“จิตรนรา” แย้มแผนฟื้นฟูองค์การค้าฯ เสนอกรรมการ ธันวา นี้ เน้น “ลดรายจ่าย-หาช่องเพิ่มรายได้” และระดมเงินจากสมาชิก สกสค.เพื่อลดหนี้ พร้อมโอนหนี้มาแบงก์ออมสิน เตรียมปรับโฉมโรงพิมพ์ให้ทันสมัย ลดกำลังคนให้เหมาะกับงาน แถมใช้กลยุทธ์ขายตรงถึงโรงเรียน ยันไม่ได้ทิ้งตัวแทนจำหน่าย
นายจิตรนรา นวรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ฝ่ายกฎหมายขององค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดทำแผนฟื้นฟูองค์การค้าฯ กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำแผนฟื้นฟูองค์การค้าฯ ว่า ขณะนี้คณะกรรมการได้วิเคราะห์ พร้อมกับวางแนวทางฟื้นฟูองค์การค้าฯ 6 ประเด็น ได้แก่ 1.สถานภาพพนักงานขององค์การค้าฯ บุคลากรส่วนหนึ่งเป็นของ สกสค.แต่ไม่มีฐานะเป็นข้าราชการ จึงน่าจะมีสถานภาพเป็นลูกจ้าง ซึ่งเรื่องนี้จะเสนอ สกสค.ให้ส่งเรื่องดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ เพื่อสรุปสถานภาพของพนักงานขององค์การค้าฯให้ชัดเจน ถ้าผลการตีความสรุปว่าพนักงานองค์การค้าฯ มีสถานภาพเป็นข้าราชการ จะมีผลผูกพันต่อหน่วยงานรัฐอื่นๆ เช่น สำนักงบประมาณจะต้องตั้งงบประมาณ เพื่อนำมาใช้บริหาร จ่ายเงินเดือน และแปรสถานะขององค์การค้าฯใหม่ หากไม่ใช่องค์การค้าจะต้องหาเงินมาจ่ายให้พนักงานเหล่านี้
2.ปัญหาการขาดทุนขององค์การค้าฯที่สะสมมากว่า 10 ปี ส่งผลให้มีหนี้สินกว่า 2,000 ล้านบาท ปัญหานี้เกิดจากการบริหารงานผิดพลาด ไม่โปร่งใส เช่น การใช้เงินสดจำนวนมากซื้อสินค้ามาสต๊อกไว้ แทนที่จะรับสินค้ามาขายเท่านั้น และขายสินค้าที่ไม่ถนัด 3.การลดรายจ่าย และภาระดอกเบี้ย โดยจะระดมเงินสดจากครูที่เป็นสมาชิก สกสค.แล้วนำเงินมาจ่ายหนี้เพื่อลดดอกเบี้ย จะมีมาตรการจูงใจโดยครูจะได้รับเงินปันผลอาจจะร้อยละ 2-3 และซื้อสินค้าได้ส่วนลดพิเศษ รวมทั้งหาแหล่งเงินกู้ใหม่โดยย้ายเงินกู้จากธนาคารต่างๆ ที่คิดดอกเบี้ยสูงมาไว้ที่ธนาคารออมสินแห่งเดียว เพื่อลดดอกเบี้ยเงินกู้
นายจิตนรา กล่าวอีกว่า องค์การค้าฯ มีงานพิมพ์ตำราเรียนจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงก่อนเปิดเทอมเพราะต้องพิมพ์ให้ทันเปิดเทอม หลังจากนั้นงานพิมพ์จะมีน้อย จึงมีแนวคิดที่ปรับขนาดโรงพิมพ์ จำนวนเครื่องพิมพ์และจำนวนพนักงานให้ทันสมัยและเหมาะสม ซึ่งขณะนี้พนักงานองค์การค้าฯ มี 1,900 คน หากเทียบกับปริมาณงานจะเกินกว่างาน 300-400 คน จึงจะหาวิธีลดจำนวนพนักงานด้วยการเออร์ลีรีไทร์แต่ให้สมัครใจ ไม่มีการไล่ออก ซึ่งจะหารือกันระหว่าง สกสค.องค์การค้าฯ และสหภาพพนักงานองค์การค้าฯ เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน
4.การเพิ่มรายได้ เช่น ขายตรงกับโรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชน ปรับรูปแบบการขายจากเดิมขายเงินสด เป็นสินเชื่อแก่ลูกค้าที่มีหลักประกัน นอกจากนี้ จะจัดระบบตัวแทนจำหน่ายใหม่ แต่ไม่ได้ยกเลิกตัวแทนจำหน่ายรายเดิม 5.การพัฒนาทรัพย์สินและที่ดินขององค์การค้าฯ เพื่อให้เกิดรายได้ เช่น ที่ดินโรงพิมพ์ลาดพร้าว 49 ไร่ จะพัฒนาให้เป็นโรงพิมพ์ควบคู่กับการทำธุรกิจด้านการศึกษาเช่น ขายตำราเรียน สื่อการสอน ที่ดินซอยสายลม 3-4 ไร่ จะทำเป็นที่พักหรือโรงแรมแห่งใหม่ของครู และที่ดิน จ.ร้อยเอ็ด 40-50 ไร่ จะทำเป็นบ้านพักให้ครูและบุคคลากรทางการศึกษา ส่วนจะขายหรือให้เช่านั้นค่อยมาหาข้อสรุปอีกครั้ง
6.การขยายโอกาสทางการค้า จะพัฒนาโรงพิมพ์ให้ทันสมัยและนำแท่นพิมพ์รุ่นใหม่เข้าแทนแท่นพิมพ์รุ่นเก่า ซึ่งมีปัญหาเครื่องเก่าและชำรุดจำนวนมาก ทำให้งานพิมพ์ล่าช้ากว่าเอกชน 3 เท่า ทั้งนี้ จะใช้วิธีซื้อแบบผ่อนส่งหรือเช่าเครื่องพิมพ์ จะได้ไม่ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการจะสรุปแผนฟื้นฟูองค์การค้าฯเสนอคณะกรรมการองค์การค้าฯ ภายในเดือนธันวาคมนี้
นายจิตรนรา นวรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ฝ่ายกฎหมายขององค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดทำแผนฟื้นฟูองค์การค้าฯ กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำแผนฟื้นฟูองค์การค้าฯ ว่า ขณะนี้คณะกรรมการได้วิเคราะห์ พร้อมกับวางแนวทางฟื้นฟูองค์การค้าฯ 6 ประเด็น ได้แก่ 1.สถานภาพพนักงานขององค์การค้าฯ บุคลากรส่วนหนึ่งเป็นของ สกสค.แต่ไม่มีฐานะเป็นข้าราชการ จึงน่าจะมีสถานภาพเป็นลูกจ้าง ซึ่งเรื่องนี้จะเสนอ สกสค.ให้ส่งเรื่องดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ เพื่อสรุปสถานภาพของพนักงานขององค์การค้าฯให้ชัดเจน ถ้าผลการตีความสรุปว่าพนักงานองค์การค้าฯ มีสถานภาพเป็นข้าราชการ จะมีผลผูกพันต่อหน่วยงานรัฐอื่นๆ เช่น สำนักงบประมาณจะต้องตั้งงบประมาณ เพื่อนำมาใช้บริหาร จ่ายเงินเดือน และแปรสถานะขององค์การค้าฯใหม่ หากไม่ใช่องค์การค้าจะต้องหาเงินมาจ่ายให้พนักงานเหล่านี้
2.ปัญหาการขาดทุนขององค์การค้าฯที่สะสมมากว่า 10 ปี ส่งผลให้มีหนี้สินกว่า 2,000 ล้านบาท ปัญหานี้เกิดจากการบริหารงานผิดพลาด ไม่โปร่งใส เช่น การใช้เงินสดจำนวนมากซื้อสินค้ามาสต๊อกไว้ แทนที่จะรับสินค้ามาขายเท่านั้น และขายสินค้าที่ไม่ถนัด 3.การลดรายจ่าย และภาระดอกเบี้ย โดยจะระดมเงินสดจากครูที่เป็นสมาชิก สกสค.แล้วนำเงินมาจ่ายหนี้เพื่อลดดอกเบี้ย จะมีมาตรการจูงใจโดยครูจะได้รับเงินปันผลอาจจะร้อยละ 2-3 และซื้อสินค้าได้ส่วนลดพิเศษ รวมทั้งหาแหล่งเงินกู้ใหม่โดยย้ายเงินกู้จากธนาคารต่างๆ ที่คิดดอกเบี้ยสูงมาไว้ที่ธนาคารออมสินแห่งเดียว เพื่อลดดอกเบี้ยเงินกู้
นายจิตนรา กล่าวอีกว่า องค์การค้าฯ มีงานพิมพ์ตำราเรียนจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงก่อนเปิดเทอมเพราะต้องพิมพ์ให้ทันเปิดเทอม หลังจากนั้นงานพิมพ์จะมีน้อย จึงมีแนวคิดที่ปรับขนาดโรงพิมพ์ จำนวนเครื่องพิมพ์และจำนวนพนักงานให้ทันสมัยและเหมาะสม ซึ่งขณะนี้พนักงานองค์การค้าฯ มี 1,900 คน หากเทียบกับปริมาณงานจะเกินกว่างาน 300-400 คน จึงจะหาวิธีลดจำนวนพนักงานด้วยการเออร์ลีรีไทร์แต่ให้สมัครใจ ไม่มีการไล่ออก ซึ่งจะหารือกันระหว่าง สกสค.องค์การค้าฯ และสหภาพพนักงานองค์การค้าฯ เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน
4.การเพิ่มรายได้ เช่น ขายตรงกับโรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชน ปรับรูปแบบการขายจากเดิมขายเงินสด เป็นสินเชื่อแก่ลูกค้าที่มีหลักประกัน นอกจากนี้ จะจัดระบบตัวแทนจำหน่ายใหม่ แต่ไม่ได้ยกเลิกตัวแทนจำหน่ายรายเดิม 5.การพัฒนาทรัพย์สินและที่ดินขององค์การค้าฯ เพื่อให้เกิดรายได้ เช่น ที่ดินโรงพิมพ์ลาดพร้าว 49 ไร่ จะพัฒนาให้เป็นโรงพิมพ์ควบคู่กับการทำธุรกิจด้านการศึกษาเช่น ขายตำราเรียน สื่อการสอน ที่ดินซอยสายลม 3-4 ไร่ จะทำเป็นที่พักหรือโรงแรมแห่งใหม่ของครู และที่ดิน จ.ร้อยเอ็ด 40-50 ไร่ จะทำเป็นบ้านพักให้ครูและบุคคลากรทางการศึกษา ส่วนจะขายหรือให้เช่านั้นค่อยมาหาข้อสรุปอีกครั้ง
6.การขยายโอกาสทางการค้า จะพัฒนาโรงพิมพ์ให้ทันสมัยและนำแท่นพิมพ์รุ่นใหม่เข้าแทนแท่นพิมพ์รุ่นเก่า ซึ่งมีปัญหาเครื่องเก่าและชำรุดจำนวนมาก ทำให้งานพิมพ์ล่าช้ากว่าเอกชน 3 เท่า ทั้งนี้ จะใช้วิธีซื้อแบบผ่อนส่งหรือเช่าเครื่องพิมพ์ จะได้ไม่ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการจะสรุปแผนฟื้นฟูองค์การค้าฯเสนอคณะกรรมการองค์การค้าฯ ภายในเดือนธันวาคมนี้