อุดรธานี - อธิการบดี ม.ราชภัฏอุดรธานี แนะก.ศึกษาธิการต้องหาครูที่จบโดยตรงมาสอนประวัติศาสตร์ ย้ำนอกต้องสอนให้รู้ภูมิหลังของชาติแล้ว ต้องให้ผู้เรียนซาบซึ้งในความเป็นชาติของตนเองด้วย
ตามที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมีพระราชเสาวนีย์ถึงเรื่องการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในระบบการศึกษาของเรา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผศ.จรูญ ถาวรจักร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้เปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ในสถานศึกษาว่า ตามที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมีพระราชเสาวนีย์ถึงเรื่องการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ในระบบการศึกษาของไทยนั้น ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่ว่าจะเป็นครู,อาจารย์และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารในกระทรวงศึกษาธิการ จะต้องให้ความสำคัญและจะต้องพิจารณา
ทั้งนี้ก็เพราะว่าสิ่งที่เป็นพระราชเสาวนีย์ของพระองค์ท่านนั้นล้วนแล้วมีความหมายต่อสังคมและประเทศชาติ
ประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ เรื่องเนื้อหาสาระเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นั้น ความจริงแล้วในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานก็มีอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา แต่เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบันเป็นลักษณะหลักสูตรแบบบูรณาการ ส่วนประเด็นที่สองที่ตามมาก็คือเมื่อเนื้อหาสาระมีอยู่ ถึงแม้ว่าจะไม่อยู่รายวิชาเป็นเอกเทศแบบอดีต แต่ก็จะต้องมาเกี่ยวข้องกับเรื่องการเรียนการสอนของครูอาจารย์ว่าได้สอนเนื้อหาสาระประวัติศาสตร์ บรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใดแค่ไหน
เนื้อหาสาระประวัติศาสตร์นอกจากจะสอนให้มีความรู้ความเข้าใจ ถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ชาติไทยแล้ว สิ่งที่เป็นความสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะต้องสอนให้เกิดความซาบซึ้งควบคู่ไปด้วย
ประกอบกับในสภาวะปัญหาการศึกษาในเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเกี่ยวกับตัวครู ก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ครูจำนวนไม่น้อยที่สอนในวิชาที่ไม่ตรงกับที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า ในเนื้อหาสาระวิชาประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้มีผู้ที่จบความรู้ความเข้าใจทางประวัติศาสตร์มาทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนอย่างแท้จริง
เมื่อครูที่จบทางด้านอื่นมาสอนวิชานี้ตัวครูเองอาจจะขาดความลุ่มลึกก็อาจจะสอนอย่างผิวเผิน หรืออาจจะไม่ถูกต้องตรงตามสิ่งที่ควรจะเป็นอย่างแท้จริง ก็ทำให้เกิดผลที่ว่า นักเรียนในปัจจุบันขาดความรู้ความเข้าใจในสาระวิชาประวัติศาสตร์ลงได้ จึงเป็นความห่วงใยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความห่วงใยที่เกิดจากพระองค์ท่าน
ตามที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมีพระราชเสาวนีย์ถึงเรื่องการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในระบบการศึกษาของเรา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผศ.จรูญ ถาวรจักร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้เปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ในสถานศึกษาว่า ตามที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมีพระราชเสาวนีย์ถึงเรื่องการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ในระบบการศึกษาของไทยนั้น ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่ว่าจะเป็นครู,อาจารย์และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารในกระทรวงศึกษาธิการ จะต้องให้ความสำคัญและจะต้องพิจารณา
ทั้งนี้ก็เพราะว่าสิ่งที่เป็นพระราชเสาวนีย์ของพระองค์ท่านนั้นล้วนแล้วมีความหมายต่อสังคมและประเทศชาติ
ประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ เรื่องเนื้อหาสาระเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นั้น ความจริงแล้วในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานก็มีอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา แต่เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบันเป็นลักษณะหลักสูตรแบบบูรณาการ ส่วนประเด็นที่สองที่ตามมาก็คือเมื่อเนื้อหาสาระมีอยู่ ถึงแม้ว่าจะไม่อยู่รายวิชาเป็นเอกเทศแบบอดีต แต่ก็จะต้องมาเกี่ยวข้องกับเรื่องการเรียนการสอนของครูอาจารย์ว่าได้สอนเนื้อหาสาระประวัติศาสตร์ บรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใดแค่ไหน
เนื้อหาสาระประวัติศาสตร์นอกจากจะสอนให้มีความรู้ความเข้าใจ ถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ชาติไทยแล้ว สิ่งที่เป็นความสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะต้องสอนให้เกิดความซาบซึ้งควบคู่ไปด้วย
ประกอบกับในสภาวะปัญหาการศึกษาในเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเกี่ยวกับตัวครู ก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ครูจำนวนไม่น้อยที่สอนในวิชาที่ไม่ตรงกับที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า ในเนื้อหาสาระวิชาประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้มีผู้ที่จบความรู้ความเข้าใจทางประวัติศาสตร์มาทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนอย่างแท้จริง
เมื่อครูที่จบทางด้านอื่นมาสอนวิชานี้ตัวครูเองอาจจะขาดความลุ่มลึกก็อาจจะสอนอย่างผิวเผิน หรืออาจจะไม่ถูกต้องตรงตามสิ่งที่ควรจะเป็นอย่างแท้จริง ก็ทำให้เกิดผลที่ว่า นักเรียนในปัจจุบันขาดความรู้ความเข้าใจในสาระวิชาประวัติศาสตร์ลงได้ จึงเป็นความห่วงใยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความห่วงใยที่เกิดจากพระองค์ท่าน