาค็อบส์ นักวิทยาการระบาดจากอเมริกัน แคนเซอร์ โซไซตี้ ขานรับว่ากลุ่มของตนไม่แนะนำให้ใช้วิตามินเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง แต่แนะนำให้ควบคุมน้ำหนักและกินผักและผลไม้อย่างน้อย 5 ส่วนต่อวัน ควบคู่ไปกับการจำกัดการกินเนื้อแดง ซึ่งเชื่อว่าช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้ด้วย
นักวิจัยมุ่งเน้นโรคมะเร็งและหัวใจโดยเฉพาะ เนื่องจากมีหลักฐานว่าอาหารที่อุดมด้วยวิตามินอาจช่วยปกป้องจากโรคเหล่านี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าวิตามินเสริมอาหารสามารถเป็นสารทดแทนที่ให้คุณประโยชน์ได้เหมือนกัน
“เราควรได้รับคุณค่าทางโภชนาการจากอาหาร เพราะอาหารจริงๆ ย่อมดีกว่าสารเสริมอาหาร” มาเรียน นิวเฮาเซอร์ จากสถาบันวิจัยมะเร็งเฟร็ด ฮัตชินสันในซีแอตเติล สหรัฐฯ ผู้นำการจัดทำรายงานการวิจัย แนะนำในรายงานที่อยู่ในอาร์ไคฟ์ส ออฟ อินเทอร์นอล เมดิซิน
ดร.โจแอนน์ แมนสัน หัวหน้าแผนกการป้องกันโรคของโรงพยาบาลบริกแฮม แอนด์ วีเมนส์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นผู้ร่วมจัดทำรายงาน กล่าวว่าแม้ผลลัพธ์ออกมาไม่ตรงกับสรรพคุณที่อวดอ้าง แต่งานวิจัยนี้ไม่ได้ต้องการสื่อว่าวิตามินรวมไม่มีประโยชน์ เนื่องจากข้อมูลที่ได้มาจากการสังเกตการณ์ ไม่ถือเป็นงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ขั้นสมบูรณ์ และยังไม่พบหลักฐานชัดเจนว่าการกินวิตามินช่วยปกป้องมะเร็งที่ใช้เวลาฟักตัวนานเป็นปีได้หรือไม่
แมนสันเสริมว่า วิตามินรวมอาจมีประโยชน์ในแง่ของหลักประกันสำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมการกินไม่ถูกสุขอนามัย
การศึกษานี้เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่เข้าร่วมการศึกษาระยะยาวเกี่ยวกับภาวะหลังวัยหมดประจำเดือน โดยเกือบ 42% ของผู้หญิงเหล่านี้บอกว่ากินวิตามินรวมเป็นประจำ
หลังผ่านไปแปดปี พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่กินวิตามินและไม่ได้กินวิตามินที่เป็นโรคมะเร็ง หัวใจวาย และปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจมีจำนวนพอๆ กัน โดยรวมแล้ว พบผู้เป็นมะเร็ง 9,619 ราย ซึ่งรวมถึงมะเร็งเต้านม ปอด รังไข่ กระเพาะอาหาร และลำไส้ใหญ่ และพบผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ 8,751 คน ซึ่งรวมถึงหัวใจวายและโรคเส้นเลือดสมอง
นอกจากนี้ ยังมีผู้หญิง 9,865 คนเสียชีวิต โดยมีสัดส่วนพอๆ กันระหว่างผู้ที่กินวิตามินรวมและไม่ได้กิน
อลิซ ลิกเทนสไตน์ ศาสตราจารย์ด้านโภชนาการจากมหาวิทยาลัยทัฟต์ส สหรัฐฯ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องด้วย มองว่าการวิจัยนี้มีความสำคัญเนื่องจากครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก และได้ผลลัพธ์ในแนวทางเดียวกับการศึกษาผลการใช้สารเสริมอาหารในผู้ชาย
อิริก จาค็อบส์ นักวิทยาการระบาดจากอเมริกัน แคนเซอร์ โซไซตี้ ขานรับว่ากลุ่มของตนไม่แนะนำให้ใช้วิตามินเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง แต่แนะนำให้ควบคุมน้ำหนักและกินผักและผลไม้อย่างน้อย 5 ส่วนต่อวัน ควบคู่ไปกับการจำกัดการกินเนื้อแดง ซึ่งเชื่อว่าช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้ด้วย