“ครู จ.เลย” ยื่นหนังสือของความเป็นธรรม เหตุกรมบัญชีกลางยกเลิกรายชื่อ 22 โรงเป็นพื้นที่พิเศษ ส่งผลให้ครู 141 ราย อดได้เบี้ยเสี่ยงภัยเดือนละ 1 พัน แถมต้องคืนเงินให้กระทรวงการคลัง ขู่หากการเรียกร้องไม่ได้รับการสนองตอบ จะออกเคลื่อนไหว
ที่กระทรวงศึกษาธิการ นายธรรมรงค์ เสนจันทร์ ประธานสมาพันธ์ชมรมครูบุคลากรพื้นที่พิเศษ จ.เลย พร้อมคณะครูกว่า 10 คน เดินทางมายื่นหนังสือต่อ นายศรีเมือง เจริญศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ขอให้ทบทวนประกาศกระทรวงการคลังเรื่องการยกเลิกสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ประจำปีงบประมาณ 2551 โดยมีเจ้าหน้าที่รับเรื่องแทน
นายธรรมรงค์ กล่าวว่า ครูในพื้นที่ จ.เลย จำนวน 141 คน จาก 3 อำเภอ คือ อ.ด่านซ้าย นาแห้ว และปากชม รวม 22 โรงเรียน ได้รับเงินเบี้ยเสี่ยงเสี่ยงภัยและเบี้ยกันดาร รายละ 12,000 ต่อปี หรือเดือนละ 1,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวเป็นขวัญ กำลังใจและสวัสดิการในการปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษหรือพื้นที่เสี่ยงภัยทุรกันดาร ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องกำหนดสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2551 และได้มีการโอนเงินเข้าบัญชีครูและบุคลากรไปเรียบร้อยแล้ว ต่อมากรมบัญชีกลางได้มีหนังสือด่วนที่สุด เรื่องแจ้งผลการพิจารณากำหนดสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ให้โรงเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณากำหนดให้เป็นสำนักงานในพื้นที่พิเศษปีงบประมาณ 2551 พร้อมออกประกาศยกเลิกรายชื่อสำนักงานในพื้นที่พิเศษดังกล่าวด้วย ส่งผลให้ครูและบุคลากร เสียสิทธิ์ที่จะได้รับเงินค่าเบี้ยเสี่ยงภัย อีกทั้งยังต้องคืนเงินให้แก่กระทรวงการคลัง
ทางสมาพันธ์ฯ ขอเรียกร้องความเป็นธรรม 3 ข้อ ดังนี้ 1.ขออุทธรณ์และยื่นข้อเรียกร้องให้กรมบัญชีกลาง ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลังเรื่องยกเลิกรายชื่อสำนักงานในพื้นที่พิเศษ 2.ครู 141 รายไม่สามารถคืนเงินตามประกาศได้เนื่องจากได้ใช้เงินไปหมดแล้ว และไม่มีรายรับพอที่จะจ่ายเงินคืนแก่กรมบัญชีกลาง 3.ขอเรียกร้องกรมบัญชีกลางได้พิจารณาตามสภาพภูมิประเทศจริงในพื้นที่ จ.เลย เป็นลักษณะเทือกเขาแล้วตั้งอยู่ห่างจากศาลากลาง จ.เลย กว่า 100 กิโลเมตร การคมนาคมลำบาก คดโค้งตามหุบเหว ทุรกันดาร เสี่ยงภัยตามแนวชายแดนไทย-ลาว ในเขตพื้นที่อ.ด่านซ้าย นาแห้วและปากชมทั้ง 22 โรงเรียนจึงขอให้ถือเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาทั้งในปีงบประมาณปัจจุบันและปีงบประมาณต่อไป ตามความเป็นจริงของสภาพพื้นที่และเกิดความชอบธรรมเพื่อให้สร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานต่อไป
“ที่ผ่านมาโรงเรียน 22 แห่งถูกจัดให้เป็นโรงเรียนทุรกันดาร กระทั่งกรมบัญชีกลางมาเปลี่ยนเกณฑ์พิจารณาพื้นที่พิเศษโดยจะต้องโอบล้อมด้วยเทือกเขาและห่างไกลจากศาลากลางจังหวัดเกิน 100 กิโลเมตร กรมบัญชีกลางใช้ภาพถ่ายดาวเทียมของทหารมาพิจารณาตัดสิน ทำให้ 22 โรงเรียนไม่ได้โอบล้อมด้วยเทือกเขาโดยที่ไม่ได้ดูสภาพความจริงเลยว่าการเดินทางคิดโค้งตามหุบเหวและมีเทือกเขาล้อมรอบไม่ต่างจากภาคเหนือซึ่งคณะกรรมการระดับจังหวัดก็ได้พิจารณาว่าเข้าหลักเกณฑ์พื้นที่พิเศษ อย่างไรก็ตาม สมาพันธ์ฯ ยังได้ยื่นหนังสือเพื่อขอความเป็นธรรมต่อ สพฐ. ถ้าข้อเรียกร้องไม่ได้รับการตอบสนอง พวกตนจะเคลื่อนไหวเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อไป”
ที่กระทรวงศึกษาธิการ นายธรรมรงค์ เสนจันทร์ ประธานสมาพันธ์ชมรมครูบุคลากรพื้นที่พิเศษ จ.เลย พร้อมคณะครูกว่า 10 คน เดินทางมายื่นหนังสือต่อ นายศรีเมือง เจริญศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ขอให้ทบทวนประกาศกระทรวงการคลังเรื่องการยกเลิกสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ประจำปีงบประมาณ 2551 โดยมีเจ้าหน้าที่รับเรื่องแทน
นายธรรมรงค์ กล่าวว่า ครูในพื้นที่ จ.เลย จำนวน 141 คน จาก 3 อำเภอ คือ อ.ด่านซ้าย นาแห้ว และปากชม รวม 22 โรงเรียน ได้รับเงินเบี้ยเสี่ยงเสี่ยงภัยและเบี้ยกันดาร รายละ 12,000 ต่อปี หรือเดือนละ 1,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวเป็นขวัญ กำลังใจและสวัสดิการในการปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษหรือพื้นที่เสี่ยงภัยทุรกันดาร ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องกำหนดสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2551 และได้มีการโอนเงินเข้าบัญชีครูและบุคลากรไปเรียบร้อยแล้ว ต่อมากรมบัญชีกลางได้มีหนังสือด่วนที่สุด เรื่องแจ้งผลการพิจารณากำหนดสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ให้โรงเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณากำหนดให้เป็นสำนักงานในพื้นที่พิเศษปีงบประมาณ 2551 พร้อมออกประกาศยกเลิกรายชื่อสำนักงานในพื้นที่พิเศษดังกล่าวด้วย ส่งผลให้ครูและบุคลากร เสียสิทธิ์ที่จะได้รับเงินค่าเบี้ยเสี่ยงภัย อีกทั้งยังต้องคืนเงินให้แก่กระทรวงการคลัง
ทางสมาพันธ์ฯ ขอเรียกร้องความเป็นธรรม 3 ข้อ ดังนี้ 1.ขออุทธรณ์และยื่นข้อเรียกร้องให้กรมบัญชีกลาง ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลังเรื่องยกเลิกรายชื่อสำนักงานในพื้นที่พิเศษ 2.ครู 141 รายไม่สามารถคืนเงินตามประกาศได้เนื่องจากได้ใช้เงินไปหมดแล้ว และไม่มีรายรับพอที่จะจ่ายเงินคืนแก่กรมบัญชีกลาง 3.ขอเรียกร้องกรมบัญชีกลางได้พิจารณาตามสภาพภูมิประเทศจริงในพื้นที่ จ.เลย เป็นลักษณะเทือกเขาแล้วตั้งอยู่ห่างจากศาลากลาง จ.เลย กว่า 100 กิโลเมตร การคมนาคมลำบาก คดโค้งตามหุบเหว ทุรกันดาร เสี่ยงภัยตามแนวชายแดนไทย-ลาว ในเขตพื้นที่อ.ด่านซ้าย นาแห้วและปากชมทั้ง 22 โรงเรียนจึงขอให้ถือเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาทั้งในปีงบประมาณปัจจุบันและปีงบประมาณต่อไป ตามความเป็นจริงของสภาพพื้นที่และเกิดความชอบธรรมเพื่อให้สร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานต่อไป
“ที่ผ่านมาโรงเรียน 22 แห่งถูกจัดให้เป็นโรงเรียนทุรกันดาร กระทั่งกรมบัญชีกลางมาเปลี่ยนเกณฑ์พิจารณาพื้นที่พิเศษโดยจะต้องโอบล้อมด้วยเทือกเขาและห่างไกลจากศาลากลางจังหวัดเกิน 100 กิโลเมตร กรมบัญชีกลางใช้ภาพถ่ายดาวเทียมของทหารมาพิจารณาตัดสิน ทำให้ 22 โรงเรียนไม่ได้โอบล้อมด้วยเทือกเขาโดยที่ไม่ได้ดูสภาพความจริงเลยว่าการเดินทางคิดโค้งตามหุบเหวและมีเทือกเขาล้อมรอบไม่ต่างจากภาคเหนือซึ่งคณะกรรมการระดับจังหวัดก็ได้พิจารณาว่าเข้าหลักเกณฑ์พื้นที่พิเศษ อย่างไรก็ตาม สมาพันธ์ฯ ยังได้ยื่นหนังสือเพื่อขอความเป็นธรรมต่อ สพฐ. ถ้าข้อเรียกร้องไม่ได้รับการตอบสนอง พวกตนจะเคลื่อนไหวเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อไป”