เลย - เผยตัวเลขการค้าชายแดนไทย-ลาวด้านจังหวัดเลยกว่า 230 ล้านบาท โดยมากเป็นการส่งออกสินค้าหมวดอุปโภคบริโภคและชิ้นส่วนก่อสร้าง
นายวีรพล พิศวง พาณิชย์จังหวัดเลย เปิดเผยถึงภาวการณ์ค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านระหว่างไทย-สปป.ลาว เดือนสิงหาคม 2551 ที่ผ่านมาว่ามีมูลค่าการค้าจากด่านศุลกากรท่าลี่ ด่านศุลกากรเชียงคาน จุดผ่อนปรนบ้านนาข่า อ.ด่านซ้าย จุดผ่อนปรนบ้านเหมืองแพร่ อ.นาแห้ว จุดผ่อนปรนบ้านนากระเซ็ง อ.ท่าลี่ และจุดผ่านแดนถาวรบ้านคกไผ่ อ.ปากชม รวมทั้งสิ้น 238.50 ล้านบาท โดยมีมูลค่าส่งออก จำนวน 162.27 ล้านบาท และมูลค่านำเข้า จำนวน 76.23 ล้านบาท
โดยแยกเป็นมูลค่าการส่งออกและสินค้าส่งออก มูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 162.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 36.46 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 28.98 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 79.04 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 94.96 สินค้าส่งออกที่สำคัญ เรียงตามลำดับมูลค่าการส่งออก ได้แก่ หมวดของใช้ประจำวัน หมวดวัสดุ ก่อสร้าง หมวดยานพาหนะและส่วนประกอบ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า
ส่วนมูลค่าการนำเข้าและสินค้านำเข้า มูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 76.23 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 16.59 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.87 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อนมีมูลค่าการนำเข้าลดลง 1.84 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.35 สินค้านำเข้าที่สำคัญ เรียงตามลำดับมูลค่าการนำเข้า ได้แก่ หมวดสินค้ากสิกรรม เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เปลือกปอสา งา และหมวดฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน
นายวีรพล พิศวง พาณิชย์จังหวัดเลย เปิดเผยถึงภาวการณ์ค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านระหว่างไทย-สปป.ลาว เดือนสิงหาคม 2551 ที่ผ่านมาว่ามีมูลค่าการค้าจากด่านศุลกากรท่าลี่ ด่านศุลกากรเชียงคาน จุดผ่อนปรนบ้านนาข่า อ.ด่านซ้าย จุดผ่อนปรนบ้านเหมืองแพร่ อ.นาแห้ว จุดผ่อนปรนบ้านนากระเซ็ง อ.ท่าลี่ และจุดผ่านแดนถาวรบ้านคกไผ่ อ.ปากชม รวมทั้งสิ้น 238.50 ล้านบาท โดยมีมูลค่าส่งออก จำนวน 162.27 ล้านบาท และมูลค่านำเข้า จำนวน 76.23 ล้านบาท
โดยแยกเป็นมูลค่าการส่งออกและสินค้าส่งออก มูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 162.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 36.46 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 28.98 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 79.04 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 94.96 สินค้าส่งออกที่สำคัญ เรียงตามลำดับมูลค่าการส่งออก ได้แก่ หมวดของใช้ประจำวัน หมวดวัสดุ ก่อสร้าง หมวดยานพาหนะและส่วนประกอบ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า
ส่วนมูลค่าการนำเข้าและสินค้านำเข้า มูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 76.23 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 16.59 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.87 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อนมีมูลค่าการนำเข้าลดลง 1.84 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.35 สินค้านำเข้าที่สำคัญ เรียงตามลำดับมูลค่าการนำเข้า ได้แก่ หมวดสินค้ากสิกรรม เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เปลือกปอสา งา และหมวดฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน