“ผานิต” เผย กรมบัญชีกลางมีหนังสือด่วน ยืนยันให้ข้าราชการเบิกได้แค่ 7 รายการ ที่เหลือ 8 รายการ ผู้ปกครองควักกระเป๋าจ่ายค่าเล่าเรียนลูกเอง
นางผานิต มีสุนทร ผู้อำนวยการสำนักการคลังและสินทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า กรมบัญชีกลางได้มีหนังสือด่วนที่สุดลงนาม โดย นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา ในกรณีที่ สพฐ.ขอให้สถานศึกษาเบิกค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก 8 รายการ จากที่กรมบัญชีกลางอนุมัติให้เบิกได้ 4 รายการ นั้น กรมบัญชีกลาง เห็นว่า ในหลักการการให้สิทธิสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรมีเจตนารมณ์เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการศึกษาของบุตรแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และผู้ได้รับเบี้ยหวัด บำนาญ ที่มีบุตรเข้าศึกษาในสถานศึกษา และค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาเบิกได้นั้น จะต้องเป็นค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการศึกษาที่อยู่ในหลักสูตร ซึ่งสถานศึกษาได้รับอนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัด ให้เรียกเก็บและนำมาเบิกได้ ไม่เกินประเภทและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ สพฐ.กำหนดหลักเกณฑ์เรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัด ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการเรียนการสอน นอกหลักสูตรนั้น เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในการพิจารณารายการที่อนุญาตให้สถานศึกษาในสังกัด เรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษานอกหลักสูตรได้ อย่างไรก็ตาม กรมบัญชีกลาง ได้พิจารณาให้การช่วยเหลือบรรเทา ความเดือดร้อนของผู้ปกครองที่เป็นข้าราชการ โดยประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาที่กรมบัญชีกลางอนุญาตให้เบิกนั้นก็พิจารณาจากรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ สพฐ.อนุญาตให้สถานศึกษาเรียกเก็บได้ โดยคำนึงถึงความเหมาะสม และสมควรกำหนดให้เบิกจ่ายได้ จึงได้กำหนดประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาในสถานศึกษาของราชการ ตามหนังสือกรมบัญชีกลางด่วนที่สุดที่ กค.0422.3/ว 248 ลงวันที่ 15 ก.ค.2551 และเห็นควรยืนยันปฏิบัติตามหนังสือกรมบัญชีกลางดังกล่าว
ทางกรมบัญชีกลาง กำหนดให้เบิกเงินบำรุงการศึกษาได้แค่ 7 รายการ คือ 1.ค่าใช้จ่ายสำหรับห้องเรียน English Program (EP) 2.ห้องเรียน Mini English Program (MEP) 3.ห้องเรียนด้านวิชาการและด้านอื่นๆ 4.ค่าสอนคอมพิวเตอร์ กรณีร.ร.จัดคอมพิวเตอร์บริการนักเรียนเกินเกณฑ์มาตรฐาน 1 เครื่องต่อ 25 คน 5.ค่าจ้างครูชาวต่างประเทศ 6.ค่าจ้างครูที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ และ 7.ค่าทัศนศึกษา ส่วนที่เหลืออีก 8 รายการนั้น กรมบัญชีกลางไม่อนุญาตให้เบิก
นางผานิต มีสุนทร ผู้อำนวยการสำนักการคลังและสินทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า กรมบัญชีกลางได้มีหนังสือด่วนที่สุดลงนาม โดย นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา ในกรณีที่ สพฐ.ขอให้สถานศึกษาเบิกค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก 8 รายการ จากที่กรมบัญชีกลางอนุมัติให้เบิกได้ 4 รายการ นั้น กรมบัญชีกลาง เห็นว่า ในหลักการการให้สิทธิสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรมีเจตนารมณ์เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการศึกษาของบุตรแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และผู้ได้รับเบี้ยหวัด บำนาญ ที่มีบุตรเข้าศึกษาในสถานศึกษา และค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาเบิกได้นั้น จะต้องเป็นค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการศึกษาที่อยู่ในหลักสูตร ซึ่งสถานศึกษาได้รับอนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัด ให้เรียกเก็บและนำมาเบิกได้ ไม่เกินประเภทและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ สพฐ.กำหนดหลักเกณฑ์เรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัด ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการเรียนการสอน นอกหลักสูตรนั้น เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในการพิจารณารายการที่อนุญาตให้สถานศึกษาในสังกัด เรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษานอกหลักสูตรได้ อย่างไรก็ตาม กรมบัญชีกลาง ได้พิจารณาให้การช่วยเหลือบรรเทา ความเดือดร้อนของผู้ปกครองที่เป็นข้าราชการ โดยประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาที่กรมบัญชีกลางอนุญาตให้เบิกนั้นก็พิจารณาจากรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ สพฐ.อนุญาตให้สถานศึกษาเรียกเก็บได้ โดยคำนึงถึงความเหมาะสม และสมควรกำหนดให้เบิกจ่ายได้ จึงได้กำหนดประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาในสถานศึกษาของราชการ ตามหนังสือกรมบัญชีกลางด่วนที่สุดที่ กค.0422.3/ว 248 ลงวันที่ 15 ก.ค.2551 และเห็นควรยืนยันปฏิบัติตามหนังสือกรมบัญชีกลางดังกล่าว
ทางกรมบัญชีกลาง กำหนดให้เบิกเงินบำรุงการศึกษาได้แค่ 7 รายการ คือ 1.ค่าใช้จ่ายสำหรับห้องเรียน English Program (EP) 2.ห้องเรียน Mini English Program (MEP) 3.ห้องเรียนด้านวิชาการและด้านอื่นๆ 4.ค่าสอนคอมพิวเตอร์ กรณีร.ร.จัดคอมพิวเตอร์บริการนักเรียนเกินเกณฑ์มาตรฐาน 1 เครื่องต่อ 25 คน 5.ค่าจ้างครูชาวต่างประเทศ 6.ค่าจ้างครูที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ และ 7.ค่าทัศนศึกษา ส่วนที่เหลืออีก 8 รายการนั้น กรมบัญชีกลางไม่อนุญาตให้เบิก