คณบดีนิติ มธ.-จุฬาฯ นำทีมอาจารย์นิติฯ 7 ม.ดัง ร่วมลงชื่อเรียกร้อง “สมชาย” ในฐานะที่เป็นถึงอดีตผู้พิพากษาศาลยุติธรรม เรียกจิตสำนึกและคุณธรรมของบรรพตุลาการที่ได้สั่งสอนไว้ สละการถูกครอบงำทางความคิด แสดงความรับผิดชอบตั้งกรรมการกลางเพื่อปฏิรูปการเมือง-ยุบสภา
เมื่อวันที่ 9 ต.ค.คณาจารย์คณะนิติศาสตร์สถาบันอุดมศึกษา จาก 7 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยพายัพ ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ต่อเหตุการณ์สลายการชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยระบุว่า ตามที่ปรากฏข้อเท็จจริง กรณีเจ้าพนักงานตำรวจใช้กำลังและยุทธภัณฑ์สลายการชุมนุมของประชาชนที่ร่วมชุมนุมอยู่ในบริเวณถนนรอบรัฐสภา โดยไม่มีสิ่งบ่งชี้ว่าประชาชนผู้ชุมนุมมีอาวุธร้ายแรง เพื่อก่อความรุนแรงแต่ประการใด จนเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน เจ้าพนักงานตำรวจ และส่วนราชการ คณาจารย์นิติศาสตร์ผู้มีรายนามท้ายแถลงการณ์นี้ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อประชาชน เจ้าพนักงานตำรวจ และญาติมิตรของบุคคลดังกล่าวในความสูญเสียและเสียหายที่เกิดขึ้น
ในโอกาสนี้ เพื่อมิให้เหตุการณ์ดังกล่าวได้กลายเป็นการจุดชนวนยกระดับความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในสังคมไทยจนยากจะควบคุมได้ต่อไปในอนาคต คณาจารย์นิติศาสตร์ที่ลงนามในแถลงการณ์นี้มีความเห็นและข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังต่อไปนี้
1.การชุมนุมของประชาชนตั้งแต่ค่ำวันที่ 6 ต.ค.ต่อเนื่องจนถึงเช้าตรู่วันที่ 7 ต.ค.เป็นไปด้วยความสงบบนถนนบริเวณรอบรัฐสภา โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในขณะนั้นว่าประชาชนผู้ชุมนุมมีอาวุธร้ายแรง หรือได้บุกรุกหรือล่วงล้ำเข้าไปในบริเวณรัฐสภา การชุมนุมของประชาชนดังกล่าว จึงถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 63 ตามสมควร แม้การชุมนุมดังกล่าวจะเป็นการกีดขวางจราจร และขัดขวางการเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาก็ตาม รัฐบาล และเจ้าพนักงานตำรวจพึงปฏิบัติต่อประชาชนผู้ชุมนุมดังกล่าวโดยสันติวิธีด้วยการเจรจา ในฐานะที่ประชาชนได้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญที่ให้ไว้ อีกทั้งยังเป็นการแสดงออกซึ่งสิทธิโดยพื้นฐานในการแสดงออกถึงความไม่พึงพอใจต่อผู้ปกครอง
2.เจ้าพนักงานตำรวจสลายการชุมนุมโดยมิได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอนที่ควรเป็น และเลือกใช้วิธีที่รุนแรงจนเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย และเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของทุกฝ่าย และสร้างความโกรธแค้นขึ้นในหมู่ประชาชนผู้ชุมนุมจนทำให้เหตุการณ์บานปลายยิ่งขึ้น การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่เกินสมควรแก่เหตุ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เป็นต้นสังกัดของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวต้องรับผิดชอบต่อความสูญเสีย และความเสียหายที่เกิดขึ้น
3.รัฐบาลในฐานะผู้รับผิดชอบดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง มุ่งดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ อันได้แก่การแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยไม่คำนึงถึงวิธีการที่บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวถึงกับละเว้นไม่ดำเนินการหรือสั่งการให้ระงับการใช้กำลังสลายการชุมนุม เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงมีผู้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติการของเจ้าพนักงานตำรวจ การละเว้นการดำเนินการหรือสั่งการของรัฐบาลดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ในสังคมอารยะและควรได้รับการตำหนิ และรัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อการละเว้นดำเนินการดังกล่าว โดยเฉพาะความรับผิดชอบทางการเมืองเพื่อสร้างมาตรฐานการเมืองที่ดีขึ้นในประเทศไทย
4.เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่กระจ่างในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและหาผู้รับผิดชอบต่อความรุนแรงที่มีประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายร้อยคน รัฐบาลต้องตั้งคณะกรรมการอิสระประกอบด้วยบุคคลที่สังคมไว้วางใจขึ้นมา คณะหนึ่งเพื่อไต่สวนหาข้อเท็จจริงและผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาลงโทษตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ ทางรัฐบาลและตำรวจต้องละเว้นในการกระทำใดๆ ที่จะเป็นการยั่วยุสร้างความโกรธแค้นชิงชัง ที่จะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายยิ่งขึ้น
5.ประชาชนทั่วไป สื่อมวลชน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน โดยเฉพาะสมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาตลาดทุนไทย พึงแสดงออกเพื่อให้รัฐบาลและสาธารณชนได้รู้ถึงความไม่เห็นด้วยต่อการกระทำของรัฐบาลและเจ้าพนักงานตำรวจ อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการสาธารณะหรือที่มีวิชาชีพต้องไม่ปฏิเสธการให้บริการดังกล่าว แม้ผู้รับบริการจะเป็นบุคคลที่ตนเห็นว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้สังคมเกิดความแตกแยกและแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายมากขึ้นไปกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
6.ผู้เป็นคู่กรณีในปัจจุบันพึงละเว้นการสร้างกระแสปลุกเร้าความเกลียดชังระหว่างกันซึ่งอาจนำไปสู่การเผชิญหน้า และความรุนแรงระหว่างกัน และประชาชนพึงตระหนักถึงผลกระทบร้ายแรงที่ตามมา หากเกิดการเผชิญหน้า และความรุนแรงขึ้นในสังคมไทยเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในอดีตไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 14 ต.ค.2516 เหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 หรือเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 และ
7.ภายใต้สถานการณ์การแบ่งแยกเป็นฝักฝ่ายในสังคม คณาจารย์นิติศาสตร์ ที่ลงนามในแถลงการณ์นี้เห็นว่า บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ต้องใช้ความกล้าหาญในฐานะผู้นำประเทศ และยิ่งไปกว่านั้นในฐานะที่เป็นนักกฎหมายที่เป็นถึงอดีตผู้พิพากษาศาลยุติธรรม ที่ต้องเรียกจิตสำนึกและคุณธรรมของบรรพตุลาการที่ได้สั่งสอนไว้ โดยสละการถูกครอบงำทางความคิดจากบุคคลใดๆ ก็ตาม โดยแสดงออกถึงความรับผิดชอบทางการเมืองที่จะเป็นแบบอย่างที่น่ายกย่องต่อไปด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการกลางที่เป็นอิสระเพื่อการปฏิรูปการเมืองขึ้นมา 1 คณะ โดยเร็ว เพื่อวางโครงสร้างทางการเมืองใหม่ที่สามารถนำพาประเทศให้มีระบบการปกครองที่มีธรรมาภิบาลมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และใช้อำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อคืนอำนาจในการตัดสินใจแก่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย อันจะเป็นวิธีการที่สามารถคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งนี้ไปได้ในระดับหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ที่ได้ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ดังกล่าว มีทั้งหมด 48 ราย จาก 7 สถาบันทั่วประเทศ อาทิ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ.นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ นางสุชาดา รัตนพิบูลย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ นายหริรักษ์ โล่พัฒนานนท์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นายคมสัน โพธิ์คง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นายดำรงศักดิ์ จันโททัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง นายชัช วงศ์สิงห์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
**ปอมท.จี้ “สมชาย” ขอโทษ-รับเป็นตัวกลาง
วันเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นายไชยา กุฏาคาร ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะประธานที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย แถลงภายหลังหารือกับประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัย 21 แห่ง ว่า ที่ประชุมร่วมออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดย
1.นายกรัฐมนตรีต้องขอโทษและแสดงความรับผิดชอบต่อผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ และต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
2.ขอให้ทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรง และยอมรับหลักเกณฑ์การดำเนินการตามกฎหมาย
3.ขอให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งระดับประเทศและระดับโลก หากไม่สามารถตั้งรับวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้น จะทำให้ประเทศอ่อนแอและเสียหาย
4.ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหารือโดยสันติวิธี ด้วยความสุภาพ มีเหตุผล และเคารพในศักดิ์ศรีของกันและกัน เพื่อปรับปรุงแก้ข้อบกพร่องทางโครงสร้าง กลไก บุคลากร และคุณภาพทางการเมือง โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ทั้งนี้ หากไม่มีผู้ใดอยู่ในฐานะที่พร้อมจะเป็นผู้ประสานงานให้เกิดขึ้น ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยพร้อมเสนอเป็นตัวกลางในการประสานให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากันต่อไป
ด้าน นายนพพร ลีปรีชานนท์ ประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะรองประธานที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย แสดงความเห็นกรณีแพทย์จุฬาฯ ไม่รับรักษาเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ส่วนตัวคิดว่าเป็นการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ไม่น่าจะเป็นการแสดงออกทางความคิดและการปฏิบัติ เพราะโดยจรรยาบรรณแพทย์ต้องมีความเมตตาและไม่แบ่งพรรคแบ่งฝ่าย หากมีการแสดงออกเชิงต่อต้านทางปฏิบัติจริง คิดว่าแพทยสภาก็คงต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
สำหรับรายนามคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ร่วมลงชื่อออกแถลงการณ์ มีดังนี้
1.ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ คณบดี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2.รศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณบดีนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4.ศ.สุขสม ศุภนิตย์ คณบดีนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.ศ.ดร.ไพโรจน์ กัมพูสิริ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6.ผศ.ดร.ศารทูล สันติวาสะ นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7.ศ.ดร.ไผทชิต เอกจริยกรคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8.ผศ.กนิช บุณยัษฐิติ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9.ศ.ดร.เสาวณีย์ อัศวโรจน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10.อาจารย์ธิดารัตน์ ศิลปภิรมย์สุข คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11.รศ.ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
12.อาจารย์ธิดาพร ศิริถาพร คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
13.รศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
14.อาจารย์กิ่งกมล สินมา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15.รองศาสตราจารย์ นพนิธิ สุริยะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16.อาจารย์ภวิชญ์ เชาวลิตถวิล คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
17.รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
18.รศ.ดร.อุดม รัฐอมฤต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
19.รศ.ดร.วิจิตรา วิเชียรชม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
20.ผศ.ดร.สุรศักดิ์ มณีศร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
21.ผศ.ดร.พินัย ณ นคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
22.ผศ.ดร.วีรวัตน์ จันทโชติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
23.อาจารย์ ดร.เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
24.อาจารย์พัชยา น้ำเงิน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
25.อาจารย์ ดร.นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
26.อาจารย์มุนินทร์ พงศาปาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
27.อาจารย์จุมพล แดง สกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
28.อาจารย์ นิรมัย พิศแข คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
29.ผศ.หริรักษ์ โล่พัฒนานนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
30.อาจารย์คมสัน โพธิ์คง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
31.อาจารย์ นาถวดี ฟักคง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
32.รศ.ดร.ดำรงศักดิ์ จันโททัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
33.อาจารย์นฤมล เสกธีระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
34.อาจารย์ชัช วงศ์สิงห์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
35.อาจารย์รัฐศักดิ์ บำรุงสุข คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
36.อาจารย์นิติลักษณ์ แก้วจันดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
37.อาจารย์ฉัตรพร หาระบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
38.อาจารย์อภินันท์ ศรีสิริ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
39.อาจารย์จตุภูมิ ภูมิบุญชู คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
40.อาจารย์ประดิษฐ์ แป้นทอง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
41.อาจารย์จันทิมา นิธิปัญญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
42.อาจารย์ชนาธิศ ซาเสน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
43.อาจารย์ ดร.สุชาดา รัตนพิบูลย์ คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
44.อาจารย์ขรรค์เพชร ชายทวีป คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
45.ผศ.ดร.ดิเรก ควรสมาคม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
46.อาจารย์สมบัติ วอทอง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
47.อาจารย์ธนัญชัย ทิพยมณฑล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
48.อาจารย์กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษา มธ.
เมื่อวันที่ 9 ต.ค.คณาจารย์คณะนิติศาสตร์สถาบันอุดมศึกษา จาก 7 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยพายัพ ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ต่อเหตุการณ์สลายการชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยระบุว่า ตามที่ปรากฏข้อเท็จจริง กรณีเจ้าพนักงานตำรวจใช้กำลังและยุทธภัณฑ์สลายการชุมนุมของประชาชนที่ร่วมชุมนุมอยู่ในบริเวณถนนรอบรัฐสภา โดยไม่มีสิ่งบ่งชี้ว่าประชาชนผู้ชุมนุมมีอาวุธร้ายแรง เพื่อก่อความรุนแรงแต่ประการใด จนเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน เจ้าพนักงานตำรวจ และส่วนราชการ คณาจารย์นิติศาสตร์ผู้มีรายนามท้ายแถลงการณ์นี้ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อประชาชน เจ้าพนักงานตำรวจ และญาติมิตรของบุคคลดังกล่าวในความสูญเสียและเสียหายที่เกิดขึ้น
ในโอกาสนี้ เพื่อมิให้เหตุการณ์ดังกล่าวได้กลายเป็นการจุดชนวนยกระดับความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในสังคมไทยจนยากจะควบคุมได้ต่อไปในอนาคต คณาจารย์นิติศาสตร์ที่ลงนามในแถลงการณ์นี้มีความเห็นและข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังต่อไปนี้
1.การชุมนุมของประชาชนตั้งแต่ค่ำวันที่ 6 ต.ค.ต่อเนื่องจนถึงเช้าตรู่วันที่ 7 ต.ค.เป็นไปด้วยความสงบบนถนนบริเวณรอบรัฐสภา โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในขณะนั้นว่าประชาชนผู้ชุมนุมมีอาวุธร้ายแรง หรือได้บุกรุกหรือล่วงล้ำเข้าไปในบริเวณรัฐสภา การชุมนุมของประชาชนดังกล่าว จึงถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 63 ตามสมควร แม้การชุมนุมดังกล่าวจะเป็นการกีดขวางจราจร และขัดขวางการเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาก็ตาม รัฐบาล และเจ้าพนักงานตำรวจพึงปฏิบัติต่อประชาชนผู้ชุมนุมดังกล่าวโดยสันติวิธีด้วยการเจรจา ในฐานะที่ประชาชนได้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญที่ให้ไว้ อีกทั้งยังเป็นการแสดงออกซึ่งสิทธิโดยพื้นฐานในการแสดงออกถึงความไม่พึงพอใจต่อผู้ปกครอง
2.เจ้าพนักงานตำรวจสลายการชุมนุมโดยมิได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอนที่ควรเป็น และเลือกใช้วิธีที่รุนแรงจนเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย และเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของทุกฝ่าย และสร้างความโกรธแค้นขึ้นในหมู่ประชาชนผู้ชุมนุมจนทำให้เหตุการณ์บานปลายยิ่งขึ้น การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่เกินสมควรแก่เหตุ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เป็นต้นสังกัดของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวต้องรับผิดชอบต่อความสูญเสีย และความเสียหายที่เกิดขึ้น
3.รัฐบาลในฐานะผู้รับผิดชอบดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง มุ่งดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ อันได้แก่การแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยไม่คำนึงถึงวิธีการที่บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวถึงกับละเว้นไม่ดำเนินการหรือสั่งการให้ระงับการใช้กำลังสลายการชุมนุม เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงมีผู้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติการของเจ้าพนักงานตำรวจ การละเว้นการดำเนินการหรือสั่งการของรัฐบาลดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ในสังคมอารยะและควรได้รับการตำหนิ และรัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อการละเว้นดำเนินการดังกล่าว โดยเฉพาะความรับผิดชอบทางการเมืองเพื่อสร้างมาตรฐานการเมืองที่ดีขึ้นในประเทศไทย
4.เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่กระจ่างในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและหาผู้รับผิดชอบต่อความรุนแรงที่มีประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายร้อยคน รัฐบาลต้องตั้งคณะกรรมการอิสระประกอบด้วยบุคคลที่สังคมไว้วางใจขึ้นมา คณะหนึ่งเพื่อไต่สวนหาข้อเท็จจริงและผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาลงโทษตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ ทางรัฐบาลและตำรวจต้องละเว้นในการกระทำใดๆ ที่จะเป็นการยั่วยุสร้างความโกรธแค้นชิงชัง ที่จะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายยิ่งขึ้น
5.ประชาชนทั่วไป สื่อมวลชน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน โดยเฉพาะสมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาตลาดทุนไทย พึงแสดงออกเพื่อให้รัฐบาลและสาธารณชนได้รู้ถึงความไม่เห็นด้วยต่อการกระทำของรัฐบาลและเจ้าพนักงานตำรวจ อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการสาธารณะหรือที่มีวิชาชีพต้องไม่ปฏิเสธการให้บริการดังกล่าว แม้ผู้รับบริการจะเป็นบุคคลที่ตนเห็นว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้สังคมเกิดความแตกแยกและแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายมากขึ้นไปกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
6.ผู้เป็นคู่กรณีในปัจจุบันพึงละเว้นการสร้างกระแสปลุกเร้าความเกลียดชังระหว่างกันซึ่งอาจนำไปสู่การเผชิญหน้า และความรุนแรงระหว่างกัน และประชาชนพึงตระหนักถึงผลกระทบร้ายแรงที่ตามมา หากเกิดการเผชิญหน้า และความรุนแรงขึ้นในสังคมไทยเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในอดีตไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 14 ต.ค.2516 เหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 หรือเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 และ
7.ภายใต้สถานการณ์การแบ่งแยกเป็นฝักฝ่ายในสังคม คณาจารย์นิติศาสตร์ ที่ลงนามในแถลงการณ์นี้เห็นว่า บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ต้องใช้ความกล้าหาญในฐานะผู้นำประเทศ และยิ่งไปกว่านั้นในฐานะที่เป็นนักกฎหมายที่เป็นถึงอดีตผู้พิพากษาศาลยุติธรรม ที่ต้องเรียกจิตสำนึกและคุณธรรมของบรรพตุลาการที่ได้สั่งสอนไว้ โดยสละการถูกครอบงำทางความคิดจากบุคคลใดๆ ก็ตาม โดยแสดงออกถึงความรับผิดชอบทางการเมืองที่จะเป็นแบบอย่างที่น่ายกย่องต่อไปด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการกลางที่เป็นอิสระเพื่อการปฏิรูปการเมืองขึ้นมา 1 คณะ โดยเร็ว เพื่อวางโครงสร้างทางการเมืองใหม่ที่สามารถนำพาประเทศให้มีระบบการปกครองที่มีธรรมาภิบาลมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และใช้อำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อคืนอำนาจในการตัดสินใจแก่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย อันจะเป็นวิธีการที่สามารถคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งนี้ไปได้ในระดับหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ที่ได้ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ดังกล่าว มีทั้งหมด 48 ราย จาก 7 สถาบันทั่วประเทศ อาทิ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ.นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ นางสุชาดา รัตนพิบูลย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ นายหริรักษ์ โล่พัฒนานนท์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นายคมสัน โพธิ์คง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นายดำรงศักดิ์ จันโททัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง นายชัช วงศ์สิงห์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
**ปอมท.จี้ “สมชาย” ขอโทษ-รับเป็นตัวกลาง
วันเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นายไชยา กุฏาคาร ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะประธานที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย แถลงภายหลังหารือกับประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัย 21 แห่ง ว่า ที่ประชุมร่วมออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดย
1.นายกรัฐมนตรีต้องขอโทษและแสดงความรับผิดชอบต่อผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ และต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
2.ขอให้ทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรง และยอมรับหลักเกณฑ์การดำเนินการตามกฎหมาย
3.ขอให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งระดับประเทศและระดับโลก หากไม่สามารถตั้งรับวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้น จะทำให้ประเทศอ่อนแอและเสียหาย
4.ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหารือโดยสันติวิธี ด้วยความสุภาพ มีเหตุผล และเคารพในศักดิ์ศรีของกันและกัน เพื่อปรับปรุงแก้ข้อบกพร่องทางโครงสร้าง กลไก บุคลากร และคุณภาพทางการเมือง โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ทั้งนี้ หากไม่มีผู้ใดอยู่ในฐานะที่พร้อมจะเป็นผู้ประสานงานให้เกิดขึ้น ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยพร้อมเสนอเป็นตัวกลางในการประสานให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากันต่อไป
ด้าน นายนพพร ลีปรีชานนท์ ประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะรองประธานที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย แสดงความเห็นกรณีแพทย์จุฬาฯ ไม่รับรักษาเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ส่วนตัวคิดว่าเป็นการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ไม่น่าจะเป็นการแสดงออกทางความคิดและการปฏิบัติ เพราะโดยจรรยาบรรณแพทย์ต้องมีความเมตตาและไม่แบ่งพรรคแบ่งฝ่าย หากมีการแสดงออกเชิงต่อต้านทางปฏิบัติจริง คิดว่าแพทยสภาก็คงต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
สำหรับรายนามคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ร่วมลงชื่อออกแถลงการณ์ มีดังนี้
1.ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ คณบดี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2.รศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณบดีนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4.ศ.สุขสม ศุภนิตย์ คณบดีนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.ศ.ดร.ไพโรจน์ กัมพูสิริ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6.ผศ.ดร.ศารทูล สันติวาสะ นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7.ศ.ดร.ไผทชิต เอกจริยกรคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8.ผศ.กนิช บุณยัษฐิติ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9.ศ.ดร.เสาวณีย์ อัศวโรจน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10.อาจารย์ธิดารัตน์ ศิลปภิรมย์สุข คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11.รศ.ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
12.อาจารย์ธิดาพร ศิริถาพร คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
13.รศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
14.อาจารย์กิ่งกมล สินมา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15.รองศาสตราจารย์ นพนิธิ สุริยะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16.อาจารย์ภวิชญ์ เชาวลิตถวิล คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
17.รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
18.รศ.ดร.อุดม รัฐอมฤต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
19.รศ.ดร.วิจิตรา วิเชียรชม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
20.ผศ.ดร.สุรศักดิ์ มณีศร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
21.ผศ.ดร.พินัย ณ นคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
22.ผศ.ดร.วีรวัตน์ จันทโชติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
23.อาจารย์ ดร.เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
24.อาจารย์พัชยา น้ำเงิน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
25.อาจารย์ ดร.นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
26.อาจารย์มุนินทร์ พงศาปาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
27.อาจารย์จุมพล แดง สกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
28.อาจารย์ นิรมัย พิศแข คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
29.ผศ.หริรักษ์ โล่พัฒนานนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
30.อาจารย์คมสัน โพธิ์คง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
31.อาจารย์ นาถวดี ฟักคง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
32.รศ.ดร.ดำรงศักดิ์ จันโททัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
33.อาจารย์นฤมล เสกธีระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
34.อาจารย์ชัช วงศ์สิงห์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
35.อาจารย์รัฐศักดิ์ บำรุงสุข คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
36.อาจารย์นิติลักษณ์ แก้วจันดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
37.อาจารย์ฉัตรพร หาระบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
38.อาจารย์อภินันท์ ศรีสิริ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
39.อาจารย์จตุภูมิ ภูมิบุญชู คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
40.อาจารย์ประดิษฐ์ แป้นทอง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
41.อาจารย์จันทิมา นิธิปัญญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
42.อาจารย์ชนาธิศ ซาเสน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
43.อาจารย์ ดร.สุชาดา รัตนพิบูลย์ คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
44.อาจารย์ขรรค์เพชร ชายทวีป คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
45.ผศ.ดร.ดิเรก ควรสมาคม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
46.อาจารย์สมบัติ วอทอง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
47.อาจารย์ธนัญชัย ทิพยมณฑล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
48.อาจารย์กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษา มธ.