คนวงการศึกษาหนุน “อภิสิทธิ์” ควบรมว.ศธ. เหตุเห็นความสำคัญของการศึกษา ชี้ชัดมี “ความหวัง” มากกว่ารัฐบาลชุดที่แล้ว ลั่นอย่าฟังข้าราชการให้มากจะเกิดปัญหา ด้านหมอชนบทรับได้ “เทอดพงษ์” คุมกระทรวงหมอ ไม่มีประวัติด่างพร้อย อายุมากไม่เป็นอุปสรรคหากสุขภาพดี ขอเน้นหลักธรรมาภิบาลบริหารงาน ด้านมูลนิธิผู้บริโภคหวังเห็นความเปลี่ยนแปลง ดึงคนนอกเป็นรมว.สธ. ชู “หมอวิชัย” เหมาะสม
นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ส่วนตัวสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ด้วย เนื่องจากมีข้อดีมากกว่าเสีย แม้ว่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอาจมีภารกิจอื่นให้ต้องดูแลแก้ไขปัญหาในช่วงนี้ไม่ว่าจะเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และท่องเที่ยวที่กำลังปั่นป่วน จนน่าห่วงว่าการศึกษาจะถูกลดความสำคัญลงหรือไม่
อย่างไรก็ตามปัญหานี้ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการศธ. สัก 2 คน และทีมงานที่ปรึกษาที่มาจากทุกส่วนในสังคม ช่วยขับเคลื่อนงานการศึกษา ส่วนนายอภิสิทธิ์ทำหน้าที่คอยชี้ขาดและตัดสินประเด็นการศึกษาที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศ ตลอดจนนโยบายหรือเรื่องสำคัญๆ ที่เป็นความเป็นความตาย
ทั้งนี้ การควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการศธ.ด้วย จะมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ข้อดีที่เห็นชัดเจนคือ ประเด็นการศึกษาซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่ได้รับการแก้ไขทางการเมืองในระดับต่ำมากและลุ่มๆ ดอนๆ ไม่ต่อเนื่องนั้น จะได้รับการแก้ไข ทำให้เกิดความชัดเจนและต่อเนื่องขึ้นโดยเฉพาะในช่วงการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 นี้ เพราะนายอภิสิทธิ์เคยประกาศอย่างชัดเจนแล้วว่า จะไม่เน้นเรื่องโครงสร้าง ระบบและกฎหมาย แต่จะเอาเรื่องคุณภาพการศึกษาของเด็กและเยาวชนเป็นตัวตั้ง เพียงแต่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ควรต้องกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจนในการขับเคลื่อนการศึกษา เพราะตนเชื่อว่ารัฐบาลจะมีอายุไม่เกิน 1 ปี เนื่องจากเสถียรภาพทางการเมืองไม่มั่นคง
นายสมพงษ์กล่าวต่อว่า ตนค่อนข้างให้กับความหวังกับรัฐบาลชุดนี้ถ้าเทียบกับชุดที่แล้วซึ่งไม่มีความหวังเลย เนื่องจากว่าที่นายกรัฐมนตรีคนนี้ เป็นคนให้ความสำคัญกับการศึกษา ถือว่าต้นทุนมาดี เข้าใจลึกซึ้งปัญหาการศึกษา ที่สำคัญผ่านงานการศึกษามามาก เคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การศึกษา ประธานคณะกรรมการยกร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการกำหนดนโยบายการศึกษาของพรรคปชป. ฉะนั้นนายอภิสิทธิ์ จะใช้เวลาในการเรียนรู้งานและการปรับตัวเข้ากับระบบราชการสั้นมากๆ เมื่อเทียบกับรัฐมนตรีว่าการศธ.ที่ผ่านๆ มา
“เข้าใจว่าคุณอภิสิทธิ์มาแล้ว จะเน้นเรื่องการศึกษาฟรี 14 ปี และจัดสรรนมให้เด็กได้ดื่มอย่างเพียงพอ แต่น่าหวั่นว่าจะทำได้จริงหรือไม่ เพราะทรัพยากรที่จะลงโรงเรียนกว่า 30,000 แห่ง จะหาจากที่ไหน ผมอยากให้มีการปฏิรูประบบทรัพยากรและการเงินของศธ. นอกเหนือจากการปฏิรูปการศึกษา เพราะถ้าทำได้สำเร็จ นโยบายเรื่องอื่นๆ ก็จะลงไปสู่โรงเรียนด้วย ส่วนนโยบายของรัฐบาลชุดก่อนที่ทำมา หลายเรื่องยังหลวมอยู่มาก คือ โครงการแจกคอมพิวเตอร์พกพาให้กับเด็ก หรือโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ก็เป็นเรื่องการเมือง ไม่ใช่เรื่องของหลักการ ดังนั้นอยากให้มีการตั้งวอร์รูมทีมที่ปรึกษาเพื่อปรับเรื่องนี้ให้มุ่งไปสู่คุณภาพ”
“ส่วนนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ตัวเต็งที่จะเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการศธ.นั้น นายชินวรณ์รู้เรื่องการศึกษา จึงอาจถึงเวลาที่ต้องขึ้นตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการศธ. แต่สิ่งที่นายชินวรณ์ยังขาดคือวิสัยทัศน์และผลงานที่ยังเห็นได้ไม่เด่นชัดนัก แม้จะทำหน้าที่ด้านการอภิปรายและแสดงความเห็นเรื่องการศึกษาได้ดี แต่เรื่องการบริหาร ตัดสินใจและวิสัยทัศน์ ยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามฝากว่าการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 อย่าฟังข้าราชการให้มาก แต่ขอให้ฟังคนภายนอกและพื้นที่มากกว่านี้” นายสมพงษ์ กล่าว
**จี้เร่งพัฒนาครู-ปฏิรูปการศึกษาใหม่
นายไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ม.ธุรกิจบัณฑิตย์(มธบ.) กล่าวว่า พรรคปชป.ได้แสดงความสนใจเรื่องการศึกษามาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อมีโอกาสแล้วก็อยากให้ลองทำดูจะได้พิสูจน์ฝีมือไปเลยว่าทำได้จริงหรือไม่ และหากนายอภิสิทธิ์นั่งควบรัฐมนตรีว่าการศธ.ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะสนใจและติดตามเรื่องของการศึกษามาตั้งแต่ต้น แต่คิดว่าคงจะไม่มีเวลามานั่งดูมากนัก ก็คงจะดูแลในเชิงนโยบายและแก้ปัญหาใหญ่ ๆ ให้ ดังนั้นก็น่าจะมีรัฐมนตรีช่วยว่าการศธ. 2 คน ที่อยู่พรรคเดียวกัน เพื่อจะได้กำหนดแนวทางนโยบายในเรื่องการศึกษาไปในทิศทางเดียวกัน
ทั้งนี้ ตนอยากให้พรรคปชป.เข้ามาดูเรื่องคุณภาพและความเท่าเทียมกันทางการศึกษาเพราะขณะนี้เป็นเรื่องใหญ่ และบ้านเมืองมีความแตกต่างทางการศึกษามาก จึงอยากให้ปชป.เน้นเรื่องนี้ให้มาก อย่างไรก็ตามไม่รู้ว่ารัฐบาลจะอยู่ได้ยาวแค่ไหน จึงอยากให้วางพื้นฐาน หลักเกณฑ์ แก้ไขกฎหมายให้ชัดเจนเพื่อช่วยผลักดันการศึกษาให้เดินหน้าไปได้ ส่วนการปฏิรูปการศึกษาใหม่ที่มีปัญหาอยู่มาก จะต้องระดมแนวคิดของคนที่มีความสนใจการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมให้มากๆ ไม่ใช่ระดมความคิดจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
“แม้จะมีการปฏิรูปการศึกษามาครั้งหนึ่งแล้วแต่ค่อนข้างจะไม่ได้ผล เพราะครูเองไม่ได้มีส่วนสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาในเชิงของการดำเนินการมากนัก ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จะต้องมาทำเรื่องการพัฒนาครูอย่างจริงจังขึ้นอีก” นายไพฑูรย์ กล่าว
ด้านนายวีรวัฒน์ วรรณศิริ อุปนายกฝ่ายบริหารสมาคมสภาการศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากนายอภิสิทธิ์ลงมาควบรัฐมนตรีว่าการศธ. เองก็เชื่อว่าทิศทางการศึกษาจะดี เพราะนายอภิสิทธิ์มีความตั้งใจเรื่องการศึกษา แต่ก็เกรงว่านายอภิสิทธิ์จะมีเวลาดูแลเรื่องการศึกษามากน้อยแค่ไหน เพราะสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ไม่ปกติ มีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและการเมืองที่ค่อนข้างรุนแรง ขณะที่เรื่องการศึกษาต้องเดินหน้า ดังนั้น นายอภิสิทธิ์คงต้องตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการศธ. 2 คน ที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้มาสนองนโยบาย ก็จะชดเชยไปได้ ไม่เช่นนั้นจะลำบากมาก
ทั้งนี้ ขอให้นายอภิสิทธิ์ช่วยสนับสนุนและผลักดันงานการศึกษาเอกชนให้เท่าเทียมกับภาครัฐ เพราะทุกรัฐบาลที่ผ่านมา แม้จะกำหนดนโยบายที่จะให้ความสำคัญภาคเอกชนเท่าเทียมกับภาครัฐ แต่เวลาปฏิบัติจริง ไม่ค่อยมีใครทำตามนโยบายที่วางไว้นัก
นายมานะ สุดสงวน ประธานที่ปรึกษาคณะมนตรีสหภาพครูแห่งชาติ กล่าวว่า ปัญหาเร่งด่วนที่องค์กรครูอยากฝากให้เร่งแก้ไขคือ ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ และปัญหาเศรษฐกิจที่ต้องรีบฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการส่งออก และนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ
สำหรับประเด็นการศึกษา ขอให้รัฐบาลเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 เพราะต้องรีบสร้างนักเรียน นักศึกษา ให้มีความรู้เท่าทันกับสถานการณ์ ที่สำคัญอยากเสนอรัฐบาลว่า ขอให้แต่งตั้งรัฐมนตรีจากคนนอกและโดยให้มีนักการเมืองน้อยที่สุด เพื่อให้รัฐบาลชุดนี้อยู่นาน
**คุณหญิงกษมา-อธิการฯมร.ฝากการบ้าน
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า หากนายอภิสิทธิ์จะเข้ามาดูแลศธ.ตามที่เคยให้สัมภาษณ์ไว้ ก็น่าจะสามารถพัฒนาการศึกษาโดยรวมให้ดีขึ้นได้ รวมถึงเรื่องการเรียนฟรี เพราะที่ผ่านมานายอภิสิทธิ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน และรัฐมนตรีว่าการศธ.เงา เคยทำหนังสือถึงนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการศธ.ในขณะนั้น ให้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาฟรี พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะมาด้วย ดังนั้นหากมาเป็นรัฐมนตรีว่าการศธ. ก็น่าจะสานต่องานนี้ได้
ด้านรศ.ดร.คิม ไชยแสนสุข อธิการบดี ม.รามคำแหง(มร.) กล่าวว่ารัฐบาลชุดใหม่มีผู้ที่มีความสามารถจำนวนมาก ดังนั้น ผู้ที่มาดำรงตำแหน่งรมว.ศึกษาธิการ ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งหากเป็นนายกรัฐมนตรีนั่งควบตำแหน่งรมว.ศึกษาธิการ คงเป็นการดี เพราะทำให้การดำเนินการนโยบายต่างๆ ของศธ. ดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว และบริหารงานได้คล่องตัวมากขึ้น พร้อมกันนี้ขอฝากให้ช่วยปรับเรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ใหม่ เพราะยุ่งยากมาก และเรื่องคุณภาพการศึกษา
**ปชป.ยังอุบไต๋เก้าอี้รมว.
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ กล่าวว่า ยังไม่ได้พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคปชป. และว่าที่นายกรัฐมนตรีว่านายอภิสิทธิ์ จะควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการศธ.และตนจะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการศธ. ตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้หรือไม่ คงต้องขอหารือกับนายอภิสิทธิ์และพรรคอีกครั้งแล้วจะแจ้งอีกที แต่ยืนยันได้เลยว่าพรรคปชป.ให้ความสำคัญกับการศึกษามาเป็นอันดับแรกมาโดยตลอด
**หมอชนบทรับได้ “เทอดพงษ์” คุมสธ.
ส่วนที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นั้น ขณะนี้กระแสข่าวแพร่สะพัดว่า นายเทอดพงษ์ ไชยนันท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ จะเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคาดเดาจากการวางตัวนายเทอดพงษ์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(เงา) ในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช
นพ.พงษ์เทพ วงศ์วชิรไพบูลย์ เลขานุการมูลนิธิแพทย์ชนบทและอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า นายเทอดพงษ์ เคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อประมาณ 20 ปี ที่แล้ว ในสมัยที่นพ.ไพโรจน์ นิงสานนท์ เป็นปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งถือว่า เป็นบุคคลหนึ่งที่มีประวัติไม่ด่างพร้อย ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งก็ทำงานได้ดี โดยช่วยสนับสนุนงานด้านสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์มาก
“ปลัดสธ.ช่วงนั้นก็ดีเยี่ยม มีการทำงานเต็มที่ เมื่อรัฐมนตรีมาถึงก็มีส่วนสนับสนุนข้าราชการให้ทำงานได้เต็มที่ยิ่งขึ้น ถือเป็นชุดที่ทำงานด้วยระบบคุณธรรม จริยธรรม แต่ช่วงหลังตั้งแต่มีคดีทุจริตยาของนายรักเกียรติ สุทธนะ ทำให้ระบบคุณธรรมจริยธรรมทีมีมานานแย่ลง เพราะข้าราชการต้องสยบยอมให้นักการเมืองที่ไม่ดีทำให้มีข้าราชการแย่ๆ ขึ้นมาบริหารกระทรวง”นพ.พงษ์เทพกล่าว
นพ.พงษ์เทพ กล่าวต่อว่า ส่วนการที่นายเทอดพงษ์ มีอายุค่อนข้างมาก ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะผู้อาวุโสหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็นรพ.ประเวศ วะสี นพ.บรรลุ ศิริพานิช ล้วนเป็นบุคคลที่มีอายุมาก แต่ประสิทธิภาพการทำงานยังดีเยี่ยม มีความนิ่ง รอบคอบ สามารถใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ดังนั้นเรื่องอายุอาจไม่เป็นอุปสรรค หากไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพหรือหลงลืม ที่สำคัญคือ ขอให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมีความตั้งใจในการทำงาน ยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นใคร หรือมีอายุเท่าไหร่ ก็ไม่มีปัญหา
“เราเป็นหมอรักษาคนไข้ ใครจะมาเป็นรัฐมนตรีก็ได้อยู่แล้ว ทุกรูปแบบ ไม่มีอคติก่อน จนกว่าผลงานหรือสิ่งที่ออกมาจะไม่เข้าท่า สร้างความเสียหาย จึงออกมาเรียกร้องคัดค้าน อย่างกรณีของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ยังไม่เคยมีการตั้งแง่รังเกียจเลย คงต้องดูไปตามเนื้อผ้า”นพ.พงษ์เทพกล่าว
**มูลนิธิผู้บริโภค ชู “หมอวิชัย” เหมาะสม
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิผู้บริโภค กล่าวว่า ในช่วงที่บ้านเมืองเกิดภาวะวิกฤตทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ อยากให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่กล้าพอที่จะตัดสินใจทำซีแอลต่อไป หรือกล้าที่จะแก้ปัญหาการฟ้องร้องระหว่างแพทย์กับคนไข้ไม่ให้ขัดแย้งกัน หรือมีนโยบาย เช่น นโยบายบำนาญแห่งชาติ ซึ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจควรจะ เน้นสวัสดิการประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วม
“ส่วนตัวหากเป็นนายเทอดพงษ์ ก็ไม่มีปัญหา แต่อยากให้พรรคปชป.คิดนอกกรอบบ้างจึงจะขอเสนอ นพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข ซึ่งมาจากคนนอก โดนเชื่อว่า นพ.วิชัยจะเป็นที่สามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวงการสาธารณสุข และที่ผ่านมาไม่เคยมีปัญหาเรื่องผลประโยชน์น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่ง อยากเห็นพรรคการเมืองหาผู้ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง ไม่ควรยึดแต่นักการเมือง หรือพรรคการเมืองอย่างเดียว เรามีวิธีคิดและมองต่างไปจากอดีตได้ อยากให้นายอภิสิทธิ์เริ่มเปลี่ยนตั้งตั้งแต่การคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็นรัฐมนตรีเลย”
น.ส.สารี กล่าวต่อว่า นายอภิสิทธิ์น่าจะนำความเปลี่ยนเหมือนที่นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ทำให้คนอเมริกันเกิดความรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง กล้าหาญ เช่น การเพิ่มสวัสดิการให้กับคนชนชั้นกลางและคนจน โดยเก็บเงินคนรวย ซึ่งหากรัฐบาลทำแต่เรื่องดีๆ ไม่ต้องกังวลเลยว่า รัฐบาลจะมีอายุยาวหรือสั้นหากทำเรื่องที่ประชาชนต้องการ แต่อย่าทำทุกเรื่องเป็นเรื่องการเมืองหมด
ขณะที่นพ.วินัย สวัสดิวรเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาก็เปลี่ยนรัฐมนตรีมา 3 ครั้ง คงจะต้องปรับตัวอีก แต่ไม่ว่ารัฐมนตรีใหม่จะเป็นใครก็ไม่น่าจะมีปัญหาต่อการทำงานของสปสช. แต่หากถามว่า อยากได้รัฐมนตรีแบบไหน คงเป็นรัฐมนตรีที่มีความเข้าใจงานระบบประกันสุขภาพสามารถช่วยผลักดันโครงการต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องพิจารณางบประมาณ จึงอยากให้รัฐมนตรีคนใหม่ผลักดันให้ได้รับงบประมาณเพิ่มมากขึ้น
นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ส่วนตัวสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ด้วย เนื่องจากมีข้อดีมากกว่าเสีย แม้ว่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอาจมีภารกิจอื่นให้ต้องดูแลแก้ไขปัญหาในช่วงนี้ไม่ว่าจะเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และท่องเที่ยวที่กำลังปั่นป่วน จนน่าห่วงว่าการศึกษาจะถูกลดความสำคัญลงหรือไม่
อย่างไรก็ตามปัญหานี้ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการศธ. สัก 2 คน และทีมงานที่ปรึกษาที่มาจากทุกส่วนในสังคม ช่วยขับเคลื่อนงานการศึกษา ส่วนนายอภิสิทธิ์ทำหน้าที่คอยชี้ขาดและตัดสินประเด็นการศึกษาที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศ ตลอดจนนโยบายหรือเรื่องสำคัญๆ ที่เป็นความเป็นความตาย
ทั้งนี้ การควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการศธ.ด้วย จะมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ข้อดีที่เห็นชัดเจนคือ ประเด็นการศึกษาซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่ได้รับการแก้ไขทางการเมืองในระดับต่ำมากและลุ่มๆ ดอนๆ ไม่ต่อเนื่องนั้น จะได้รับการแก้ไข ทำให้เกิดความชัดเจนและต่อเนื่องขึ้นโดยเฉพาะในช่วงการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 นี้ เพราะนายอภิสิทธิ์เคยประกาศอย่างชัดเจนแล้วว่า จะไม่เน้นเรื่องโครงสร้าง ระบบและกฎหมาย แต่จะเอาเรื่องคุณภาพการศึกษาของเด็กและเยาวชนเป็นตัวตั้ง เพียงแต่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ควรต้องกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจนในการขับเคลื่อนการศึกษา เพราะตนเชื่อว่ารัฐบาลจะมีอายุไม่เกิน 1 ปี เนื่องจากเสถียรภาพทางการเมืองไม่มั่นคง
นายสมพงษ์กล่าวต่อว่า ตนค่อนข้างให้กับความหวังกับรัฐบาลชุดนี้ถ้าเทียบกับชุดที่แล้วซึ่งไม่มีความหวังเลย เนื่องจากว่าที่นายกรัฐมนตรีคนนี้ เป็นคนให้ความสำคัญกับการศึกษา ถือว่าต้นทุนมาดี เข้าใจลึกซึ้งปัญหาการศึกษา ที่สำคัญผ่านงานการศึกษามามาก เคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การศึกษา ประธานคณะกรรมการยกร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการกำหนดนโยบายการศึกษาของพรรคปชป. ฉะนั้นนายอภิสิทธิ์ จะใช้เวลาในการเรียนรู้งานและการปรับตัวเข้ากับระบบราชการสั้นมากๆ เมื่อเทียบกับรัฐมนตรีว่าการศธ.ที่ผ่านๆ มา
“เข้าใจว่าคุณอภิสิทธิ์มาแล้ว จะเน้นเรื่องการศึกษาฟรี 14 ปี และจัดสรรนมให้เด็กได้ดื่มอย่างเพียงพอ แต่น่าหวั่นว่าจะทำได้จริงหรือไม่ เพราะทรัพยากรที่จะลงโรงเรียนกว่า 30,000 แห่ง จะหาจากที่ไหน ผมอยากให้มีการปฏิรูประบบทรัพยากรและการเงินของศธ. นอกเหนือจากการปฏิรูปการศึกษา เพราะถ้าทำได้สำเร็จ นโยบายเรื่องอื่นๆ ก็จะลงไปสู่โรงเรียนด้วย ส่วนนโยบายของรัฐบาลชุดก่อนที่ทำมา หลายเรื่องยังหลวมอยู่มาก คือ โครงการแจกคอมพิวเตอร์พกพาให้กับเด็ก หรือโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ก็เป็นเรื่องการเมือง ไม่ใช่เรื่องของหลักการ ดังนั้นอยากให้มีการตั้งวอร์รูมทีมที่ปรึกษาเพื่อปรับเรื่องนี้ให้มุ่งไปสู่คุณภาพ”
“ส่วนนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ตัวเต็งที่จะเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการศธ.นั้น นายชินวรณ์รู้เรื่องการศึกษา จึงอาจถึงเวลาที่ต้องขึ้นตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการศธ. แต่สิ่งที่นายชินวรณ์ยังขาดคือวิสัยทัศน์และผลงานที่ยังเห็นได้ไม่เด่นชัดนัก แม้จะทำหน้าที่ด้านการอภิปรายและแสดงความเห็นเรื่องการศึกษาได้ดี แต่เรื่องการบริหาร ตัดสินใจและวิสัยทัศน์ ยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามฝากว่าการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 อย่าฟังข้าราชการให้มาก แต่ขอให้ฟังคนภายนอกและพื้นที่มากกว่านี้” นายสมพงษ์ กล่าว
**จี้เร่งพัฒนาครู-ปฏิรูปการศึกษาใหม่
นายไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ม.ธุรกิจบัณฑิตย์(มธบ.) กล่าวว่า พรรคปชป.ได้แสดงความสนใจเรื่องการศึกษามาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อมีโอกาสแล้วก็อยากให้ลองทำดูจะได้พิสูจน์ฝีมือไปเลยว่าทำได้จริงหรือไม่ และหากนายอภิสิทธิ์นั่งควบรัฐมนตรีว่าการศธ.ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะสนใจและติดตามเรื่องของการศึกษามาตั้งแต่ต้น แต่คิดว่าคงจะไม่มีเวลามานั่งดูมากนัก ก็คงจะดูแลในเชิงนโยบายและแก้ปัญหาใหญ่ ๆ ให้ ดังนั้นก็น่าจะมีรัฐมนตรีช่วยว่าการศธ. 2 คน ที่อยู่พรรคเดียวกัน เพื่อจะได้กำหนดแนวทางนโยบายในเรื่องการศึกษาไปในทิศทางเดียวกัน
ทั้งนี้ ตนอยากให้พรรคปชป.เข้ามาดูเรื่องคุณภาพและความเท่าเทียมกันทางการศึกษาเพราะขณะนี้เป็นเรื่องใหญ่ และบ้านเมืองมีความแตกต่างทางการศึกษามาก จึงอยากให้ปชป.เน้นเรื่องนี้ให้มาก อย่างไรก็ตามไม่รู้ว่ารัฐบาลจะอยู่ได้ยาวแค่ไหน จึงอยากให้วางพื้นฐาน หลักเกณฑ์ แก้ไขกฎหมายให้ชัดเจนเพื่อช่วยผลักดันการศึกษาให้เดินหน้าไปได้ ส่วนการปฏิรูปการศึกษาใหม่ที่มีปัญหาอยู่มาก จะต้องระดมแนวคิดของคนที่มีความสนใจการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมให้มากๆ ไม่ใช่ระดมความคิดจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
“แม้จะมีการปฏิรูปการศึกษามาครั้งหนึ่งแล้วแต่ค่อนข้างจะไม่ได้ผล เพราะครูเองไม่ได้มีส่วนสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาในเชิงของการดำเนินการมากนัก ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จะต้องมาทำเรื่องการพัฒนาครูอย่างจริงจังขึ้นอีก” นายไพฑูรย์ กล่าว
ด้านนายวีรวัฒน์ วรรณศิริ อุปนายกฝ่ายบริหารสมาคมสภาการศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากนายอภิสิทธิ์ลงมาควบรัฐมนตรีว่าการศธ. เองก็เชื่อว่าทิศทางการศึกษาจะดี เพราะนายอภิสิทธิ์มีความตั้งใจเรื่องการศึกษา แต่ก็เกรงว่านายอภิสิทธิ์จะมีเวลาดูแลเรื่องการศึกษามากน้อยแค่ไหน เพราะสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ไม่ปกติ มีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและการเมืองที่ค่อนข้างรุนแรง ขณะที่เรื่องการศึกษาต้องเดินหน้า ดังนั้น นายอภิสิทธิ์คงต้องตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการศธ. 2 คน ที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้มาสนองนโยบาย ก็จะชดเชยไปได้ ไม่เช่นนั้นจะลำบากมาก
ทั้งนี้ ขอให้นายอภิสิทธิ์ช่วยสนับสนุนและผลักดันงานการศึกษาเอกชนให้เท่าเทียมกับภาครัฐ เพราะทุกรัฐบาลที่ผ่านมา แม้จะกำหนดนโยบายที่จะให้ความสำคัญภาคเอกชนเท่าเทียมกับภาครัฐ แต่เวลาปฏิบัติจริง ไม่ค่อยมีใครทำตามนโยบายที่วางไว้นัก
นายมานะ สุดสงวน ประธานที่ปรึกษาคณะมนตรีสหภาพครูแห่งชาติ กล่าวว่า ปัญหาเร่งด่วนที่องค์กรครูอยากฝากให้เร่งแก้ไขคือ ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ และปัญหาเศรษฐกิจที่ต้องรีบฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการส่งออก และนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ
สำหรับประเด็นการศึกษา ขอให้รัฐบาลเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 เพราะต้องรีบสร้างนักเรียน นักศึกษา ให้มีความรู้เท่าทันกับสถานการณ์ ที่สำคัญอยากเสนอรัฐบาลว่า ขอให้แต่งตั้งรัฐมนตรีจากคนนอกและโดยให้มีนักการเมืองน้อยที่สุด เพื่อให้รัฐบาลชุดนี้อยู่นาน
**คุณหญิงกษมา-อธิการฯมร.ฝากการบ้าน
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า หากนายอภิสิทธิ์จะเข้ามาดูแลศธ.ตามที่เคยให้สัมภาษณ์ไว้ ก็น่าจะสามารถพัฒนาการศึกษาโดยรวมให้ดีขึ้นได้ รวมถึงเรื่องการเรียนฟรี เพราะที่ผ่านมานายอภิสิทธิ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน และรัฐมนตรีว่าการศธ.เงา เคยทำหนังสือถึงนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการศธ.ในขณะนั้น ให้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาฟรี พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะมาด้วย ดังนั้นหากมาเป็นรัฐมนตรีว่าการศธ. ก็น่าจะสานต่องานนี้ได้
ด้านรศ.ดร.คิม ไชยแสนสุข อธิการบดี ม.รามคำแหง(มร.) กล่าวว่ารัฐบาลชุดใหม่มีผู้ที่มีความสามารถจำนวนมาก ดังนั้น ผู้ที่มาดำรงตำแหน่งรมว.ศึกษาธิการ ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งหากเป็นนายกรัฐมนตรีนั่งควบตำแหน่งรมว.ศึกษาธิการ คงเป็นการดี เพราะทำให้การดำเนินการนโยบายต่างๆ ของศธ. ดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว และบริหารงานได้คล่องตัวมากขึ้น พร้อมกันนี้ขอฝากให้ช่วยปรับเรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ใหม่ เพราะยุ่งยากมาก และเรื่องคุณภาพการศึกษา
**ปชป.ยังอุบไต๋เก้าอี้รมว.
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ กล่าวว่า ยังไม่ได้พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคปชป. และว่าที่นายกรัฐมนตรีว่านายอภิสิทธิ์ จะควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการศธ.และตนจะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการศธ. ตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้หรือไม่ คงต้องขอหารือกับนายอภิสิทธิ์และพรรคอีกครั้งแล้วจะแจ้งอีกที แต่ยืนยันได้เลยว่าพรรคปชป.ให้ความสำคัญกับการศึกษามาเป็นอันดับแรกมาโดยตลอด
**หมอชนบทรับได้ “เทอดพงษ์” คุมสธ.
ส่วนที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นั้น ขณะนี้กระแสข่าวแพร่สะพัดว่า นายเทอดพงษ์ ไชยนันท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ จะเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคาดเดาจากการวางตัวนายเทอดพงษ์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(เงา) ในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช
นพ.พงษ์เทพ วงศ์วชิรไพบูลย์ เลขานุการมูลนิธิแพทย์ชนบทและอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า นายเทอดพงษ์ เคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อประมาณ 20 ปี ที่แล้ว ในสมัยที่นพ.ไพโรจน์ นิงสานนท์ เป็นปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งถือว่า เป็นบุคคลหนึ่งที่มีประวัติไม่ด่างพร้อย ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งก็ทำงานได้ดี โดยช่วยสนับสนุนงานด้านสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์มาก
“ปลัดสธ.ช่วงนั้นก็ดีเยี่ยม มีการทำงานเต็มที่ เมื่อรัฐมนตรีมาถึงก็มีส่วนสนับสนุนข้าราชการให้ทำงานได้เต็มที่ยิ่งขึ้น ถือเป็นชุดที่ทำงานด้วยระบบคุณธรรม จริยธรรม แต่ช่วงหลังตั้งแต่มีคดีทุจริตยาของนายรักเกียรติ สุทธนะ ทำให้ระบบคุณธรรมจริยธรรมทีมีมานานแย่ลง เพราะข้าราชการต้องสยบยอมให้นักการเมืองที่ไม่ดีทำให้มีข้าราชการแย่ๆ ขึ้นมาบริหารกระทรวง”นพ.พงษ์เทพกล่าว
นพ.พงษ์เทพ กล่าวต่อว่า ส่วนการที่นายเทอดพงษ์ มีอายุค่อนข้างมาก ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะผู้อาวุโสหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็นรพ.ประเวศ วะสี นพ.บรรลุ ศิริพานิช ล้วนเป็นบุคคลที่มีอายุมาก แต่ประสิทธิภาพการทำงานยังดีเยี่ยม มีความนิ่ง รอบคอบ สามารถใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ดังนั้นเรื่องอายุอาจไม่เป็นอุปสรรค หากไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพหรือหลงลืม ที่สำคัญคือ ขอให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมีความตั้งใจในการทำงาน ยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นใคร หรือมีอายุเท่าไหร่ ก็ไม่มีปัญหา
“เราเป็นหมอรักษาคนไข้ ใครจะมาเป็นรัฐมนตรีก็ได้อยู่แล้ว ทุกรูปแบบ ไม่มีอคติก่อน จนกว่าผลงานหรือสิ่งที่ออกมาจะไม่เข้าท่า สร้างความเสียหาย จึงออกมาเรียกร้องคัดค้าน อย่างกรณีของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ยังไม่เคยมีการตั้งแง่รังเกียจเลย คงต้องดูไปตามเนื้อผ้า”นพ.พงษ์เทพกล่าว
**มูลนิธิผู้บริโภค ชู “หมอวิชัย” เหมาะสม
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิผู้บริโภค กล่าวว่า ในช่วงที่บ้านเมืองเกิดภาวะวิกฤตทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ อยากให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่กล้าพอที่จะตัดสินใจทำซีแอลต่อไป หรือกล้าที่จะแก้ปัญหาการฟ้องร้องระหว่างแพทย์กับคนไข้ไม่ให้ขัดแย้งกัน หรือมีนโยบาย เช่น นโยบายบำนาญแห่งชาติ ซึ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจควรจะ เน้นสวัสดิการประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วม
“ส่วนตัวหากเป็นนายเทอดพงษ์ ก็ไม่มีปัญหา แต่อยากให้พรรคปชป.คิดนอกกรอบบ้างจึงจะขอเสนอ นพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข ซึ่งมาจากคนนอก โดนเชื่อว่า นพ.วิชัยจะเป็นที่สามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวงการสาธารณสุข และที่ผ่านมาไม่เคยมีปัญหาเรื่องผลประโยชน์น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่ง อยากเห็นพรรคการเมืองหาผู้ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง ไม่ควรยึดแต่นักการเมือง หรือพรรคการเมืองอย่างเดียว เรามีวิธีคิดและมองต่างไปจากอดีตได้ อยากให้นายอภิสิทธิ์เริ่มเปลี่ยนตั้งตั้งแต่การคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็นรัฐมนตรีเลย”
น.ส.สารี กล่าวต่อว่า นายอภิสิทธิ์น่าจะนำความเปลี่ยนเหมือนที่นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ทำให้คนอเมริกันเกิดความรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง กล้าหาญ เช่น การเพิ่มสวัสดิการให้กับคนชนชั้นกลางและคนจน โดยเก็บเงินคนรวย ซึ่งหากรัฐบาลทำแต่เรื่องดีๆ ไม่ต้องกังวลเลยว่า รัฐบาลจะมีอายุยาวหรือสั้นหากทำเรื่องที่ประชาชนต้องการ แต่อย่าทำทุกเรื่องเป็นเรื่องการเมืองหมด
ขณะที่นพ.วินัย สวัสดิวรเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาก็เปลี่ยนรัฐมนตรีมา 3 ครั้ง คงจะต้องปรับตัวอีก แต่ไม่ว่ารัฐมนตรีใหม่จะเป็นใครก็ไม่น่าจะมีปัญหาต่อการทำงานของสปสช. แต่หากถามว่า อยากได้รัฐมนตรีแบบไหน คงเป็นรัฐมนตรีที่มีความเข้าใจงานระบบประกันสุขภาพสามารถช่วยผลักดันโครงการต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องพิจารณางบประมาณ จึงอยากให้รัฐมนตรีคนใหม่ผลักดันให้ได้รับงบประมาณเพิ่มมากขึ้น