ศาลฯ สั่งจ่ายเงินค่าจ้างพนักงาน เจ้าหน้าที่องค์การค้าฯ ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2547 พร้อมดอกเบี้ย 15% รวม 400 ล้านบาท เหตุ สกสค.ออกข้อบังคับ ด้วยการบริหารงานบุคคล โดยใช้คำนิยามว่าพนักงานคือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับเงินเดือนจาก สกสค.แต่ไม่รวมเจ้าหน้าที่องค์การค้าฯ เมื่อปี 2547 ทำเจ้าหน้าที่องค์การค้าฯ เสียสิทธิ
นายอนันต์ นุชเทศ ประธานสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภา เปิดเผยว่า ตามที่สหภาพแรงงานฯ ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (บอร์ด.สกสค.) ต่อศาลปกครองและศาลแรงงานกลางกรณีไม่ได้รับเงินเดือนเพิ่ม 3% 2 ขั้น ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2547 นั้น เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 23 กันยายน 2551 ศาลแรงงานกลางได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 5854-5881/2548 หมายเลขแดงที่ 2032-2130/2549 กรณีองค์การค้าฯไม่ทำตามข้อตกลงสภาพการจ้าง เรื่องการปรับโครงสร้างเงินเดือนรัฐวิสาหกิจ ตามมติ ครม.พ.ศ.2547 ซึ่งศาลแรงงานกลางได้พิพากษาให้จ่ายเงินพนักงาน เจ้าหน้าที่องค์การค้าฯภายใน 15 วัน หากไม่ปฏิบัติอาจถูกยึดทรัพย์ จับกุม กักขัง และบังคับคดีตามกฎหมาย ดังนั้น สกสค.จะต้องจ่ายเงินให้พนักงานและเจ้าหน้าที่องค์การค้าฯพร้อมดอกเบี้ย 15% ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 ตามคำสั่งของศาล รวมมูลค่าประมาณ 400 ล้านบาท
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะ สกสค.ได้ออกข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลขึ้นเมื่อปี 2547 โดยใช้คำนิยามว่าพนักงาน คือ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับเงินเดือนจาก สกสค.แต่ไม่รวมเจ้าหน้าที่องค์การค้าฯ จึงทำให้เจ้าหน้าที่องค์การค้าฯเสียสิทธิ และ สกสค.มีมติจ่ายเงินให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ สกสค.ที่สังกัดหน่วยงานอื่น ดังนั้น ศาลแรงงานกลางจึงได้มีคำพิพากษาให้บอร์ด สกสค.จ่ายเงินให้แก่เจ้าหน้าที่องค์การค้าฯ เนื่องจากเป็นข้อตกลงสภาพการจ้าง
“เรื่องนี้หาก สกสค.มีการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสภาครู 2546 ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่องค์การค้าฯมีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่สังกัด สกสค.ซึ่งเป็นของรัฐเหมือนกับหน่วยงานอื่น เรื่องนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น เพราะรัฐจะต้องจ่ายเงินเดือนเอง ซึ่งจะสามารถดำเนินการตั้งแต่มีมติ ครม.เพราะรัฐบาลจะต้องจ่ายเงินให้กับเจ้าหน้าที่องค์การค้าเหมือนกับหน่วยงานอื่นๆ แต่ปัญหาเกิดจากบอร์ด สกสค.ไปออกข้อบังคับดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นความบกพร่องของคณะกรรมการบอร์ด สกสค.ที่ไม่ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติสภาครู 2546” นายอนันต์ กล่าว
นายอนันต์ นุชเทศ ประธานสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภา เปิดเผยว่า ตามที่สหภาพแรงงานฯ ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (บอร์ด.สกสค.) ต่อศาลปกครองและศาลแรงงานกลางกรณีไม่ได้รับเงินเดือนเพิ่ม 3% 2 ขั้น ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2547 นั้น เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 23 กันยายน 2551 ศาลแรงงานกลางได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 5854-5881/2548 หมายเลขแดงที่ 2032-2130/2549 กรณีองค์การค้าฯไม่ทำตามข้อตกลงสภาพการจ้าง เรื่องการปรับโครงสร้างเงินเดือนรัฐวิสาหกิจ ตามมติ ครม.พ.ศ.2547 ซึ่งศาลแรงงานกลางได้พิพากษาให้จ่ายเงินพนักงาน เจ้าหน้าที่องค์การค้าฯภายใน 15 วัน หากไม่ปฏิบัติอาจถูกยึดทรัพย์ จับกุม กักขัง และบังคับคดีตามกฎหมาย ดังนั้น สกสค.จะต้องจ่ายเงินให้พนักงานและเจ้าหน้าที่องค์การค้าฯพร้อมดอกเบี้ย 15% ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 ตามคำสั่งของศาล รวมมูลค่าประมาณ 400 ล้านบาท
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะ สกสค.ได้ออกข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลขึ้นเมื่อปี 2547 โดยใช้คำนิยามว่าพนักงาน คือ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับเงินเดือนจาก สกสค.แต่ไม่รวมเจ้าหน้าที่องค์การค้าฯ จึงทำให้เจ้าหน้าที่องค์การค้าฯเสียสิทธิ และ สกสค.มีมติจ่ายเงินให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ สกสค.ที่สังกัดหน่วยงานอื่น ดังนั้น ศาลแรงงานกลางจึงได้มีคำพิพากษาให้บอร์ด สกสค.จ่ายเงินให้แก่เจ้าหน้าที่องค์การค้าฯ เนื่องจากเป็นข้อตกลงสภาพการจ้าง
“เรื่องนี้หาก สกสค.มีการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสภาครู 2546 ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่องค์การค้าฯมีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่สังกัด สกสค.ซึ่งเป็นของรัฐเหมือนกับหน่วยงานอื่น เรื่องนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น เพราะรัฐจะต้องจ่ายเงินเดือนเอง ซึ่งจะสามารถดำเนินการตั้งแต่มีมติ ครม.เพราะรัฐบาลจะต้องจ่ายเงินให้กับเจ้าหน้าที่องค์การค้าเหมือนกับหน่วยงานอื่นๆ แต่ปัญหาเกิดจากบอร์ด สกสค.ไปออกข้อบังคับดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นความบกพร่องของคณะกรรมการบอร์ด สกสค.ที่ไม่ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติสภาครู 2546” นายอนันต์ กล่าว