“วรากรณ์” จวก สกสค.ทำผิดหน้าที่ จี้เร่งแก้หนี้ครู และหนี้องค์การค้า ระบุ ต้องปรับโครงสร้างบอร์ด สกสค.ให้มีผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาร่วมด้วย เพราะหากมีแต่ครูจะขาดทักษะทางธุรกิจ ย้ำ ข้าราชการประจำ ทั้งปลัด ศธ.-เลขา กพฐ.ต้องเข้าประชุมเอง และกล้ายืนยันสิ่งถูกต้อง
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากที่ติดตามการทำงานของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) พบว่า หลายโครงการไม่ใช่หน้าที่ที่ สกสค.จะต้องเร่งดำเนินการ เช่น โครงการจัดสร้างสถาบันฝึกอบรมเพื่อพัฒนาครูในรูปแบบโรงแรมหรู 5 ดาว สถานีโทรทัศน์ 24 ชั่วโมง คุรุชาแนล เป็นต้น แต่ สกสค.ควรเร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินครู และหนี้สินขององค์การค้า ขณะที่โครงการที่จะดำเนินการนั้น ล้วนต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และไม่รู้จะทำประโยชน์ให้ครูได้มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งการแก้ปัญหาหนี้ครู ยิ่งจะเป็นการซ้ำเติมปัญหาของครู เพราะการแก้หนี้ครูไม่สามารถแก้ได้ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้ครูกู้ในวงเงินเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำเงินไปจ่ายหนี้เก่า หากเป็นเช่นนั้นครูจะต้องติดอยู่ในวงจรหนี้ไม่รู้จบ
อีกทั้งการปล่อยกู้โดยเสนอผลตอบแทนค่าบริการให้กับ สกสค.ก็ยิ่งทำให้ผิดวัตถุประสงค์ กลายเป็นการสนับสนุนให้ครูกู้เงินเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะได้ผลตอบแทนสูงขึ้น ทั้งที่หัวใจสำคัญของการแก้ไขหนี้ครู คือ การแก้ไขที่ตัวครู ทำให้ครูยอมรับ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของครูให้ใช้จ่ายอย่างพอเพียง
“ปัญหา สกสค.จะต้องเริ่มปรับกันตั้งแต่โครงสร้างของบอร์ด สกสค.เพราะหากมาจากผู้แทนครูทั้งหมด อาจทำให้ขาดทักษะด้านการบริหาร ดังนั้น ควรมีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร มีความเป็นมืออาชีพ เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อเสนอแนะความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น แต่ก็ยอมรับว่า องค์ประกอบของบอร์ด สกสค.ปรับลำบาก เพราะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย ดังนั้น ทางที่น่าจะทำได้ทันที คือ ผู้บริหารองค์กรหลัก อาทิ ปลัด ศธ.เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นผู้แทนโดยตำแหน่ง ควรเข้าร่วมประชุมด้วยตัวเอง เพราะเมื่อส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม ก็ทำให้บทบาทรวมทั้งการออกเสียงในที่ประชุมลดความสำคัญลง และข้าราชการประจำเหล่านี้ต้องกล้าที่จะยืนยันในสิ่งที่ถูกต้อง”อดีต รมช.ศธ.กล่าว
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากที่ติดตามการทำงานของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) พบว่า หลายโครงการไม่ใช่หน้าที่ที่ สกสค.จะต้องเร่งดำเนินการ เช่น โครงการจัดสร้างสถาบันฝึกอบรมเพื่อพัฒนาครูในรูปแบบโรงแรมหรู 5 ดาว สถานีโทรทัศน์ 24 ชั่วโมง คุรุชาแนล เป็นต้น แต่ สกสค.ควรเร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินครู และหนี้สินขององค์การค้า ขณะที่โครงการที่จะดำเนินการนั้น ล้วนต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และไม่รู้จะทำประโยชน์ให้ครูได้มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งการแก้ปัญหาหนี้ครู ยิ่งจะเป็นการซ้ำเติมปัญหาของครู เพราะการแก้หนี้ครูไม่สามารถแก้ได้ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้ครูกู้ในวงเงินเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำเงินไปจ่ายหนี้เก่า หากเป็นเช่นนั้นครูจะต้องติดอยู่ในวงจรหนี้ไม่รู้จบ
อีกทั้งการปล่อยกู้โดยเสนอผลตอบแทนค่าบริการให้กับ สกสค.ก็ยิ่งทำให้ผิดวัตถุประสงค์ กลายเป็นการสนับสนุนให้ครูกู้เงินเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะได้ผลตอบแทนสูงขึ้น ทั้งที่หัวใจสำคัญของการแก้ไขหนี้ครู คือ การแก้ไขที่ตัวครู ทำให้ครูยอมรับ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของครูให้ใช้จ่ายอย่างพอเพียง
“ปัญหา สกสค.จะต้องเริ่มปรับกันตั้งแต่โครงสร้างของบอร์ด สกสค.เพราะหากมาจากผู้แทนครูทั้งหมด อาจทำให้ขาดทักษะด้านการบริหาร ดังนั้น ควรมีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร มีความเป็นมืออาชีพ เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อเสนอแนะความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น แต่ก็ยอมรับว่า องค์ประกอบของบอร์ด สกสค.ปรับลำบาก เพราะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย ดังนั้น ทางที่น่าจะทำได้ทันที คือ ผู้บริหารองค์กรหลัก อาทิ ปลัด ศธ.เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นผู้แทนโดยตำแหน่ง ควรเข้าร่วมประชุมด้วยตัวเอง เพราะเมื่อส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม ก็ทำให้บทบาทรวมทั้งการออกเสียงในที่ประชุมลดความสำคัญลง และข้าราชการประจำเหล่านี้ต้องกล้าที่จะยืนยันในสิ่งที่ถูกต้อง”อดีต รมช.ศธ.กล่าว