ผู้จัดการรายวัน - สกศ.จับมือมาเลย์ จัดสัมมนาวิชาการ เตรียมขนงานวิจัยทางด้านการศึกษาไปโชว์เพียบ ด้านมาเลเซียให้ความสนใจระบบประกันคุณภาพการศึกษาของไทย เพราะมีความก้าวหน้าอย่างมาก “ธงทอง” ระบุระบบอิสลามศึกษาของมาเลเซียมีความเข้มแข็ง สามารถนำมาปรับใช้ 3 จังหวัดชายแดนใต้ลดความขัดแย้งได้
รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากการลงนามข้อตกลง (MOU) โครงการความร่วมมือทางการศึกษาไทย-มาเลเซีย ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไทย และ มาเลเซีย เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา ดังนั้น สกศ.ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักหน่วยงานหนึ่งของ ศธ. จึงได้มีความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับ Education Planning and Research Division (EPRD) ซึ่งเป็นหน่วยงานทางการศึกษาของมาเลเซีย ที่มีหน้าที่ทำวิจัยและวางแผนทางการศึกษาเช่นเดียวกับ สกศ.โดยจะมีการวิจัยและจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการร่วมกันเพื่อให้นักวิจัย ครู และผู้บริหารทางการศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับงานวิจัยทางการศึกษา ซึ่งในปีนี้ทางมาเลเซียเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม ระหว่างวันที่ 17-20 พฤศจิกายน 2551 ที่รัฐซาลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าว สกศ.ได้เตรียมงานวิจัยหัวข้อต่างๆ ไปนำเสนอ อาทิ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, การใช้ภูมิปัญญาและแหล่งการเรียนรู้, โรงเรียนในสถานประกอบการ, การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) เพื่อการศึกษา, การส่งเสริมผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ, การเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์, การปลูกฝังคุณธรรมในสถานศึกษา และอิสลามศึกษา เป็นต้น
“ประเทศมาเลเซียให้ความสนใจเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาของไทยเป็นพิเศษ เนื่องจากเห็นว่าประเทศไทยมีความก้าวหน้าในเรื่องนี้ ขณะที่การเรียนการสอนของมาเลเซียโดดเด่นเรื่องการใช้ไอซีทีในการศึกษา มีการดำเนินโครงการ Smart School ที่คล้ายโครงการโรงเรียนในฝันของไทย แต่เขาดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง และจริงจังมาตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน ทำให้เห็นผลการพัฒนาโดยเด็กมีการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ และรู้จักคิดวิเคราะห์ได้ และครูของเขาได้รับการพัฒนาให้ใช้ ICT ในการเรียนการสอนได้จริงทุกวิชา นอกจากนี้ การศึกษาของมาเลเซียยังเน้นเรื่องคุณธรรมเป็นเรื่องสำคัญ และการเรียนภาษาที่สอง ที่สอนถึง 4 ภาษาทำให้ประเทศเขาได้เปรียบในการติดต่อสื่อสารกับนานาชาติ ซึ่งการจัดการศึกษาของมาเลเซียจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนของไทยต่อไป” เลขาธิการ สกศ.กล่าว
รศ.ธงทอง กล่าวอีกว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้ครูและผู้บริหารการศึกษาของไทย ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลทางการศึกษากับประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องต่างๆ เพราะแม้ว่ามาเลเซียจะเป็นประเทศในภูมิภาคเดียวกับประเทศไทย แต่มีการพัฒนาทางการศึกษาไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีหลักสูตรอิสลามศึกษาที่ดี ดังนั้น เราจึงควรเรียนรู้จากประเทศใกล้เคียง ที่แม้จะมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ แต่สามารถจัดการศึกษาได้โดยไม่มีปัญหาความแตกแยก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยต่อไปด้วย
รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากการลงนามข้อตกลง (MOU) โครงการความร่วมมือทางการศึกษาไทย-มาเลเซีย ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไทย และ มาเลเซีย เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา ดังนั้น สกศ.ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักหน่วยงานหนึ่งของ ศธ. จึงได้มีความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับ Education Planning and Research Division (EPRD) ซึ่งเป็นหน่วยงานทางการศึกษาของมาเลเซีย ที่มีหน้าที่ทำวิจัยและวางแผนทางการศึกษาเช่นเดียวกับ สกศ.โดยจะมีการวิจัยและจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการร่วมกันเพื่อให้นักวิจัย ครู และผู้บริหารทางการศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับงานวิจัยทางการศึกษา ซึ่งในปีนี้ทางมาเลเซียเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม ระหว่างวันที่ 17-20 พฤศจิกายน 2551 ที่รัฐซาลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าว สกศ.ได้เตรียมงานวิจัยหัวข้อต่างๆ ไปนำเสนอ อาทิ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, การใช้ภูมิปัญญาและแหล่งการเรียนรู้, โรงเรียนในสถานประกอบการ, การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) เพื่อการศึกษา, การส่งเสริมผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ, การเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์, การปลูกฝังคุณธรรมในสถานศึกษา และอิสลามศึกษา เป็นต้น
“ประเทศมาเลเซียให้ความสนใจเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาของไทยเป็นพิเศษ เนื่องจากเห็นว่าประเทศไทยมีความก้าวหน้าในเรื่องนี้ ขณะที่การเรียนการสอนของมาเลเซียโดดเด่นเรื่องการใช้ไอซีทีในการศึกษา มีการดำเนินโครงการ Smart School ที่คล้ายโครงการโรงเรียนในฝันของไทย แต่เขาดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง และจริงจังมาตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน ทำให้เห็นผลการพัฒนาโดยเด็กมีการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ และรู้จักคิดวิเคราะห์ได้ และครูของเขาได้รับการพัฒนาให้ใช้ ICT ในการเรียนการสอนได้จริงทุกวิชา นอกจากนี้ การศึกษาของมาเลเซียยังเน้นเรื่องคุณธรรมเป็นเรื่องสำคัญ และการเรียนภาษาที่สอง ที่สอนถึง 4 ภาษาทำให้ประเทศเขาได้เปรียบในการติดต่อสื่อสารกับนานาชาติ ซึ่งการจัดการศึกษาของมาเลเซียจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนของไทยต่อไป” เลขาธิการ สกศ.กล่าว
รศ.ธงทอง กล่าวอีกว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้ครูและผู้บริหารการศึกษาของไทย ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลทางการศึกษากับประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องต่างๆ เพราะแม้ว่ามาเลเซียจะเป็นประเทศในภูมิภาคเดียวกับประเทศไทย แต่มีการพัฒนาทางการศึกษาไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีหลักสูตรอิสลามศึกษาที่ดี ดังนั้น เราจึงควรเรียนรู้จากประเทศใกล้เคียง ที่แม้จะมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ แต่สามารถจัดการศึกษาได้โดยไม่มีปัญหาความแตกแยก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยต่อไปด้วย