xs
xsm
sm
md
lg

เตรียมอวดนานาชาติ ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 1 ดันฝัน 12 ข้อให้เป็นจริง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เตรียมจัดประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 11-13 ธ.ค.นี้ อวดนานาชาติ ร่วมถกนโยบายสาธารณะ 12 ประเด็น ธรรมนูฐสุขภาพ เหล้า สุขภาวะทางเพศ การเข้าถึงยาจำเป็น ฯลฯ พร้อมนำมติรวมบรวมเป็นข้อเสนอแนะเพื่อผลักดันไปสู่การปฏิบัติจริง

วานนี้(31 ต.ค.) นายชวรัตน์ ชาญวีระกูล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นธานในการแถลงข่าวการจัดสมัชชาสุขภาพแห่ชาติครั้งที่ 1 โดยนพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ในฐานะประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก ภายหลังจากที่มี พ.ร.บ.สุขภาพแห่ชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งคณะกรรมการสุขภาพแห่ชาติ (คสช.) มีหน้าที่สนับสนุนให้จัดขึ้นอย่าน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อหาข้อเสนอแนะต่อนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพอย่ามีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม ซึ่งครั้งนี้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม 2551 ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ (ยูเอ็น) โดยคณะกรรมการได้เชิญทุตานุทูต ผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ นักวิชาการ และผู้สังเกตการณ์ในแวดวงสุขภาพจากต่างประเทศ มาเข้าร่วมเรียนรู้การจัดสมัชชาสุขภาพครั้งนี้ด้วย

นพ.สุวิทย์ กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นหลักในการประชุมของปีนี้ คือ การพิจารณาร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งได้ร่างธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่เพื่อให้องค์กร เครือข่าย ได้แสดงความคิดเห็นอีกครั้งหนึ่งในดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบและแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายด้านสุขภาพ รวมทั้งการดำเนินงานด้านสุขภาพ ซึ่งกำหนดให้มีการทบทวนทุก 5 ปี เพื่อทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้วย

นพ.สุวิทย์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ได้มีการเปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมเสนอประเด็นนโยบายสาธารณะเข้าสู่เวทีสมัชชาสุขภาพแห่ชาติ โดยเบื้องต้นมีจำนวน 68 ประเด็น จาก 50 เครือข่าย และมีการพิจารณาคัดเลือกประเด็นนโยบายที่มีความสำคัญและมีผลกระทบเป็นวงกว้าง เพื่อบรรจุเป็นวาระจำนวน 11 ประเด็น ได้แก่ 1.สุขภาวะทางเพศ 2. ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3.การเข้าถึงยาจำเป็น 4.การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการกำหนดนโยบายการเจรจาการค้าเสรี (FTA) 5.เกษตรและอาหารในยุควิกฤติ 6.นโยบายสาธารณเพื่อสุขภาวะแรงงานนอกระบบ 7.ความเสมอภาคในการเข้าถึงและได้รับบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน 8.บนบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการจัดการสุขภาพและทรัพยากรธรรมชาติ 9.แนวทางการสร้างสื่อปลอดภัยสำหรับเด็กและครอบครัว 10.ระบบสุขภาพและพหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 11.กลไกการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA)

“หลังจากที่มีการพิจารณาวาระทั้ง 12 ประเด็น แล้ว สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จะนำมติที่สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติผ่านความเห็นชอบ ส่งเข้าสู่การพิจารณาของ คสช.เพื่อพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายให้มีความชัดเจนแล้วส่งต่อไปยังคณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบและผลักดันไปสู่การปฎิบัติ” นพ.สุวิทย์ กล่าว

ด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า สำหรับปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อให้เกิดภาระโรคคิดเป็นร้อยละ 8.1 ของภาระโรคทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติเกือบเท่าตัว ที่สำคัญ ปริมาณการดื่มยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลปี 2530-2546 พบว่า การบริโภคเบียร์สูงขึ้นถึง 12 เท่า ซึ่งจากพบการวิจัยพบว่า มาตรการควบคุมที่ได้ผลที่สุด 10 เรื่อง เช่น จำกัดอายุผู้ซื้อ รัฐเป็นเจ้าของร้านขายสุราปลีก จำกัดเวลาขาย จำกัดความหนาแน่นของจุดขาย มาตรการทางภาษี การสุ่มตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ ลดเพดานระดับแอลกอฮอล์ในเลือกของผู้ขับขี่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มาตรการต่างๆ ยังมีจุดอ่อน และข้อจัดกัดอยู่หลายด้าน จึงจำเป็นต้องหาแนวทางลดปัญหาในการดำเนินมาตรการหรือนโยบายต่างๆ ต่อไป

นพ.อำพล กล่าวว่า ส่วนปัญหาเรื่องการเข้าถึงยาจำเป็น พบว่า ปัญหามาจากเรื่องสิทธิบัตรยา ที่ก่อให้เกิดการผูกขาดราคายาทำให้ราคายาแพงเกินกว่าที่ผู้บริโภคจะจ่ายได้ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการทำสัญญา “เขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ” ทำให้เกิดการผูกขาดสิทธิบัตรยา โดยค่าใช้จ่ายด้านยาของไทยในระหว่างปี 2543-2548 มีมูลค่าสูงร้อยละ 13-20 สูงกว่าตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมถึง 3 เท่า ส่งผลให้เงินคงคลังของไทยลดลง โดยปัญหาทั้งหมดมีสาเหตุมาจากไทย ไม่มีนโยบายด้านราคายาที่ชัดเจน ส่งผลให้การตั้งราคายาไม่เป็นธรรม และไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เนื่องจากบริษัทยาเป็นผู้กำหนดราคาเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหาแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านราคายาที่เป็นธรรม เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงยาได้อย่างเท่าเทียม
กำลังโหลดความคิดเห็น