สธ.จัดโครงการยิ้มสดใส เด็กไทยฟันดี เป็นของขวัญวันเด็กในปี 2551 โดยจัดบริการเคลือบหลุมร่องฟันกราม 4 ซี่ ให้เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 400,000 คน เพื่อป้องกันฟันผุ ใช้งบดำเนินการ 193 ล้านบาท ชี้ผลการศึกษาที่ผ่านมาพบฟันกรามแท้ซี่แรกเสี่ยงผุสูงที่สุด เหตุเพราะพ่อแม่ส่วนใหญ่เข้าใจผิด เพราะคิดว่าเป็นฟันน้ำนม
วันนี้ (12 ม.ค.) นพ.มรกต กรเกษม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ พ.ศ.2551 กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำโครงการยิ้มสดใส เด็กไทยฟันดี เพื่อมอบเป็นของขวัญเด็กไทย ซึ่งเป็นการสืบสานพระปณิธานของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ได้สนพระทัยในการป้องกันโรคฟันผุในเด็กไทย ด้วยวิธีเคลือบหลุมร่องฟันและการแปรงฟันให้สะอาด โดยในปีนี้มีเป้าหมายให้บริการเคลือบหลุมร่องฟันเด็กนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นประถมปีที่ 1 ทั่วประเทศ จำนวน 400,000 คน ใช้งบประมาณทั้งหมด 193 ล้านบาท โดยได้จัดสรรให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศไปแล้ว เด็กไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
นพ.มรกต กล่าวว่า จากผลการสำรวจสุขภาพฟันของเด็กไทยล่าสุด เมื่อ พ.ศ. 2547 พบว่า ในเด็กอายุ 5-6 ปี ซึ่งมีเกือบ 2 ล้านคน ในจำนวนนี้มีเด็กที่ฟันไม่ผุเลย เพียงร้อยละ 13 หรือประมาณ 260,000 คนเท่านั้น ซึ่งจัดว่ายังต่ำกว่าเป้าหมายระดับประเทศที่กำหนด จะต้องมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 และระดับโลก ที่กำหนดไว้ถึงร้อยละ 50 ของเด็กวัยดังกล่าว
ทั้งนี้ โดยทั่วไปฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 จะเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 5-7 ปี จากข้อมูลทางระบาดวิทยาของกองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย พบว่าฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 เป็นฟันแท้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุสูงที่สุดในประชากรไทย และประเทศทั่วโลก เนื่องจากฟันยังขึ้นไม่ถึงระนาบของการบดเคี้ยว ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิด มักคิดว่าเป็นฟันน้ำนม ทำให้ละเลยการดูแล ขณะเดียวกันเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้ดีพอ และนิสัยของเด็กมักชอบกินของหวาน ทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย จึงต้องหาวิธีป้องกันฟันผุในระยะยาว ที่ได้ผลดีที่สุดและเป็นที่ยอมรับทั่วโลกคือการเคลือบหลุมร่องฟันของฟันกรามแท้ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้กำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการแก้ปัญหาฟันผุ ควบคู่กับการส่งเสริมการแปรงฟันถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งและเน้นการแปรงฟันก่อนนอน เพื่อถนอมสุขภาพฟัน เป็นโครงการที่ออกหน่วยร่วมกับหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.ด้วย เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2543 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสครบ 100 ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ด้าน นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ฟันถือว่าเป็นโรงงานผลิตและส่งอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สำคัญที่สุด หากปล่อยให้ฟันผุ เด็กไทยจะมีปัญหาสุขภาพตามมามากมาย ทั้งด้านการเจริญเติบโต เพราะเด็กจะกินอาหารได้น้อย รวมทั้งอาจทำให้เกิดปัญหาการอักเสบของอวัยวะต่างๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อในช่องปาก เช่น ลิ้นหัวใจอักเสบ การเคลือบหลุมร่องฟันกรามทำง่ายมากใช้เวลาเพียง 5 นาที ต่อคนจะเคลือบทั้งหมด 4 ซี่ ในปี 2549 กรมอนามัยได้เคลือบหลุมร่องฟันเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 430,044 คน และจัดแปรงสีฟันให้โรงเรียน 27,771 แห่ง จำนวน 4 ล้านกว่าคน ในปี 2550 ดำเนินการเคลือบหลุมร่องฟันได้ 600,000 คน ใช้งบประมาณ 193 ล้านบาท พบว่าได้ผลดี โดยในปี 2551 นี้ตั้งเป้าจะดำเนินการให้ครอบคุลมเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้ได้ร้อยละ 50 และให้การสนับสนุนโรงเรียนระดับประถมศึกษาทั่วประเทศ จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ทุกวันครอบคลุมเด็กทุกคน
วันนี้ (12 ม.ค.) นพ.มรกต กรเกษม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ พ.ศ.2551 กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำโครงการยิ้มสดใส เด็กไทยฟันดี เพื่อมอบเป็นของขวัญเด็กไทย ซึ่งเป็นการสืบสานพระปณิธานของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ได้สนพระทัยในการป้องกันโรคฟันผุในเด็กไทย ด้วยวิธีเคลือบหลุมร่องฟันและการแปรงฟันให้สะอาด โดยในปีนี้มีเป้าหมายให้บริการเคลือบหลุมร่องฟันเด็กนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นประถมปีที่ 1 ทั่วประเทศ จำนวน 400,000 คน ใช้งบประมาณทั้งหมด 193 ล้านบาท โดยได้จัดสรรให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศไปแล้ว เด็กไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
นพ.มรกต กล่าวว่า จากผลการสำรวจสุขภาพฟันของเด็กไทยล่าสุด เมื่อ พ.ศ. 2547 พบว่า ในเด็กอายุ 5-6 ปี ซึ่งมีเกือบ 2 ล้านคน ในจำนวนนี้มีเด็กที่ฟันไม่ผุเลย เพียงร้อยละ 13 หรือประมาณ 260,000 คนเท่านั้น ซึ่งจัดว่ายังต่ำกว่าเป้าหมายระดับประเทศที่กำหนด จะต้องมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 และระดับโลก ที่กำหนดไว้ถึงร้อยละ 50 ของเด็กวัยดังกล่าว
ทั้งนี้ โดยทั่วไปฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 จะเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 5-7 ปี จากข้อมูลทางระบาดวิทยาของกองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย พบว่าฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 เป็นฟันแท้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุสูงที่สุดในประชากรไทย และประเทศทั่วโลก เนื่องจากฟันยังขึ้นไม่ถึงระนาบของการบดเคี้ยว ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิด มักคิดว่าเป็นฟันน้ำนม ทำให้ละเลยการดูแล ขณะเดียวกันเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้ดีพอ และนิสัยของเด็กมักชอบกินของหวาน ทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย จึงต้องหาวิธีป้องกันฟันผุในระยะยาว ที่ได้ผลดีที่สุดและเป็นที่ยอมรับทั่วโลกคือการเคลือบหลุมร่องฟันของฟันกรามแท้ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้กำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการแก้ปัญหาฟันผุ ควบคู่กับการส่งเสริมการแปรงฟันถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งและเน้นการแปรงฟันก่อนนอน เพื่อถนอมสุขภาพฟัน เป็นโครงการที่ออกหน่วยร่วมกับหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.ด้วย เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2543 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสครบ 100 ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ด้าน นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ฟันถือว่าเป็นโรงงานผลิตและส่งอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สำคัญที่สุด หากปล่อยให้ฟันผุ เด็กไทยจะมีปัญหาสุขภาพตามมามากมาย ทั้งด้านการเจริญเติบโต เพราะเด็กจะกินอาหารได้น้อย รวมทั้งอาจทำให้เกิดปัญหาการอักเสบของอวัยวะต่างๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อในช่องปาก เช่น ลิ้นหัวใจอักเสบ การเคลือบหลุมร่องฟันกรามทำง่ายมากใช้เวลาเพียง 5 นาที ต่อคนจะเคลือบทั้งหมด 4 ซี่ ในปี 2549 กรมอนามัยได้เคลือบหลุมร่องฟันเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 430,044 คน และจัดแปรงสีฟันให้โรงเรียน 27,771 แห่ง จำนวน 4 ล้านกว่าคน ในปี 2550 ดำเนินการเคลือบหลุมร่องฟันได้ 600,000 คน ใช้งบประมาณ 193 ล้านบาท พบว่าได้ผลดี โดยในปี 2551 นี้ตั้งเป้าจะดำเนินการให้ครอบคุลมเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้ได้ร้อยละ 50 และให้การสนับสนุนโรงเรียนระดับประถมศึกษาทั่วประเทศ จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ทุกวันครอบคลุมเด็กทุกคน