พัทลุง – จังหวัดพัทลุงเปิดศูนย์พัฒนาและเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงพัทลุง เพื่อเป็นการถ่ายทอด 4 กลยุทธ์สู่ความพอเพียง อย่างเป็นรูปธรรมแก่เกษตรกร และผู้สนใจ
วันนี้ (2 มิ.ย.) นายสำราญ สะรุโณ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สำนักวิจัย และพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า โครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และสร้างต้นแบบครัวเรือนเกษตรกรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาพร้อมกับเกษตรกร 11 ครัวเรือน 11 อาชีพการปลูกพืชในจังหวัดพัทลุง มาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน
โดยพบว่า 4 กลยุทธ์การพัฒนาที่จะนำไปสู่ความพอเพียงของครัวเรือนเกษตรกรได้แก่ ประการแรกคือ การสร้างหัวใจพอเพียง เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนักถึงการน้อมนำพระราชดำริ และปรัชญามาใช้ในชีวิต ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขลำดับแรกที่ต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในใจ, ประการที่ 2 เกษตรผสมผสานพอเพียง เป็นการทำการเกษตรที่หลากหลาย ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า ลดความเสียงและพอเพียงกับการดำรงชีพ โดยมีกิจกรรม 9 พืชผสมผสาน ปศุสัตว์ และประมง
ประการที่ 3 ภูมิปัญญาภิวัฒน์พอเพียง เป็นการสร้างกระบวนการทางความคิดโดยค้นหา พัฒนา ทดลอง และสร้างคุณค่าภูมิปัญญาทั้งทางด้านเกษตร และการใช้ชีวิตที่นำไปสู่การพึ่งตนเอง, ประการที่ 4 ดำรงชีพพอเพียง เป็นการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักแห่งความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน มีความรอบรู้ รอบคอบ และมีคุณธรรมความเพียร
นายสำราญยังกล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการถ่ายทอด 4 กลยุทธ์สู่ความพอเพียง อย่างเป็นรูปธรรมแก่เกษตรกร และผู้สนใจ จึงได้จัดการศึกษาดูงานและท่องเที่ยว ในงาน 36 ปี กรมวิชาการเกษตร วันวิชาการเกษตรก้าวหน้า พัฒนาการผลิตพืชให้พอเพียง และเปิดศูนย์พัฒนาและเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงพัทลุง ในวันที่ 28-29 กรกฎาคม 2552 ณ ศูนย์วิจัย และพัฒนาการเกษตรพัทลุง ริมทะเลสาบ ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ในพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ พร้อมกับการท่องเที่ยวดูงานวิชาการพันธุ์พืช การเพาะเห็ด เลี้ยงผึ้ง เครื่องจักรกลการเกษตร สารทดแทน วิชาการด้านพืชและเกษตรผสมผสานอื่นๆ อีกมากมาย
วันนี้ (2 มิ.ย.) นายสำราญ สะรุโณ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สำนักวิจัย และพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า โครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และสร้างต้นแบบครัวเรือนเกษตรกรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาพร้อมกับเกษตรกร 11 ครัวเรือน 11 อาชีพการปลูกพืชในจังหวัดพัทลุง มาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน
โดยพบว่า 4 กลยุทธ์การพัฒนาที่จะนำไปสู่ความพอเพียงของครัวเรือนเกษตรกรได้แก่ ประการแรกคือ การสร้างหัวใจพอเพียง เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนักถึงการน้อมนำพระราชดำริ และปรัชญามาใช้ในชีวิต ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขลำดับแรกที่ต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในใจ, ประการที่ 2 เกษตรผสมผสานพอเพียง เป็นการทำการเกษตรที่หลากหลาย ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า ลดความเสียงและพอเพียงกับการดำรงชีพ โดยมีกิจกรรม 9 พืชผสมผสาน ปศุสัตว์ และประมง
ประการที่ 3 ภูมิปัญญาภิวัฒน์พอเพียง เป็นการสร้างกระบวนการทางความคิดโดยค้นหา พัฒนา ทดลอง และสร้างคุณค่าภูมิปัญญาทั้งทางด้านเกษตร และการใช้ชีวิตที่นำไปสู่การพึ่งตนเอง, ประการที่ 4 ดำรงชีพพอเพียง เป็นการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักแห่งความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน มีความรอบรู้ รอบคอบ และมีคุณธรรมความเพียร
นายสำราญยังกล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการถ่ายทอด 4 กลยุทธ์สู่ความพอเพียง อย่างเป็นรูปธรรมแก่เกษตรกร และผู้สนใจ จึงได้จัดการศึกษาดูงานและท่องเที่ยว ในงาน 36 ปี กรมวิชาการเกษตร วันวิชาการเกษตรก้าวหน้า พัฒนาการผลิตพืชให้พอเพียง และเปิดศูนย์พัฒนาและเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงพัทลุง ในวันที่ 28-29 กรกฎาคม 2552 ณ ศูนย์วิจัย และพัฒนาการเกษตรพัทลุง ริมทะเลสาบ ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ในพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ พร้อมกับการท่องเที่ยวดูงานวิชาการพันธุ์พืช การเพาะเห็ด เลี้ยงผึ้ง เครื่องจักรกลการเกษตร สารทดแทน วิชาการด้านพืชและเกษตรผสมผสานอื่นๆ อีกมากมาย