อธิการบดี มศว แนะ “น้องเขยแม้ว” ควบเก้าอี้ รมว.ศธ. ดันการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ ยาหอมรัฐบาลละเลยการศึกษาปฐมวัยมาตลอด จน “สมชาย” มานั่งเสมา 1 ถึงถูกหยิบยกมาพูดคุย ขอให้ทำงานการศึกษาต่อเพราะเข้าใจงานระดับหนึ่งแล้ว
ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า ที่ประชุมสภาผู้แทนราษรมีมติเสนอให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 นั้นตนอยากฝากถึงนายสมชายว่า หากสามารถนั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ต่อไปก็จะเป็นการดี อยากจะให้นายสมชายรับตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการต่อ เนื่องจากนายสมชายได้ทำงานการศึกษามาระยะหนึ่ง มีความเข้าใจและคิดว่าได้มองเห็นความสำคัญของการศึกษาไทย ตนอยากเห็นนายสมชายผลักดันเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ และต้องการให้ความสำคัญกับมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหรือการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้การพัฒนาครูอาจารย์ประจำการก็เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินอย่างเร่งด่วน และต้องโยงไปถึงการพัฒนา สนับสนุนนิสิตครูเพื่อเข้าสู่ระบบการศึกษาต่อไปด้วย
ศ.ดร.วิรุณ กล่าวอีกว่า อยากให้นายกรัฐมนตรีเอาจริงเอาจังในเรื่องการศึกษาระดับปฐมวัยซึ่งถือเป็นรากฐานทางด้านการศึกษา ที่ผ่านมารัฐบาลไม่สนใจและไม่ให้ความสำคัญในเรื่องการสนับสนุนครูปฐมวัย จนเมื่อนายสมชาย เข้ามานั่งในตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการ มีการพูดคุยและขับเคลื่อนในเรื่องนี้ไปได้ในระดับหนึ่ง จึงอยากให้ทำเรื่องนี้ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระบวนการผลิต กระบวนการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน การให้การสนับสนุนโดยรัฐ ส่วนเรื่องเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ความต้องการพิเศษ และเด็กด้อยโอกาสก็ต้องสนใจเช่นกัน เด็กที่มีความสามารถพิเศษหากพัฒนาและสนใจ พวกเขาจะเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมไทยได้ ส่วนกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษเราต้องให้ความดูแลเอาใจใส่ ช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อให้เขาช่วยเหลือตัวเองให้ได้ เพื่อว่าเขาจะไม่ต้องเป็นภาระของสังคม
อธิการบดี มศว กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีเด็กด้อยโอกาสอาทิเด็กชาวเขา เด็กที่เป็นลูกคนงานก่อสร้างที่ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือและถูกละเลย พ่อแม่ต้องย้ายที่ทำงานบ่อยๆ หรือเด็กที่ไร้สัญชาติไม่มีบัตรประชาชนและยังมีเด็กที่อยู่ในพื้นที่ชายแดนหรือพื้นที่ๆ ไม่มีความปลอดภัยอย่าง 3 จังหวัดชายแดนใต้ ส่วนการศึกษาในระดับอาชีวศึกษานั้นก็ต้องให้ความสำคัญทำอย่างไรให้การเรียนการสอนในระดับอาชีวะอยู่บนฐานของความรู้และการวิจัย ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะฝีมือ การให้การสนับสนุนระบบ ICT เพื่อการศึกษาทั้งระบบต้องเร่งดำเนินการและไม่ใช่จะมุ่งแค่ฮาร์ดแวร์ แต่ต้องมุ่งเน้นซอฟต์แวร์ สาระเนื้อหาต่างๆ ของรายละเอียดวิชาต่างๆ ด้วย
ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า ที่ประชุมสภาผู้แทนราษรมีมติเสนอให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 นั้นตนอยากฝากถึงนายสมชายว่า หากสามารถนั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ต่อไปก็จะเป็นการดี อยากจะให้นายสมชายรับตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการต่อ เนื่องจากนายสมชายได้ทำงานการศึกษามาระยะหนึ่ง มีความเข้าใจและคิดว่าได้มองเห็นความสำคัญของการศึกษาไทย ตนอยากเห็นนายสมชายผลักดันเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ และต้องการให้ความสำคัญกับมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหรือการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้การพัฒนาครูอาจารย์ประจำการก็เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินอย่างเร่งด่วน และต้องโยงไปถึงการพัฒนา สนับสนุนนิสิตครูเพื่อเข้าสู่ระบบการศึกษาต่อไปด้วย
ศ.ดร.วิรุณ กล่าวอีกว่า อยากให้นายกรัฐมนตรีเอาจริงเอาจังในเรื่องการศึกษาระดับปฐมวัยซึ่งถือเป็นรากฐานทางด้านการศึกษา ที่ผ่านมารัฐบาลไม่สนใจและไม่ให้ความสำคัญในเรื่องการสนับสนุนครูปฐมวัย จนเมื่อนายสมชาย เข้ามานั่งในตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการ มีการพูดคุยและขับเคลื่อนในเรื่องนี้ไปได้ในระดับหนึ่ง จึงอยากให้ทำเรื่องนี้ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระบวนการผลิต กระบวนการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน การให้การสนับสนุนโดยรัฐ ส่วนเรื่องเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ความต้องการพิเศษ และเด็กด้อยโอกาสก็ต้องสนใจเช่นกัน เด็กที่มีความสามารถพิเศษหากพัฒนาและสนใจ พวกเขาจะเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมไทยได้ ส่วนกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษเราต้องให้ความดูแลเอาใจใส่ ช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อให้เขาช่วยเหลือตัวเองให้ได้ เพื่อว่าเขาจะไม่ต้องเป็นภาระของสังคม
อธิการบดี มศว กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีเด็กด้อยโอกาสอาทิเด็กชาวเขา เด็กที่เป็นลูกคนงานก่อสร้างที่ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือและถูกละเลย พ่อแม่ต้องย้ายที่ทำงานบ่อยๆ หรือเด็กที่ไร้สัญชาติไม่มีบัตรประชาชนและยังมีเด็กที่อยู่ในพื้นที่ชายแดนหรือพื้นที่ๆ ไม่มีความปลอดภัยอย่าง 3 จังหวัดชายแดนใต้ ส่วนการศึกษาในระดับอาชีวศึกษานั้นก็ต้องให้ความสำคัญทำอย่างไรให้การเรียนการสอนในระดับอาชีวะอยู่บนฐานของความรู้และการวิจัย ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะฝีมือ การให้การสนับสนุนระบบ ICT เพื่อการศึกษาทั้งระบบต้องเร่งดำเนินการและไม่ใช่จะมุ่งแค่ฮาร์ดแวร์ แต่ต้องมุ่งเน้นซอฟต์แวร์ สาระเนื้อหาต่างๆ ของรายละเอียดวิชาต่างๆ ด้วย