กรมอนามัยร่วมกับโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสริมฟลูออไรด์ในนมป้องกันฟันผุ
วันนี้ (8 พ.ค.)นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงการดำเนินงานโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศไทย ว่า ปัจจุบันโรคฟันผุในฟันน้ำนม และฟันแท้ของเด็กไทยกำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งจากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติล่าสุด พบว่า เด็กอายุ 6 ปี เป็นโรคฟันผุร้อยละ 87.4 สำหรับในเด็กอายุ 12 ปี เป็นโรคฟันผุร้อยละ 57.3 และคาดว่า จะมีแนวโน้มสูงขึ้นในเขตเมืองโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร และเขตชนบทที่กำลังเติบโตเป็นเขตเมือง ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและลดจำนวนของการเกิดโรคฟันผุในประเทศไทยให้น้อยลง กรมอนามัยจึงได้ร่วมกับศูนย์รวมนมโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงานโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศไทยขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากองค์การอนามัยโลก รวมทั้งได้รับการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนจากมูลนิธิ The Borrow Foundation ประเทศอังกฤษ ซึ่งได้ดำเนินงานในรูปแบบของการเสริมฟลูออไรด์ในนมในโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียนเพื่อป้องกันฟันผุ พร้อมทั้งสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากประเทศชิลี (Dr Alberto Villa) และประเทศอังกฤษ (Professor Andrew Rugg-Gunn) มาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ทันตบุคลากรที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่โรงนมในเรื่องเทคนิคการตรวจฟลูออไรด์ในห้องปฏิบัติการ การผลิตน้ำยาที่ใช้ตรวจปริมาณฟลูออไรด์ การศึกษาวิจัยเพื่อกำกับฟลูออไรด์ให้ปลอดภัย และการจัดทำแผนที่ฟลูออไรด์ ซึ่งขณะนี้กรมอนามัยได้ศึกษาร่วมกับโครงการ ส่วนพระองค์ฯ ได้ทดลองผลิตน้ำยาที่ใช้ตรวจปริมาณฟลูออไรด์ พบว่า เทคนิคการผลิตไม่ยุ่งยาก เก็บรักษาได้นาน มีราคาถูกลงกว่าครึ่งและสามารถใช้ตรวจโดยให้ผลในการตรวจไม่แตกต่างกับที่ซื้อจากต่างประเทศ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการผลิตให้โรงนมอื่นได้ทดลองใช้ก่อนจะนำไปใช้ในงานประจำต่อไป
นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า การดำเนินงานในช่วงแรกนั้น กรมอนามัยได้นำร่องโครงการระยะแรก 5 ปี ระหว่างปี 2543-2548 ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาฟันผุสูง และมีฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคต่ำกว่ามาตรฐานในการป้องกันฟันผุ โดยโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ให้ความร่วมมือในการผลิตและจัดส่งนมฟลูออไรด์พาสเจอร์ไรซ์แก่ทุกโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ส่งผลให้เด็กอนุบาลและประถมศึกษาจำนวน 35,000 คน ได้ดื่มนมฟลูออไรด์พาสเจอร์ไรซ์ขนาด 200 มิลลิลิตร/ถุง และมีปริมาณฟลูออไรด์ 0.5 มิลลิกรัม/ถุง ซึ่งเป็นขนาดที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เด็กอายุ 3-6 ปี ได้รับเสริมเพื่อป้องกันฟันผุในทุกวันเรียนรวม 170 วันต่อ 1 ปีการศึกษา และจากการประเมินผล พบว่า เด็กที่เริ่มดื่มนมฟลูออไรด์ ตั้งแต่ชั้นอนุบาลและประถมศึกษาปีที่ 1 ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปีการศึกษานั้น จะมีประสิทธิผลในการลดโรคฟันผุใน ฟันแท้มากกว่าเด็กที่ไม่ได้ดื่มนมฟลูออไรด์ถึงร้อยละ 27 นอกจากนี้ ผลการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กที่ได้ดื่ม นมฟลูออไรด์ตลอดระยะเวลา 5 ปี พบว่าไม่ก่อให้เกิดฟันตกกระที่ทำให้เสียความสวยงาม จึงเหมาะสมสำหรับเป็นทางเลือกเพื่อลดโรคฟันผุในพื้นที่ที่มีจำนวนเด็กฟันผุสูง และมีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มต่ำกว่ามาตรฐานในการป้องกันฟันผุ
“ดังนั้น จึงได้มีการดำเนินโครงการต่อในระยะที่ 2 เป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2548-2553 โดยกรมอนามัยได้ร่วมกับกรุงเทพมหานครจัดทำโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในเด็กกรุงเทพมหานคร เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษาขึ้น เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา ในปี 2548 โดยมีการขยายการดำเนินงานในกรุงเทพมหานครเพื่อให้เด็กกรุงเทพมหานครทั้งหมดได้ดื่มนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ และเร่งรัดการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากด้านอื่นด้วย ขณะนี้เด็กทั้งหมดของกรุงเทพมหานครประมาณ 300,000 คน ได้ดื่มนมฟลูออไรด์ ซึ่งผลิตอย่างต่อเนื่องโดยศูนย์รวมนมโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาและได้มีการขยายการดำเนินงานโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุไปสู่ภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดชุมพร ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี และร้อยเอ็ด ซึ่งครอบคลุมเด็กนักเรียนเพิ่มขึ้นกว่าแสนคน โดยมีอีกหลายโรงนมเข้าร่วมการผลิตนมฟลูออไรด์ ได้แก่ โรงนมองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) จังหวัดสระบุรีและจังหวัดขอนแก่น, ศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สหกรณ์โคนมหนองโพ ราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์), สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด, บริษัท ยูไนเต็ดแดรี่ฟูดส์ จำกัด, สหกรณ์โคนมขอนแก่น จำกัด และ บริษัท ขอนแก่นแดรี่ส์ จำกัด”
นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวอธิบดีกรมอนามัย กล่าวด้วยว่า ทุกโรงนมที่เข้าร่วมโครงการและผลิตนมฟลูออไรด์รองรับนักเรียนในทุกพี้นที่ รวมทั้งสิ้น 11 แห่ง ได้รับการฝึกอบรมการผลิตนมฟลูอไรด์จากโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ซึ่งผลจากการตรวจติดตามพบว่าทุกโรงนมสามารถควบคุมการผลิตอยู่ในมาตรฐานที่ดี จึงได้จัดทำเป็นคู่มือการผลิตนมฟลูออไรด์และการควบคุมคุณภาพให้อยู่ในมาตรฐานขึ้น โดยขณะนี้กรมอนามัยได้ร่วมกับโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ทำการศึกษาทดลองผลิตน้ำยาที่ใช้ในการวิเคราะห์ฟลูออไรด์ในนม ภายใต้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและทำให้พึ่งตัวเองได้เพื่อรองรับการขยายโครงการในประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ โรงนมอื่นที่จำหน่ายนมโรงเรียนอยู่แล้วในพื้นที่ที่มีปัญหาฟันผุในเด็กสูง หากสนใจที่จะร่วมโครงการสามารถประสานกับทันตแพทย์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ หรือติดต่อที่ กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย เบอร์โทรศัพท์ 0- 2590 4113-4 โทรสาร 0-2590-4115
วันนี้ (8 พ.ค.)นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงการดำเนินงานโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศไทย ว่า ปัจจุบันโรคฟันผุในฟันน้ำนม และฟันแท้ของเด็กไทยกำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งจากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติล่าสุด พบว่า เด็กอายุ 6 ปี เป็นโรคฟันผุร้อยละ 87.4 สำหรับในเด็กอายุ 12 ปี เป็นโรคฟันผุร้อยละ 57.3 และคาดว่า จะมีแนวโน้มสูงขึ้นในเขตเมืองโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร และเขตชนบทที่กำลังเติบโตเป็นเขตเมือง ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและลดจำนวนของการเกิดโรคฟันผุในประเทศไทยให้น้อยลง กรมอนามัยจึงได้ร่วมกับศูนย์รวมนมโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงานโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศไทยขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากองค์การอนามัยโลก รวมทั้งได้รับการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนจากมูลนิธิ The Borrow Foundation ประเทศอังกฤษ ซึ่งได้ดำเนินงานในรูปแบบของการเสริมฟลูออไรด์ในนมในโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียนเพื่อป้องกันฟันผุ พร้อมทั้งสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากประเทศชิลี (Dr Alberto Villa) และประเทศอังกฤษ (Professor Andrew Rugg-Gunn) มาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ทันตบุคลากรที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่โรงนมในเรื่องเทคนิคการตรวจฟลูออไรด์ในห้องปฏิบัติการ การผลิตน้ำยาที่ใช้ตรวจปริมาณฟลูออไรด์ การศึกษาวิจัยเพื่อกำกับฟลูออไรด์ให้ปลอดภัย และการจัดทำแผนที่ฟลูออไรด์ ซึ่งขณะนี้กรมอนามัยได้ศึกษาร่วมกับโครงการ ส่วนพระองค์ฯ ได้ทดลองผลิตน้ำยาที่ใช้ตรวจปริมาณฟลูออไรด์ พบว่า เทคนิคการผลิตไม่ยุ่งยาก เก็บรักษาได้นาน มีราคาถูกลงกว่าครึ่งและสามารถใช้ตรวจโดยให้ผลในการตรวจไม่แตกต่างกับที่ซื้อจากต่างประเทศ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการผลิตให้โรงนมอื่นได้ทดลองใช้ก่อนจะนำไปใช้ในงานประจำต่อไป
นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า การดำเนินงานในช่วงแรกนั้น กรมอนามัยได้นำร่องโครงการระยะแรก 5 ปี ระหว่างปี 2543-2548 ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาฟันผุสูง และมีฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคต่ำกว่ามาตรฐานในการป้องกันฟันผุ โดยโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ให้ความร่วมมือในการผลิตและจัดส่งนมฟลูออไรด์พาสเจอร์ไรซ์แก่ทุกโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ส่งผลให้เด็กอนุบาลและประถมศึกษาจำนวน 35,000 คน ได้ดื่มนมฟลูออไรด์พาสเจอร์ไรซ์ขนาด 200 มิลลิลิตร/ถุง และมีปริมาณฟลูออไรด์ 0.5 มิลลิกรัม/ถุง ซึ่งเป็นขนาดที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เด็กอายุ 3-6 ปี ได้รับเสริมเพื่อป้องกันฟันผุในทุกวันเรียนรวม 170 วันต่อ 1 ปีการศึกษา และจากการประเมินผล พบว่า เด็กที่เริ่มดื่มนมฟลูออไรด์ ตั้งแต่ชั้นอนุบาลและประถมศึกษาปีที่ 1 ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปีการศึกษานั้น จะมีประสิทธิผลในการลดโรคฟันผุใน ฟันแท้มากกว่าเด็กที่ไม่ได้ดื่มนมฟลูออไรด์ถึงร้อยละ 27 นอกจากนี้ ผลการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กที่ได้ดื่ม นมฟลูออไรด์ตลอดระยะเวลา 5 ปี พบว่าไม่ก่อให้เกิดฟันตกกระที่ทำให้เสียความสวยงาม จึงเหมาะสมสำหรับเป็นทางเลือกเพื่อลดโรคฟันผุในพื้นที่ที่มีจำนวนเด็กฟันผุสูง และมีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มต่ำกว่ามาตรฐานในการป้องกันฟันผุ
“ดังนั้น จึงได้มีการดำเนินโครงการต่อในระยะที่ 2 เป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2548-2553 โดยกรมอนามัยได้ร่วมกับกรุงเทพมหานครจัดทำโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในเด็กกรุงเทพมหานคร เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษาขึ้น เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา ในปี 2548 โดยมีการขยายการดำเนินงานในกรุงเทพมหานครเพื่อให้เด็กกรุงเทพมหานครทั้งหมดได้ดื่มนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ และเร่งรัดการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากด้านอื่นด้วย ขณะนี้เด็กทั้งหมดของกรุงเทพมหานครประมาณ 300,000 คน ได้ดื่มนมฟลูออไรด์ ซึ่งผลิตอย่างต่อเนื่องโดยศูนย์รวมนมโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาและได้มีการขยายการดำเนินงานโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุไปสู่ภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดชุมพร ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี และร้อยเอ็ด ซึ่งครอบคลุมเด็กนักเรียนเพิ่มขึ้นกว่าแสนคน โดยมีอีกหลายโรงนมเข้าร่วมการผลิตนมฟลูออไรด์ ได้แก่ โรงนมองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) จังหวัดสระบุรีและจังหวัดขอนแก่น, ศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สหกรณ์โคนมหนองโพ ราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์), สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด, บริษัท ยูไนเต็ดแดรี่ฟูดส์ จำกัด, สหกรณ์โคนมขอนแก่น จำกัด และ บริษัท ขอนแก่นแดรี่ส์ จำกัด”
นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวอธิบดีกรมอนามัย กล่าวด้วยว่า ทุกโรงนมที่เข้าร่วมโครงการและผลิตนมฟลูออไรด์รองรับนักเรียนในทุกพี้นที่ รวมทั้งสิ้น 11 แห่ง ได้รับการฝึกอบรมการผลิตนมฟลูอไรด์จากโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ซึ่งผลจากการตรวจติดตามพบว่าทุกโรงนมสามารถควบคุมการผลิตอยู่ในมาตรฐานที่ดี จึงได้จัดทำเป็นคู่มือการผลิตนมฟลูออไรด์และการควบคุมคุณภาพให้อยู่ในมาตรฐานขึ้น โดยขณะนี้กรมอนามัยได้ร่วมกับโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ทำการศึกษาทดลองผลิตน้ำยาที่ใช้ในการวิเคราะห์ฟลูออไรด์ในนม ภายใต้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและทำให้พึ่งตัวเองได้เพื่อรองรับการขยายโครงการในประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ โรงนมอื่นที่จำหน่ายนมโรงเรียนอยู่แล้วในพื้นที่ที่มีปัญหาฟันผุในเด็กสูง หากสนใจที่จะร่วมโครงการสามารถประสานกับทันตแพทย์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ หรือติดต่อที่ กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย เบอร์โทรศัพท์ 0- 2590 4113-4 โทรสาร 0-2590-4115