“อภิสิทธิ์” เผย ครม.มีมติให้ 3 กระทรวงสะสางปัญหามาบตาพุด เคลียร์ปัญหาเอกชนลงทุนได้หรือไม่ ขีดเส้นภายใน 3 เดือน ต้องมีความชัดเจน ด้านองค์กรเครือข่ายสิ่งแวดล้อมมีมติในระยะเร่งด่วน ไม่จำเป็นต้องตั้งองค์การอิสระใหม่ แต่ให้ คสช.เป็นผู้ออกเกณฑ์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมครม.ว่า การสะสางปัญหาพื้นที่มาบตาพุด เนื่องจากมีปัญหาความไม่ชัดเจนในแนวปฏิบัติ หลังจากประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ ผสมผสานกับมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญว่าสามารถเดินหน้าเรื่องการลงทุนได้หรือไม่ จึงได้ให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทำรูปแบบให้เป็นมาตรฐานว่าบทบัญญัติตามมาตรา 67 ที่พูดถึงเรื่องการประเมินผลกระทบสุขภาพ มีองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมมาประเมินก่อนผ่านการลงทุน แนวปฏิบัติจริงเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ยังไม่มีกฎระเบียบหรือหน่วยงานที่ชัดเจนเรื่องนี้ ต้องสะสางเรื่องผังเมืองที่ผิดพลาดในก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะเรื่องที่อยู่อาศัยเป็นเขตอุตสาหกรรม ซึ่งที่ยังมีผู้อยู่อาศัย โดยภายใน 2 สัปดาห์จะต้องทำความชัดเจนให้งานด้านสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมเดินหน้าไปได้ เป็นข้อสังเกตสำหรับการทำความพร้อมในพื้นที่การพัฒนาภาคใต้ต่อไปต้องไม่ให้ซ้ำรอยกับปัญหาด้านการพัฒนาที่เกิดขึ้นที่มาบตาพุด
วันเดียวกัน ที่ รร.มิราเคิล แกรนด์ มีการประชุมเรื่องกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ตามมาตรา 67 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 โดย ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ กล่าวว่า ผลการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบเอชไอเอ ได้แก่ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ สำนักประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการเอกชน นักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐ ฯลฯ มีมติในระยะเร่งด่วนให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) อาศัยอำนาจตามมาตรา 25(5) ออกหลักเกณฑ์และวิธีการให้มีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับผลกระทบด้านสุขภาพ โดยไม่จำเป็นต้องตั้งองค์กรใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีคณะกรรมการด้านสุขภาพรวมอยู่ในคณะกรรมการในการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว
“จะประสานกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) อย่างเป็นทางการ รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ต่อไป ซึ่งในส่วนของผู้แทนของกระทรวงทรัพย์ ไม่ได้แสดงความเห็นว่า ไม่สามารถดำเนินการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพได้ ก็งงอยู่เหมือนกันที่ก่อนหน้านี้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทส.ได้ส่งหนังสือไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงไม่สามารถเป็นผู้ประเมินผลกระทบด้านสุขภาพได้ ดังนั้น ต้องคุยทำความเข้าใจกันอีกครั้งหนึ่ง”ดร.เดชรัต กล่าว
ดร.เดชรัต กล่าวต่อว่า ส่วนกิจกรรมส่วนอื่นๆ ที่ไม่ต้องต้องผ่านการประเมินด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การวางผังเมือง ให้แยกประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ โดยต้องดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่อีกหนึ่งชุดขึ้นมาพิจารณา โดยไม่จำเป็นต้องตั้งหน่วยงานแยกออกมา ซึ่งขณะนี้มีการจัดทำคู่มือแนวทางต่างๆ เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ที่ประชุมให้มีการปรับปรุงกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ โดยเปลี่ยนจากกระบวนการพิจารณารายงานอีไอเอ มาเป็นกระบวนการจัดทำเอชไอเอทั้งกระบวนการ นอกจากนี้ ให้สนับสนุนในการตั้งคณะกรรมการเชี่ยวชาญด้านสุขภาพ มีการปรับปรุงกระบวนการอีไอเอ ให้ครอบคลุมการกำหนดของเขตและประเด็นในการพิจารณา เพื่อให้สาธารณชนร่วมให้ข้อมูลและความเห็น และมีเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะรวมทั้งควรสนับสนุนงบประมาณสำหรับอีไอเอมากขึ้น
“ส่วนในระยะยาวจะมีการพัฒนาแนวทางการจัดตั้งองค์กรใหม่ ที่เป็นองค์กรอิสระตาม พ.ร.บ.องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พ.ศ. ... ซึ่งตั้งขึ้นตามมาตรา 67 โดยทำหน้าที่เบ็ดเสร็จทั้งการพิจารณาประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จัดหรือดูแลการจัดฟังความคิดเห็นประกอบก่อนดำเนินการ และอำนวยความสะดวกสำหรับองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอกฎหมายเข้าสู่สภา ทั้งนี้คาดว่าจะนำข้อสรุปเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการอีสเทิร์นซีบอร์ด จากนั้นนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า”ดร.เดชรัต กล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมครม.ว่า การสะสางปัญหาพื้นที่มาบตาพุด เนื่องจากมีปัญหาความไม่ชัดเจนในแนวปฏิบัติ หลังจากประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ ผสมผสานกับมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญว่าสามารถเดินหน้าเรื่องการลงทุนได้หรือไม่ จึงได้ให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทำรูปแบบให้เป็นมาตรฐานว่าบทบัญญัติตามมาตรา 67 ที่พูดถึงเรื่องการประเมินผลกระทบสุขภาพ มีองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมมาประเมินก่อนผ่านการลงทุน แนวปฏิบัติจริงเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ยังไม่มีกฎระเบียบหรือหน่วยงานที่ชัดเจนเรื่องนี้ ต้องสะสางเรื่องผังเมืองที่ผิดพลาดในก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะเรื่องที่อยู่อาศัยเป็นเขตอุตสาหกรรม ซึ่งที่ยังมีผู้อยู่อาศัย โดยภายใน 2 สัปดาห์จะต้องทำความชัดเจนให้งานด้านสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมเดินหน้าไปได้ เป็นข้อสังเกตสำหรับการทำความพร้อมในพื้นที่การพัฒนาภาคใต้ต่อไปต้องไม่ให้ซ้ำรอยกับปัญหาด้านการพัฒนาที่เกิดขึ้นที่มาบตาพุด
วันเดียวกัน ที่ รร.มิราเคิล แกรนด์ มีการประชุมเรื่องกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ตามมาตรา 67 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 โดย ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ กล่าวว่า ผลการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบเอชไอเอ ได้แก่ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ สำนักประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการเอกชน นักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐ ฯลฯ มีมติในระยะเร่งด่วนให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) อาศัยอำนาจตามมาตรา 25(5) ออกหลักเกณฑ์และวิธีการให้มีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับผลกระทบด้านสุขภาพ โดยไม่จำเป็นต้องตั้งองค์กรใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีคณะกรรมการด้านสุขภาพรวมอยู่ในคณะกรรมการในการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว
“จะประสานกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) อย่างเป็นทางการ รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ต่อไป ซึ่งในส่วนของผู้แทนของกระทรวงทรัพย์ ไม่ได้แสดงความเห็นว่า ไม่สามารถดำเนินการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพได้ ก็งงอยู่เหมือนกันที่ก่อนหน้านี้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทส.ได้ส่งหนังสือไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงไม่สามารถเป็นผู้ประเมินผลกระทบด้านสุขภาพได้ ดังนั้น ต้องคุยทำความเข้าใจกันอีกครั้งหนึ่ง”ดร.เดชรัต กล่าว
ดร.เดชรัต กล่าวต่อว่า ส่วนกิจกรรมส่วนอื่นๆ ที่ไม่ต้องต้องผ่านการประเมินด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การวางผังเมือง ให้แยกประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ โดยต้องดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่อีกหนึ่งชุดขึ้นมาพิจารณา โดยไม่จำเป็นต้องตั้งหน่วยงานแยกออกมา ซึ่งขณะนี้มีการจัดทำคู่มือแนวทางต่างๆ เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ที่ประชุมให้มีการปรับปรุงกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ โดยเปลี่ยนจากกระบวนการพิจารณารายงานอีไอเอ มาเป็นกระบวนการจัดทำเอชไอเอทั้งกระบวนการ นอกจากนี้ ให้สนับสนุนในการตั้งคณะกรรมการเชี่ยวชาญด้านสุขภาพ มีการปรับปรุงกระบวนการอีไอเอ ให้ครอบคลุมการกำหนดของเขตและประเด็นในการพิจารณา เพื่อให้สาธารณชนร่วมให้ข้อมูลและความเห็น และมีเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะรวมทั้งควรสนับสนุนงบประมาณสำหรับอีไอเอมากขึ้น
“ส่วนในระยะยาวจะมีการพัฒนาแนวทางการจัดตั้งองค์กรใหม่ ที่เป็นองค์กรอิสระตาม พ.ร.บ.องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พ.ศ. ... ซึ่งตั้งขึ้นตามมาตรา 67 โดยทำหน้าที่เบ็ดเสร็จทั้งการพิจารณาประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จัดหรือดูแลการจัดฟังความคิดเห็นประกอบก่อนดำเนินการ และอำนวยความสะดวกสำหรับองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอกฎหมายเข้าสู่สภา ทั้งนี้คาดว่าจะนำข้อสรุปเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการอีสเทิร์นซีบอร์ด จากนั้นนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า”ดร.เดชรัต กล่าว