สช.จัดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็น ร่างข้อเสนอการแก้ปัญหาและการสร้างความสัมพันธ์ในระบบบริการสุขภาพ เพื่อแก้ไขปรับปรุงร่างก่อนเสนอ ครม.เสนอ 3 แนวทางแก้ปัญหาวิกฤตความสัมพันธ์ สร้างกลไกจัดการปัญหาเยียวยา ฟื้นฟู ความสัมพันธ์ สนับสนุนจัดการความรู้ บริหารความเสี่ยง และส่งเสริมป้องกันโดยพัฒนาระบบบริการ คุณภาพมาตรฐานการรักษา และพัฒนาวิชาชีพ
วันนี้ 22 ก.ค.ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการ สช.กล่าวว่า ในวันที่ 23 ก.ค.นี้ คณะทำงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อแก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์จะนำร่างข้อเสนอการแก้ปัญหาและการสร้างความสัมพันธ์ในระบบบริการสุขภาพ เสนอเข้าสู่เวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็น โดยเชิญผู้เข้าร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งตัวแทนประชาชน ผู้ให้บริการสุขภาพทุกวิชาชีพ นักวิชาการ และตัวแทนองค์กรหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยจะนำข้อสรุปที่ได้นำไปปรับปรุงร่างข้อเสนอเดิมเพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ และส่งต่อไปยังคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เพื่อพิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
“การออกกฎหมายมีประโยชน์ส่วนหนึ่งแต่ก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา แต่อาจเพิ่มปัญหาได้ ซึ่งจะเห็นได้จากบทเรียนในต่างประเทศหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่ใช้ระบบการฟ้องร้องนั้น สร้างความเสียหาย ไม่เป็นธรรม และส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ฉะนั้น นอกจากจะออกกฎหมายมาบังคับใช้แล้วจะต้องมีกลไกในการแก้ปัญหาด้วย จึงได้มีการกำหนดเป็นกลไกต่างๆ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลัก 3 กลไก คือ 1.กลไกจัดการปัญหา โดยเริ่มจากการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายก่อนเป็นอันดับแรก ไม่ต้องบอกว่าใครถูกผิด และเมื่อเกิดปัญหาแล้วก็ไม่ควรสร้างความขัดแย้งให้เกิดเพิ่มขึ้นอีก มีการจัดการความขัดแย้งและฟื้นฟูความสัมพันธ์ โดยต้องให้ความช่วยเหลือทั้งผู้ป่วยและบุคลกรทางการแพทย์ 2.กลไกสนับสนุน จะต้องมีการบริหารความเสี่ยง จัดการความรู้ไม่ใช่ผิดแล้วปกปิดไว้แต่ต้องนำมาเป็นบทเรียน มีการเสริมสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ รวมทั้งสร้างความมีส่วนร่วมระหว่างโรงพยาบาลกับชุมชน 3.กลไกส่งเสริมป้องกัน โดยต้องพัฒนาระบบบริการ คุณภาพมาตรฐาน และวิชาชีพซึ่งเป็นเรื่องใหญ่” นพ.อำพล กล่าว
ด้านนพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ในฐานะเลขานุการคณะทำงานพัฒนานโยบายสาธารณะ กล่าวว่า การแก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ทั้ง 2 ฝ่ายควรตั้งสติ ต่างคนต่างต้องไม่เรียกร้อง แล้วร่วมกันทุกภาคส่วน ทั้งผู้ป่วย แพทย์ องค์กร หน่วยงานต่างๆ รวมถึงโรงพยาบาล และเครือข่ายภาคี หากต้องการระบบการแพทย์ที่ดีด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์
“ปัญหาการร้องเรียนที่พบในสื่อต่างเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็ง แต่จริงๆ แล้วปัญหายังมีอีกมาก ต้องยอมรับว่า หมอก็ถูกปลูกฝังมาลักษณะหนึ่ง และถูกหล่อหลอมจากครอบครัวและสังคม ขณะที่ผู้ป่วยเองก็มีความทุกข์จากการเจ็บป่วย ซึ่งการแก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยอาจไม่เห็นผลในขณะนี้ แต่ก็จะส่งผลอนาคตข้างหน้าแน่นอน” นพ.พงศ์เทพ กล่าว
ทั้งนี้ ข้อมูลจากกลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จนถึงเดือน ก.พ.2551 มีคดีที่แพทย์และกระทรวงสาธารณสุขถูกฟ้องโดยได้รับผลกระทบอันไม่พึงประสงค์จากการบริการทางการแพทย์รวมทั้งสิ้น 75 คดี แบ่งเป็นคดีแพ่ง 66 คดี คดีอาญา 9 คดี ซึ่งในส่วนของคดีแพ่งนั้น พบว่าอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำนวน 24 คดี ศาลอุทธรณ์ 15 คดี และศาลฎีกา 10 คดี มีคดีสิ้นสุดแล้ว 1 คดี และผู้เสียหายถอนฟ้อง 16 คดี ส่วนคดีอาญาอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน 4 คดี อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น 1 คดี ศาลอุทธรณ์ 2 คดี และศาลฎีกา 10 คดี ผู้เสียหายถอนฟ้องจำนวน 2 คดี
วันนี้ 22 ก.ค.ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการ สช.กล่าวว่า ในวันที่ 23 ก.ค.นี้ คณะทำงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อแก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์จะนำร่างข้อเสนอการแก้ปัญหาและการสร้างความสัมพันธ์ในระบบบริการสุขภาพ เสนอเข้าสู่เวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็น โดยเชิญผู้เข้าร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งตัวแทนประชาชน ผู้ให้บริการสุขภาพทุกวิชาชีพ นักวิชาการ และตัวแทนองค์กรหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยจะนำข้อสรุปที่ได้นำไปปรับปรุงร่างข้อเสนอเดิมเพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ และส่งต่อไปยังคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เพื่อพิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
“การออกกฎหมายมีประโยชน์ส่วนหนึ่งแต่ก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา แต่อาจเพิ่มปัญหาได้ ซึ่งจะเห็นได้จากบทเรียนในต่างประเทศหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่ใช้ระบบการฟ้องร้องนั้น สร้างความเสียหาย ไม่เป็นธรรม และส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ฉะนั้น นอกจากจะออกกฎหมายมาบังคับใช้แล้วจะต้องมีกลไกในการแก้ปัญหาด้วย จึงได้มีการกำหนดเป็นกลไกต่างๆ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลัก 3 กลไก คือ 1.กลไกจัดการปัญหา โดยเริ่มจากการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายก่อนเป็นอันดับแรก ไม่ต้องบอกว่าใครถูกผิด และเมื่อเกิดปัญหาแล้วก็ไม่ควรสร้างความขัดแย้งให้เกิดเพิ่มขึ้นอีก มีการจัดการความขัดแย้งและฟื้นฟูความสัมพันธ์ โดยต้องให้ความช่วยเหลือทั้งผู้ป่วยและบุคลกรทางการแพทย์ 2.กลไกสนับสนุน จะต้องมีการบริหารความเสี่ยง จัดการความรู้ไม่ใช่ผิดแล้วปกปิดไว้แต่ต้องนำมาเป็นบทเรียน มีการเสริมสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ รวมทั้งสร้างความมีส่วนร่วมระหว่างโรงพยาบาลกับชุมชน 3.กลไกส่งเสริมป้องกัน โดยต้องพัฒนาระบบบริการ คุณภาพมาตรฐาน และวิชาชีพซึ่งเป็นเรื่องใหญ่” นพ.อำพล กล่าว
ด้านนพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ในฐานะเลขานุการคณะทำงานพัฒนานโยบายสาธารณะ กล่าวว่า การแก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ทั้ง 2 ฝ่ายควรตั้งสติ ต่างคนต่างต้องไม่เรียกร้อง แล้วร่วมกันทุกภาคส่วน ทั้งผู้ป่วย แพทย์ องค์กร หน่วยงานต่างๆ รวมถึงโรงพยาบาล และเครือข่ายภาคี หากต้องการระบบการแพทย์ที่ดีด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์
“ปัญหาการร้องเรียนที่พบในสื่อต่างเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็ง แต่จริงๆ แล้วปัญหายังมีอีกมาก ต้องยอมรับว่า หมอก็ถูกปลูกฝังมาลักษณะหนึ่ง และถูกหล่อหลอมจากครอบครัวและสังคม ขณะที่ผู้ป่วยเองก็มีความทุกข์จากการเจ็บป่วย ซึ่งการแก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยอาจไม่เห็นผลในขณะนี้ แต่ก็จะส่งผลอนาคตข้างหน้าแน่นอน” นพ.พงศ์เทพ กล่าว
ทั้งนี้ ข้อมูลจากกลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จนถึงเดือน ก.พ.2551 มีคดีที่แพทย์และกระทรวงสาธารณสุขถูกฟ้องโดยได้รับผลกระทบอันไม่พึงประสงค์จากการบริการทางการแพทย์รวมทั้งสิ้น 75 คดี แบ่งเป็นคดีแพ่ง 66 คดี คดีอาญา 9 คดี ซึ่งในส่วนของคดีแพ่งนั้น พบว่าอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำนวน 24 คดี ศาลอุทธรณ์ 15 คดี และศาลฎีกา 10 คดี มีคดีสิ้นสุดแล้ว 1 คดี และผู้เสียหายถอนฟ้อง 16 คดี ส่วนคดีอาญาอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน 4 คดี อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น 1 คดี ศาลอุทธรณ์ 2 คดี และศาลฎีกา 10 คดี ผู้เสียหายถอนฟ้องจำนวน 2 คดี