รองเลขา กพฐ.เผยนักการศึกษาตอบรับแนวคิดปรับโครงสร้างเงินเดือนครูใหม่เพียบ ชี้ต้องการยกระดับการศึกษา แก้ปัญหาหมักหมมในระบบ จูงใจให้คนอยากมาเป็นครูมากขึ้น ระบุน่าจะนำเข้าถกในที่ประชุมบอร์ดกพฐ.
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงความคืบหน้าแนวคิดการปรับโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการครูที่เข้าใจในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ว่า หลังจากที่มีการเผยแพร่แนวคิดดังกล่าวออกไป ปรากฏว่ามีเสียงตอบรับอย่างดีจากนักวิชาการด้านการศึกษา เพราะส่วนใหญ่เข้าใจดีว่าประเด็นสำคัญในการยกระดับคุณภาพและแก้ไขปัญหาการศึกษาที่หมักหมมมานานนั้น จะต้องมีการปรับเปลี่ยนในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะในด้านของบุคลากรนั้นจะต้องมีตัวกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และสามารถที่จะได้ดึงคนเก่ง มีความรู้ความสามารถ มาสู่วิชาชีพครู ซึ่งที่ผ่านมามีงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ที่ได้ศึกษาในประเด็นเหล่านี้ไว้แล้ว ปรากฏว่า ในสาขาวิชาที่ขาดแคลน อาทิ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการจูงใจเพื่อดึงผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านเหล่านั้นเข้ามาสู่วิชาชีพครูให้มากขึ้น
“แนวคิดดังกล่าวมีพื้นฐานจากงานวิจัย และจากการศึกษาโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการครูในหลายประเทศ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าหากมีการปรับโครงสร้างเงินเดือนโดยเพิ่มค่าตอบแทนให้กับครูแรกเข้าใหม่นั้นทำให้ได้ครูดีๆ เก่งๆ เข้ามาทำงานมากขึ้น ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย แต่ก็มีเสียงติงมาบ้างว่า เป็นแนวคิดที่ปฏิบัติได้ยาก แต่ผมคิดว่าหากได้มีการให้ชัดเจน มีงานวิจัยและข้อมูลรองรับ มีการจัดสัมมนารับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความเป็นที่เกิดขึ้น ก็น่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เพื่อพิจารณาได้ และหากบอร์ด กพฐ.เห็นว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมก็คงจะมีการนำเสนอต่อนายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการ คนใหม่ พิจารณาต่อไปได้” นายสมเกียรติ กล่าว
นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า สำหรับแนวคิดดังกล่าวนั้นจะเป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณหรือไม่นั้น ส่วนตัวแล้วเห็นว่า ในแต่ละปี สพฐ.มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกษียณออกมาไปจำนวนมาก โดยแต่ละคนจะมีเงินเดือนประมาณ 2.5 หมื่นบาทขึ้นไปอยู่แล้ว ซึ่งหากนำงบประมาณจำนวนดังกล่าวมาจ้างครูเข้าใหม่ โดยอาจจะบรรจุในอัตราเงินเดือน 1.5 หมื่นบาท ก็ยังถือว่าน้อยกว่างบประมาณที่รัฐจะต้องจ่ายประจำอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามแม้ว่าในระยะยาวอาจจะต้องมีการเพิ่มอัตราเงินเดือนมากขึ้นนั้น แต่หากเทียบสัดส่วนก็น่าจะอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สร้างภาระให้กับงบประมาณของรัฐมากนัก ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่จะต้องมาหารือกันอย่างจริงจังหากต้องการที่จะพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาของไทย และเป็นเรื่องที่จะต้องมาทบทวนกันในเวลานี้ เพราะเป็นช่วงที่ สพฐ.จะต้องบรรจุข้าราชการครูเข้าใหม่จำนวนมาก หากไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงอาจจะต้องรอเวลาอีกนานกว่า 5-10 ปี ในการสร้างครูเลือดใหม่เข้าสู่วงการศึกษาของไทย
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงความคืบหน้าแนวคิดการปรับโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการครูที่เข้าใจในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ว่า หลังจากที่มีการเผยแพร่แนวคิดดังกล่าวออกไป ปรากฏว่ามีเสียงตอบรับอย่างดีจากนักวิชาการด้านการศึกษา เพราะส่วนใหญ่เข้าใจดีว่าประเด็นสำคัญในการยกระดับคุณภาพและแก้ไขปัญหาการศึกษาที่หมักหมมมานานนั้น จะต้องมีการปรับเปลี่ยนในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะในด้านของบุคลากรนั้นจะต้องมีตัวกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และสามารถที่จะได้ดึงคนเก่ง มีความรู้ความสามารถ มาสู่วิชาชีพครู ซึ่งที่ผ่านมามีงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ที่ได้ศึกษาในประเด็นเหล่านี้ไว้แล้ว ปรากฏว่า ในสาขาวิชาที่ขาดแคลน อาทิ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการจูงใจเพื่อดึงผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านเหล่านั้นเข้ามาสู่วิชาชีพครูให้มากขึ้น
“แนวคิดดังกล่าวมีพื้นฐานจากงานวิจัย และจากการศึกษาโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการครูในหลายประเทศ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าหากมีการปรับโครงสร้างเงินเดือนโดยเพิ่มค่าตอบแทนให้กับครูแรกเข้าใหม่นั้นทำให้ได้ครูดีๆ เก่งๆ เข้ามาทำงานมากขึ้น ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย แต่ก็มีเสียงติงมาบ้างว่า เป็นแนวคิดที่ปฏิบัติได้ยาก แต่ผมคิดว่าหากได้มีการให้ชัดเจน มีงานวิจัยและข้อมูลรองรับ มีการจัดสัมมนารับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความเป็นที่เกิดขึ้น ก็น่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เพื่อพิจารณาได้ และหากบอร์ด กพฐ.เห็นว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมก็คงจะมีการนำเสนอต่อนายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการ คนใหม่ พิจารณาต่อไปได้” นายสมเกียรติ กล่าว
นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า สำหรับแนวคิดดังกล่าวนั้นจะเป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณหรือไม่นั้น ส่วนตัวแล้วเห็นว่า ในแต่ละปี สพฐ.มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกษียณออกมาไปจำนวนมาก โดยแต่ละคนจะมีเงินเดือนประมาณ 2.5 หมื่นบาทขึ้นไปอยู่แล้ว ซึ่งหากนำงบประมาณจำนวนดังกล่าวมาจ้างครูเข้าใหม่ โดยอาจจะบรรจุในอัตราเงินเดือน 1.5 หมื่นบาท ก็ยังถือว่าน้อยกว่างบประมาณที่รัฐจะต้องจ่ายประจำอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามแม้ว่าในระยะยาวอาจจะต้องมีการเพิ่มอัตราเงินเดือนมากขึ้นนั้น แต่หากเทียบสัดส่วนก็น่าจะอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สร้างภาระให้กับงบประมาณของรัฐมากนัก ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่จะต้องมาหารือกันอย่างจริงจังหากต้องการที่จะพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาของไทย และเป็นเรื่องที่จะต้องมาทบทวนกันในเวลานี้ เพราะเป็นช่วงที่ สพฐ.จะต้องบรรจุข้าราชการครูเข้าใหม่จำนวนมาก หากไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงอาจจะต้องรอเวลาอีกนานกว่า 5-10 ปี ในการสร้างครูเลือดใหม่เข้าสู่วงการศึกษาของไทย