อาจารย์จากรั้วสุโขทัยฯ แนะสภาระงับร่าง รธน.ฉบับ คปพร.-งดแก้ รธน.291 ตั้ง ส.ส.ร.3 ตัดชนวนก่อความรุนแรง ชี้ “ชัย” บรรจุร่าง คปพร.ขัด รธน.เหตุไม่มีกฎหมายรองรับ ชี้เป้าระวังถูกถอดถอน
วันนี้ (3 พ.ย.) นายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.50) กล่าววิเคราะห์เหตุการณ์ทางการเมืองภายหลังรายการความจริงวันนี้สัญจรว่า ความแตกแยกที่เกิดขึ้นขณะนี้เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงเกรงว่าจะเกิดความแตกแยกในสังคมจะมีมากขึ้น ทั้งนี้ การที่รัฐสภาและรัฐบาลแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มี ส.ส.ร.3 นั้นจึงไม่ใช่ทางออกของปัญหา และไม่ใช่วิธีการลดความรุนแรง ตรงกันข้าม การแก้ไขรัฐธรรมนูญกลับเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากตอนนี้หาเหตุผลมาสนับสนุนการแก้ไขไม่ได้ การแก้รัฐธรรมนูญจึงไม่ใช่การแก้ความรุนแรง เพราะยังมีฝ่ายหนึ่งที่หวงแหนรัฐธรรมนูญอยู่ การแก้สิ่งที่หวงแหนจึงเท่ากับเป็นการทุบกล่องดวงใจ ดังนั้น การเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญและการปล่อยให้คนผิดอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เชิดหน้าชูตาเสมือนหนึ่งคนไม่มีความผิด อีกทั้งยังปล่อยให้มีการยั่วยุกันผ่านทางวิทยุชุมชน ความรุนแรงก็ไม่มีทางจบลงได้ เพราะถือว่ารัฐบาลมีพฤติกรรมปากว่าตาขยิบ
“ส.ส.ร.3 ไม่ควรเกิดด้วยซ้ำไป เพราะตอนนี้รัฐบาลยังไม่รู้เหตุผลเลยว่าจะแก้ไปทำไม จะแก้ประเด็นไหน หรือต้องการแก้รัฐธรรมนูญ เพราะความรู้สึกของนักการเมืองที่เกรงว่าจะถูกเช็คบิลจากรัฐธรรมนูญจึงต้องรีบแก้ ซึ่งเป็นปัญหาของคนเพียงบางกลุ่ม เท่ากับว่าเมื่อมีปัญหาก็ต้องแก้กติกาถือว่าไม่ถูกต้อง การตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมาจึงเป็นการหาแพะมารับบาปจากรัฐบาล เพราะหากมีการตั้งขึ้นมาฝ่ายการเมืองก็ต้องแทรกแซงได้ เท่ากับว่าเป็นการทำลายปฏิรูปการเมือง ดังนั้น การมี ส.ส.ร.3 จึงไม่ได้ทำให้เกิดความสมานฉันท์เกิดขึ้น ตรงกันข้ามกลับจะเพิ่มความแตกแยกมากขึ้น” นายคมสัน กล่าว และว่า ทั้งนี้ตนไม่คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ แต่หากคิดว่าประเด็นต่างๆ ในรัฐธรรมนูญมีปัญหาก็ควรให้นักวิชาการที่ความเป็นกลางศึกษาข้อดี ข้อเสีย จากนั้นจึงนำผลการศึกษามาดูก่อนจะแก้ไข
นักกฎหมายผู้นี้ยังกล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมของ คณะกรรมการประชาชนเพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.) บรรจุไว้ในวาระแต่ไม่ได้นำมาพิจารณานั้นเรื่องนี้ตนเห็นว่า แม้ นพ.เหวง โตจิราการ และคณะจะอ้างว่าการเสนอร่างโดยอาศัยรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 พร้อมกับรายชื่อประชาชนจำนวน 7 หมื่นรายชื่อ แต่ก็ทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่มีความสมบูรณ์ เพราะยังไม่มีกฎหมายรับรองการเสนอกฎหมาย
“การที่นายชัยนำร่างเสนอแก้ไขกฎหมายฉบับ คปพร.บรรจุเข้าวาระการพิจารณา แม้ไม่มีการพิจารณาสภาจึงเป็นการข่มขืนรัฐธรรมนูญและเพิ่มความร้อนแรงของการการเมือง ดังนั้น นายชัยจะต้องระงับทั้งการแก้ไขญัตติเสนอร่างแก้ไขฉบับ คปพร. มิฉะนั้น นายชัยอาจมีความผิดฐานจงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญตามมาตรา 270 อาจจะทำให้นำไปสู่ถอนถอนได้” นายคมสัน กล่าว และว่า ทั้งนี้รัฐสภาควรระงับการเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ที่ยกร่างโดยนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รมต.ประจำสำนักนายกฯ ด้วย เพราะจะเป็นการสร้างเงื่อนไขทางการเมืองที่นำไปสู่ความวิกฤตได้
วันนี้ (3 พ.ย.) นายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.50) กล่าววิเคราะห์เหตุการณ์ทางการเมืองภายหลังรายการความจริงวันนี้สัญจรว่า ความแตกแยกที่เกิดขึ้นขณะนี้เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงเกรงว่าจะเกิดความแตกแยกในสังคมจะมีมากขึ้น ทั้งนี้ การที่รัฐสภาและรัฐบาลแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มี ส.ส.ร.3 นั้นจึงไม่ใช่ทางออกของปัญหา และไม่ใช่วิธีการลดความรุนแรง ตรงกันข้าม การแก้ไขรัฐธรรมนูญกลับเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากตอนนี้หาเหตุผลมาสนับสนุนการแก้ไขไม่ได้ การแก้รัฐธรรมนูญจึงไม่ใช่การแก้ความรุนแรง เพราะยังมีฝ่ายหนึ่งที่หวงแหนรัฐธรรมนูญอยู่ การแก้สิ่งที่หวงแหนจึงเท่ากับเป็นการทุบกล่องดวงใจ ดังนั้น การเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญและการปล่อยให้คนผิดอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เชิดหน้าชูตาเสมือนหนึ่งคนไม่มีความผิด อีกทั้งยังปล่อยให้มีการยั่วยุกันผ่านทางวิทยุชุมชน ความรุนแรงก็ไม่มีทางจบลงได้ เพราะถือว่ารัฐบาลมีพฤติกรรมปากว่าตาขยิบ
“ส.ส.ร.3 ไม่ควรเกิดด้วยซ้ำไป เพราะตอนนี้รัฐบาลยังไม่รู้เหตุผลเลยว่าจะแก้ไปทำไม จะแก้ประเด็นไหน หรือต้องการแก้รัฐธรรมนูญ เพราะความรู้สึกของนักการเมืองที่เกรงว่าจะถูกเช็คบิลจากรัฐธรรมนูญจึงต้องรีบแก้ ซึ่งเป็นปัญหาของคนเพียงบางกลุ่ม เท่ากับว่าเมื่อมีปัญหาก็ต้องแก้กติกาถือว่าไม่ถูกต้อง การตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมาจึงเป็นการหาแพะมารับบาปจากรัฐบาล เพราะหากมีการตั้งขึ้นมาฝ่ายการเมืองก็ต้องแทรกแซงได้ เท่ากับว่าเป็นการทำลายปฏิรูปการเมือง ดังนั้น การมี ส.ส.ร.3 จึงไม่ได้ทำให้เกิดความสมานฉันท์เกิดขึ้น ตรงกันข้ามกลับจะเพิ่มความแตกแยกมากขึ้น” นายคมสัน กล่าว และว่า ทั้งนี้ตนไม่คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ แต่หากคิดว่าประเด็นต่างๆ ในรัฐธรรมนูญมีปัญหาก็ควรให้นักวิชาการที่ความเป็นกลางศึกษาข้อดี ข้อเสีย จากนั้นจึงนำผลการศึกษามาดูก่อนจะแก้ไข
นักกฎหมายผู้นี้ยังกล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมของ คณะกรรมการประชาชนเพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.) บรรจุไว้ในวาระแต่ไม่ได้นำมาพิจารณานั้นเรื่องนี้ตนเห็นว่า แม้ นพ.เหวง โตจิราการ และคณะจะอ้างว่าการเสนอร่างโดยอาศัยรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 พร้อมกับรายชื่อประชาชนจำนวน 7 หมื่นรายชื่อ แต่ก็ทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่มีความสมบูรณ์ เพราะยังไม่มีกฎหมายรับรองการเสนอกฎหมาย
“การที่นายชัยนำร่างเสนอแก้ไขกฎหมายฉบับ คปพร.บรรจุเข้าวาระการพิจารณา แม้ไม่มีการพิจารณาสภาจึงเป็นการข่มขืนรัฐธรรมนูญและเพิ่มความร้อนแรงของการการเมือง ดังนั้น นายชัยจะต้องระงับทั้งการแก้ไขญัตติเสนอร่างแก้ไขฉบับ คปพร. มิฉะนั้น นายชัยอาจมีความผิดฐานจงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญตามมาตรา 270 อาจจะทำให้นำไปสู่ถอนถอนได้” นายคมสัน กล่าว และว่า ทั้งนี้รัฐสภาควรระงับการเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ที่ยกร่างโดยนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รมต.ประจำสำนักนายกฯ ด้วย เพราะจะเป็นการสร้างเงื่อนไขทางการเมืองที่นำไปสู่ความวิกฤตได้