กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวังฟลูออไรด้ในน้ำดื่มด้วยการสนับสนุนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นส่งน้ำประปาตรวจหาฟลูออไรด์ เพื่อป้องกันการเกิดฟันตกกระในเด็ก
นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงการป้องกันปัจจัยเสี่ยงเกิดฟันตกกระในเด็กว่า จากกรณีที่ข่าวเด็กนักเรียนในจังหวัดอุตรดิตถ์เกือบ 60 คน เป็นโรคฟันตกกระสาเหตุมาจากบ่อน้ำบาดาลที่ขุดขึ้นมาใช้เมื่อ10 ปีก่อนนั้น เป็นปัญหาที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเร่งหาทางป้องกันและแก้ไข โดยเฉพาะหมู่บ้านที่ยังคงอาศัยน้ำบาดาลสำหรับใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคในครัวเรือน ผู้นำหมู่บ้านหรือผู้นำองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องส่งน้ำประปาของหมู่บ้านหรือน้ำบริโภคที่จะจัดให้กับชุมชนตรวจหาฟลูออไรด์อย่างเร่งด่วน เพราะปัจจัยที่ทำให้พบปัญหาการเกิดโรคฟันตกกระเพิ่มมากขึ้นในหลายพื้นที่
เนื่องจากปัจจุบันมีการนำน้ำบาดาลมาผลิตเป็นประปาชุมชนกันมากขึ้น และบางพื้นที่พบว่าน้ำบาดาลมีปริมาณฟลูออไรด์สูงต่างจากในอดีตที่ประชาชนมักบริโภคน้ำฝน น้ำบ่อตื้นหรือน้ำผิวดินจากแม่น้ำลำธารซึ่งมีฟลูออไรด์ต่ำ
นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมากรมอนามัยได้กำหนดมาตรฐานปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำประปาที่มีคุณภาพดี ดื่มได้ควรอยู่ในระดับไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อป้องกันการเกิดฟันตกกระซึ่งเป็นความผิดปกติของฟันที่เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์สูง ขณะที่ฟันกำลังสร้างในช่วงตั้งแต่เด็กแรกเกิดถึงอายุ 8 ปี โดยลักษณะของฟันตกกระจะเห็นผิวฟันมีสีขาวขุ่นเหมือนชอล์ก ในรายที่เป็นรุนแรงผิวฟันจะเห็นเป็นสีน้ำตาล เป็นหลุมหรือกระเทาะและไม่สามารถรักษาให้หายกลับสู่ภาวะปกติได้
การแก้ปัญหาเพื่อให้ฟันสามารถใช้งานได้คือทำครอบฟัน ซึ่งส่วนใหญ่ต้องทำอย่างน้อย 2-4 ซี่ และมีราคาสูงประมาณ 8,000-16,000 บาทต่อคน ในขณะที่การส่งน้ำตรวจหาปริมาณฟลูออไรด์เพื่อเฝ้าระวังการเกิดฟันตกกระในเด็กมีค่าใช้จ่ายเพียง 200 บาท หรือการตรวจคุณภาพน้ำดื่มเพื่อหาสารปนเปื้อนที่ไม่ปลอดภัยทุกชนิดมีค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000 บาท เท่ากับการรักษาฟันตกกระของเด็กเพียง 1ซี่เท่านั้น
นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในพื้นที่ที่พบปัญหาฟันตกกระเช่นเดียวกับจังหวัดอุตรดิตถ์ และมีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มสูงเกิน 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร ประชาชนในพื้นที่ควรเปลี่ยนบริโภคน้ำที่มีฟลูออไรด์ต่ำ เช่น น้ำฝน น้ำผิวดิน หรือถ้าจำเป็นก็ต้องเลือกใช้แหล่งน้ำทางเลือกอื่นเช่น น้ำบรรจุขวด โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า8 ปีซึ่งเป็นช่วงที่ฟันส่วนใหญ่กำลังสร้าง จึงต้องให้ความสำคัญกับน้ำที่เด็กดื่มรวมถึงน้ำที่ใช้ชงนมให้เด็ก เพื่อป้องกันฟันตกกระนอกจากนี้หากปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มมากกว่า 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ยังมีผลทำให้เกิดความผิดปกติต่อกระดูกทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้ด้วย
“ทั้งนี้ สำหรับการตรวจวิเคราะห์หาฟลูออไรด์ในน้ำประปา ประชาชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถส่งน้ำตรวจได้ที่กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0-2590- 4215 หรือทาง weerada@health2.moph.go.th หรือที่ฝ่ายทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด”
นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงการป้องกันปัจจัยเสี่ยงเกิดฟันตกกระในเด็กว่า จากกรณีที่ข่าวเด็กนักเรียนในจังหวัดอุตรดิตถ์เกือบ 60 คน เป็นโรคฟันตกกระสาเหตุมาจากบ่อน้ำบาดาลที่ขุดขึ้นมาใช้เมื่อ10 ปีก่อนนั้น เป็นปัญหาที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเร่งหาทางป้องกันและแก้ไข โดยเฉพาะหมู่บ้านที่ยังคงอาศัยน้ำบาดาลสำหรับใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคในครัวเรือน ผู้นำหมู่บ้านหรือผู้นำองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องส่งน้ำประปาของหมู่บ้านหรือน้ำบริโภคที่จะจัดให้กับชุมชนตรวจหาฟลูออไรด์อย่างเร่งด่วน เพราะปัจจัยที่ทำให้พบปัญหาการเกิดโรคฟันตกกระเพิ่มมากขึ้นในหลายพื้นที่
เนื่องจากปัจจุบันมีการนำน้ำบาดาลมาผลิตเป็นประปาชุมชนกันมากขึ้น และบางพื้นที่พบว่าน้ำบาดาลมีปริมาณฟลูออไรด์สูงต่างจากในอดีตที่ประชาชนมักบริโภคน้ำฝน น้ำบ่อตื้นหรือน้ำผิวดินจากแม่น้ำลำธารซึ่งมีฟลูออไรด์ต่ำ
นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมากรมอนามัยได้กำหนดมาตรฐานปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำประปาที่มีคุณภาพดี ดื่มได้ควรอยู่ในระดับไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อป้องกันการเกิดฟันตกกระซึ่งเป็นความผิดปกติของฟันที่เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์สูง ขณะที่ฟันกำลังสร้างในช่วงตั้งแต่เด็กแรกเกิดถึงอายุ 8 ปี โดยลักษณะของฟันตกกระจะเห็นผิวฟันมีสีขาวขุ่นเหมือนชอล์ก ในรายที่เป็นรุนแรงผิวฟันจะเห็นเป็นสีน้ำตาล เป็นหลุมหรือกระเทาะและไม่สามารถรักษาให้หายกลับสู่ภาวะปกติได้
การแก้ปัญหาเพื่อให้ฟันสามารถใช้งานได้คือทำครอบฟัน ซึ่งส่วนใหญ่ต้องทำอย่างน้อย 2-4 ซี่ และมีราคาสูงประมาณ 8,000-16,000 บาทต่อคน ในขณะที่การส่งน้ำตรวจหาปริมาณฟลูออไรด์เพื่อเฝ้าระวังการเกิดฟันตกกระในเด็กมีค่าใช้จ่ายเพียง 200 บาท หรือการตรวจคุณภาพน้ำดื่มเพื่อหาสารปนเปื้อนที่ไม่ปลอดภัยทุกชนิดมีค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000 บาท เท่ากับการรักษาฟันตกกระของเด็กเพียง 1ซี่เท่านั้น
นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในพื้นที่ที่พบปัญหาฟันตกกระเช่นเดียวกับจังหวัดอุตรดิตถ์ และมีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มสูงเกิน 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร ประชาชนในพื้นที่ควรเปลี่ยนบริโภคน้ำที่มีฟลูออไรด์ต่ำ เช่น น้ำฝน น้ำผิวดิน หรือถ้าจำเป็นก็ต้องเลือกใช้แหล่งน้ำทางเลือกอื่นเช่น น้ำบรรจุขวด โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า8 ปีซึ่งเป็นช่วงที่ฟันส่วนใหญ่กำลังสร้าง จึงต้องให้ความสำคัญกับน้ำที่เด็กดื่มรวมถึงน้ำที่ใช้ชงนมให้เด็ก เพื่อป้องกันฟันตกกระนอกจากนี้หากปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มมากกว่า 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ยังมีผลทำให้เกิดความผิดปกติต่อกระดูกทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้ด้วย
“ทั้งนี้ สำหรับการตรวจวิเคราะห์หาฟลูออไรด์ในน้ำประปา ประชาชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถส่งน้ำตรวจได้ที่กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0-2590- 4215 หรือทาง weerada@health2.moph.go.th หรือที่ฝ่ายทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด”