“หมอประกิต” เผยทั่วโลกจับมือแก้ปัญหาบุหรี่เถื่อน ยกร่างกฎห้ามขายบุหรี่ปลอดภาษีในดิวตี้ฟรี ห้ามโฆษณาบุหรี่ในโลกไซเบอร์ และห้ามขายบุหรี่อิเลกทรอนิกส์-บารากู่ ขณะที่ช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ องค์กรต้านบุหรี่ ห่วงคนจนลงหันไปสูบบุหรี่มวนเองมากขึ้น เล็งจัดเก็บภาษี ห้ามขายบุหรี่ซองเล็ก หรือแยกขาย ปราบบุหรี่เถื่อนจริงจัง ไทยเจ้าภาพครั้งแรกประชุมของสมาคมวิจัยการเสพติดนิโคตินและยาสูบภาคพื้นเอเชียครั้งที่ 1
วันที่ 29 ตุลาคม ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ในการประชุมของสมาคมวิจัยการเสพติดนิโคตินและยาสูบภาคพื้นเอเชีย ครั้งที่ 1 ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีการประชุมยกร่างพิธีสารป้องกันบุหรี่เถื่อนตามอนุสัญญาควบคุมการบริโภคยาสูบ มาตรา 15 ซึ่งมีสมาชิก 160 ประเทศทั่วโลกได้ร่วมกันหารือในประเด็น การกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาบุหรี่เถื่อน โดย 1.ห้ามขายบุหรี่ปลอดภาษี โดยเฉพาะในร้านสินค้าปลอดภาษีของสนามบินต่างๆ ที่สามารถขายบุหรี่ได้แต่ต้องเป็นบุหรี่ที่จัดเก็บภาษีแล้วเท่านั้น เนื่องจากช่องทางนี้เป็นสาเหตุสำคัญในการมีบุหรี่เถื่อนเล็ดลอดออกมาจำหน่ายในประเทศเป็นจำนวนมาก
2.ห้ามโฆษณาขายบุหรี่ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งจากการศึกษาพบว่า มาตรการห้ามโฆษณาบุหรี่ 100% จึงสามารถลดการสูบบุหรี่ได้เต็มที่ 3.ห้ามขายบุหรี่อิเลกทรอนิกส์ และ 4.ห้ามจำหน่ายบารากู่ หรือ ฮุกก้า ซึ่งยังจะต้องประชุมอีก 2-3 ครั้ง จึงจะได้ข้อสรุป เพราะที่ผ่านมายังไม่เคยมีประเด็นเหล่านี้บรรจุในกฎหมายของประเทศสมาชิกอนุสัญญาฯมาก่อน
“ส่วนอัตราภาษีที่ประเทศไทยกำหนดไว้ 63% ของราคาขายปลีกก็ยังถูกกว่าที่ธนาคารโลกได้กำหนดอัตราภาษีบุหรี่ที่จะส่งผลต่อการลดการสูบบุหรี่ของประชากรคือ 68-80% ของราคาขายปลีกด้วย ดังนั้น ไทยยังสามารถเพิ่มอัตราภาษีบุหรี่ตามเพดานที่ธนาคารโลกกำหนดไว้ โดยขณะนี้เพดารภาษีขอไทยปัจจุบันอยู่ที่ 80% ซึ่งได้มีการจัดเก็บภาษีเกือบเต็มเพดานแล้ว คณะกรรมการกำหนดภาษีสรรพสามิตที่มีตัวแทนมาจากหลายหน่วยงานทั้ง กรมสรรพากร กรมควบคุมโรค ฯลฯ จึอาจแก้ไข พ.ร.บ.ยาสูบ ปรับอัตราภาษีใหม่เป็น 90% โดยภาครัฐควรดำเนินการขึ้นภาษีแบบค่อยเป็นค่อยไป” ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ศ.นพ.ประกิต กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ทราบมาว่า บริษัทบุหรี่ข้ามชาติที่มีบริษัทแม่อยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ได้ให้รัฐบาลประเทศฟิลิปปินส์ร้องเรียนไปยังองค์การการค้าโลกเกี่ยวกับกรณีที่กรมสรรพสามิตของไทยคำนวณอัตราภาษีบุหรี่จากต้นทุนบุหรี่ของบริษัทดังกล่าวในราคา 8 บาทต่อซอง ทั้งที่บริษัทได้แจ้งมาเพียง 7 บาทต่อซองเท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมทางการค้ากับบริษัทบุหรี่รายนั้น และให้กลับมาคำนวณต้นทุนบุหรี่ในราคาที่แจ้งตามเดิม
“บุหรี่ไทยที่โรงงานยาสูบผลิตเองในประเทศ เมื่อคิดรวมอัตราค่าขนส่งแล้วต้นทุนซองละ 6 บาท จึงเป็นไปไม่ได้ที่บุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาต่างกันเพียง 1 บาทเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ราคาขายบุหรี่นำเข้ามีต้นทุนต่ำมาก แม้ว่ารวมภาษีแล้วก็จะมีราคา 26 บาท ขณะที่บุหรี่ไทยรวมต้นทุนทุกอย่างแล้วมีราคาประมาณ 23 บาทต่อซอง แต่เมื่อนำวางจำหน่ายบุหรี่นำเข้ามีราคาสูงถึง 65 บาทต่อซอง นับว่าเป็นราคาที่แพงมาก และบริษัทบุหรี่นำเข้าก็ได้กำไรมหาศาลจากบุหรี่”ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ด้าน นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย(สสท.) และในฐานะประธานการประชุม กล่าวว่า ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเช่นนี้ เกิดภาวะตกงาน ประชาชนยากจนลง โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งผู้บริโภคยาสูบของประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทำให้ประชาชนหันไปสูบบุหรี่มวนเอง คาดผู้สูบบุหรี่ในอีก 2 ข้างหน้าผู้สูบบุหรี่มวนเองจะมีสัดส่วนมากกว่า 50% ของผู้ที่สูบบุหรี่ทั้งหมด โดยเฉพาะในภาคอีสาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าวิตกอย่างมาก อีกทั้งทำให้ประชาชนมีศักยภาพในการซื้อน้อยลง จึงทำให้เกิดปัญหาเรื่องการจำหน่ายบุหรี่แบ่งขาย หรือบุหรี่ซองเล็กที่บรรจุน้อยกว่า 20 มวนตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงปัญหาของการลักลอบนำบุหรี่เถื่อนมาขายมีมากขึ้น
“วิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ คือ จะต้องจะระเบียบระบบการจำหน่ายบุหรี่มวนเอง ให้มีการเก็บภาษี เพราะปัจจุบันยาเส้นที่นำมาใช้ไม่มีการเก็บภาษีจึงทำให้ราคาถูกมาก ซึ่งที่ผ่านมาสาธารณสุขได้หารือกับกรมสรรพสามิต กระทรวงคลัง ในการหามาตรการในการจัดเก็บภาษียาเส้น ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการที่ประชาชนจะมวนบุหรี่สูบเอง นอกจากนี้ ต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 ในการห้ามจำหน่ายบุหรี่ซองเล็กและปราบบุหรี่เถื่อนอย่างจริงจังมากขึ้นด้วย” นพ.หทัย กล่าว
สำหรับการประชุมของสมาคมวิจัยการเสพติดนิโคตินและยาสูบภาคพื้นเอเชียครั้งที่ 1 ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่เป็นเจ้าภาพในการประชุมนานาชาติ มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 350 คน จาก 15 ประเทศ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมยาสูบจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ อินเดีย จีน และ ออสเตรเลีย ระหว่าวันที่ 28-31 ตุลาคม 2551 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์
วันที่ 29 ตุลาคม ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ในการประชุมของสมาคมวิจัยการเสพติดนิโคตินและยาสูบภาคพื้นเอเชีย ครั้งที่ 1 ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีการประชุมยกร่างพิธีสารป้องกันบุหรี่เถื่อนตามอนุสัญญาควบคุมการบริโภคยาสูบ มาตรา 15 ซึ่งมีสมาชิก 160 ประเทศทั่วโลกได้ร่วมกันหารือในประเด็น การกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาบุหรี่เถื่อน โดย 1.ห้ามขายบุหรี่ปลอดภาษี โดยเฉพาะในร้านสินค้าปลอดภาษีของสนามบินต่างๆ ที่สามารถขายบุหรี่ได้แต่ต้องเป็นบุหรี่ที่จัดเก็บภาษีแล้วเท่านั้น เนื่องจากช่องทางนี้เป็นสาเหตุสำคัญในการมีบุหรี่เถื่อนเล็ดลอดออกมาจำหน่ายในประเทศเป็นจำนวนมาก
2.ห้ามโฆษณาขายบุหรี่ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งจากการศึกษาพบว่า มาตรการห้ามโฆษณาบุหรี่ 100% จึงสามารถลดการสูบบุหรี่ได้เต็มที่ 3.ห้ามขายบุหรี่อิเลกทรอนิกส์ และ 4.ห้ามจำหน่ายบารากู่ หรือ ฮุกก้า ซึ่งยังจะต้องประชุมอีก 2-3 ครั้ง จึงจะได้ข้อสรุป เพราะที่ผ่านมายังไม่เคยมีประเด็นเหล่านี้บรรจุในกฎหมายของประเทศสมาชิกอนุสัญญาฯมาก่อน
“ส่วนอัตราภาษีที่ประเทศไทยกำหนดไว้ 63% ของราคาขายปลีกก็ยังถูกกว่าที่ธนาคารโลกได้กำหนดอัตราภาษีบุหรี่ที่จะส่งผลต่อการลดการสูบบุหรี่ของประชากรคือ 68-80% ของราคาขายปลีกด้วย ดังนั้น ไทยยังสามารถเพิ่มอัตราภาษีบุหรี่ตามเพดานที่ธนาคารโลกกำหนดไว้ โดยขณะนี้เพดารภาษีขอไทยปัจจุบันอยู่ที่ 80% ซึ่งได้มีการจัดเก็บภาษีเกือบเต็มเพดานแล้ว คณะกรรมการกำหนดภาษีสรรพสามิตที่มีตัวแทนมาจากหลายหน่วยงานทั้ง กรมสรรพากร กรมควบคุมโรค ฯลฯ จึอาจแก้ไข พ.ร.บ.ยาสูบ ปรับอัตราภาษีใหม่เป็น 90% โดยภาครัฐควรดำเนินการขึ้นภาษีแบบค่อยเป็นค่อยไป” ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ศ.นพ.ประกิต กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ทราบมาว่า บริษัทบุหรี่ข้ามชาติที่มีบริษัทแม่อยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ได้ให้รัฐบาลประเทศฟิลิปปินส์ร้องเรียนไปยังองค์การการค้าโลกเกี่ยวกับกรณีที่กรมสรรพสามิตของไทยคำนวณอัตราภาษีบุหรี่จากต้นทุนบุหรี่ของบริษัทดังกล่าวในราคา 8 บาทต่อซอง ทั้งที่บริษัทได้แจ้งมาเพียง 7 บาทต่อซองเท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมทางการค้ากับบริษัทบุหรี่รายนั้น และให้กลับมาคำนวณต้นทุนบุหรี่ในราคาที่แจ้งตามเดิม
“บุหรี่ไทยที่โรงงานยาสูบผลิตเองในประเทศ เมื่อคิดรวมอัตราค่าขนส่งแล้วต้นทุนซองละ 6 บาท จึงเป็นไปไม่ได้ที่บุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาต่างกันเพียง 1 บาทเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ราคาขายบุหรี่นำเข้ามีต้นทุนต่ำมาก แม้ว่ารวมภาษีแล้วก็จะมีราคา 26 บาท ขณะที่บุหรี่ไทยรวมต้นทุนทุกอย่างแล้วมีราคาประมาณ 23 บาทต่อซอง แต่เมื่อนำวางจำหน่ายบุหรี่นำเข้ามีราคาสูงถึง 65 บาทต่อซอง นับว่าเป็นราคาที่แพงมาก และบริษัทบุหรี่นำเข้าก็ได้กำไรมหาศาลจากบุหรี่”ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ด้าน นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย(สสท.) และในฐานะประธานการประชุม กล่าวว่า ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเช่นนี้ เกิดภาวะตกงาน ประชาชนยากจนลง โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งผู้บริโภคยาสูบของประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทำให้ประชาชนหันไปสูบบุหรี่มวนเอง คาดผู้สูบบุหรี่ในอีก 2 ข้างหน้าผู้สูบบุหรี่มวนเองจะมีสัดส่วนมากกว่า 50% ของผู้ที่สูบบุหรี่ทั้งหมด โดยเฉพาะในภาคอีสาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าวิตกอย่างมาก อีกทั้งทำให้ประชาชนมีศักยภาพในการซื้อน้อยลง จึงทำให้เกิดปัญหาเรื่องการจำหน่ายบุหรี่แบ่งขาย หรือบุหรี่ซองเล็กที่บรรจุน้อยกว่า 20 มวนตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงปัญหาของการลักลอบนำบุหรี่เถื่อนมาขายมีมากขึ้น
“วิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ คือ จะต้องจะระเบียบระบบการจำหน่ายบุหรี่มวนเอง ให้มีการเก็บภาษี เพราะปัจจุบันยาเส้นที่นำมาใช้ไม่มีการเก็บภาษีจึงทำให้ราคาถูกมาก ซึ่งที่ผ่านมาสาธารณสุขได้หารือกับกรมสรรพสามิต กระทรวงคลัง ในการหามาตรการในการจัดเก็บภาษียาเส้น ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการที่ประชาชนจะมวนบุหรี่สูบเอง นอกจากนี้ ต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 ในการห้ามจำหน่ายบุหรี่ซองเล็กและปราบบุหรี่เถื่อนอย่างจริงจังมากขึ้นด้วย” นพ.หทัย กล่าว
สำหรับการประชุมของสมาคมวิจัยการเสพติดนิโคตินและยาสูบภาคพื้นเอเชียครั้งที่ 1 ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่เป็นเจ้าภาพในการประชุมนานาชาติ มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 350 คน จาก 15 ประเทศ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมยาสูบจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ อินเดีย จีน และ ออสเตรเลีย ระหว่าวันที่ 28-31 ตุลาคม 2551 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์