โรคฟันผุนี้เกิดจากการใช้ชีวิตของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่รับประทาน วิธีการดูแลรักษาความสะอาดของเราเอง หรือปริมาณสารฟลูออไรด์ที่เราบริโภคเข้าไปแม้กระทั่งการถ่ายทอดทางพันธุกรรมก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
แม้ว่าฟันผุจะพบบ่อยในเด็ก แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่พบอาการฟันผุในผู้ใหญ่ ซึ่งอาการฟันผุที่พบบ่อยได้แก่
● ฟันผุด้านบดเคี้ยว เป็นประเภทที่พบมากที่สุดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
● ฟันผุที่เกิดบนผิวรากฟัน ยิ่งเมื่อมีอายุมากขึ้น เหงือกก็จะถอยร่นไป ทำให้บริเวณ รากฟันสัมผัสกับแบคทีเรียมากขึ้น
● ฟันผุที่เกิดซ้ำภายหลังการอุดฟัน หลังจากอุดฟันไปได้สักระยะหนึ่งจะเกิดรอยผุ ที่วัสดุอุด เพราะมีเชื้อแบคทีเรียสะสมอยู่ จนเกิดพลัค และในที่สุดก็เกิดอาการ ฟันผุกลับมาได้อีกครั้ง
ในผู้ใหญ่ที่มีอาการ “ปากแห้ง” ไม่ว่าจะมาจากการทำเคมีบำบัด การเจ็บป่วย หรือว่ายาต่างๆ จะเกิดฟันผุได้ง่าย เพราะว่าร่างกายผลิตน้ำลายออกมาน้อย
จะรู้ได้อย่างไรว่ามีฟันผุอยู่
มีเพียงทันตแพทย์เท่านั้นที่จะบอกได้แน่นอนว่าคุณมีฟันผุหรือไม่ เพราะว่าอาการฟันผุจะเริ่มต้นที่บริเวณใต้ผิวฟัน เมื่อคุณรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (น้ำตาล หรือแป้ง) เข้าไป และแบคทีเรียก็จะกินอาหารเหล่านี้แล้วปล่อยกรดออกมาทำลายสารเคลือบฟัน และเมื่อนานๆ เข้าก็จะทำให้สารเคลือบเหล่านี้ผุกร่อน
โรคฟันผุนี้เป็นโรคที่หลายคนมองข้าม และไม่ให้ความใส่ใจเมื่อมีอาการซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หากว่าปล่อยไว้ นานๆ นั้นอาจจะเข้าไปทำลายระบบประสาทที่รากฟันก็ได้ จนในที่สุดอาจจะต้องรับการผ่าตัดเพื่อรักษา
วิธีการป้องกันฟันผุ
● แปรงฟันเป็นประจำทุกวัน วันละ 2 ครั้งเพื่อขจัดคราบพลัคที่ติตามบริเวณฟันและช่องฟัน
● พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ และเพื่อรักษาอาการฟันผุตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
● บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพปากและฟัน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลหรือว่าแป้ง
● ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดปากและฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
● ให้เด็กดื่มน้ำที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ หรือว่ารับประทานอาหารเสริมประเภทฟลูออไรด์
ง่ายๆ เพียงเท่านี้ โรคฟันผุก็ไม่มาเยือนแล้วล่ะค่ะ