สมาคมโรคไตฯ ทำหนังสือถึง สปสช.ขอให้ทบทวนค่าบริการฟอกเลือด 1,500 บาท ต่ำกว่าราคาเป็นจริง ขณะที่ “หมอประทีป” ขอรายละเอียดต้นทุนของสมาคมโรคไตฯ พิจารณา ยันวันที่ 1 ตุลาคม ให้บริการฟอกเลือดผู้ป่วยไตวาย ในอัตราที่ สปสช.กำหนด กำหนด ชี้ ลองให้บริการ 6-12 เดือน อาจพิจารณาเปลี่ยนแปลงราคาเพื่อความเหมาะสมและเป็นจริงได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศ.นพ.ดุสิต ล้ำเลิศสกุล นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ได้ทำหนังสือถึง นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ลงวันที่ 12 กันยายน 2551 เรื่องค่ารักษาพยาบาลการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยหนังสือระบุว่า เนื่องด้วยรัฐบาลได้ประกาศนโยบายให้บริการรักษาโรคไตวายเรื้อรังอย่างทั่วถึง และครอบคลุมผู้ป่วยผู้มีสิทธิบัตรทอง ซึ่งจะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป โดยผู้ป่วยจะต้องร่วมจ่าย 1 ใน 3 ของราคาค่าบริการ แต่เนื่องจากราคาค่าบริการที่ 1,500 บาท เป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงที่จะรับได้ในด้านต้นทุน และเนื่องจากการศึกษาค่ารักษาพยาบาลดังกล่าว เป็นค่าใช้จ่ายที่กระทำการสำรวจเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา โดยใช้ราคาของมูลนิธิโรคไตเป็นบรรทัดฐานส่วนหนึ่ง แต่ปัจจุบันค่าใช้จ่ายทางการแพทย์เปลี่ยนแปลงไปมาก ดังนั้น ราคาต้นทุนของการรักษาทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดจึงไม่สามารถแบกรับภาระดังกล่าวได้
หนังสือระบุอีกว่า สมาคมโรคไตฯ จึงใคร่ขอทาง สปสช.พิจารณาช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยขอให้พิจารณาตามหลักเศรษฐศาสตร์ความเป็นจริง ซึ่งราคาดังกล่าวนี้สมาคมได้ประเมินร่วมกันกับการบริการต่างๆ และคณะแพทยศาสตร์ทุกแห่ง พบว่า ราคาต้นทุนในปัจจุบันอยู่ที่ 1,800-2,000 บาท เป็นอย่างน้อย สมาคมโรคไตฯ จึงขอให้ สปสช.พิจารณาค่าบริการอีกครั้ง ก่อนจะเริ่มดำเนินงานในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ของการบริการที่ได้คุณภาพมาตรฐานทางการรักษาที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตต่อไป
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว และได้ทำหนังสือตอบกลับไปเมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา เพื่อขอบคุณที่สมาคมโรคไตฯ ให้ความร่วมมือในการทำงานและช่วยเหลือด้วยดีมาโดยตลอด พร้อมทั้งขอรายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ราคาต้นทุนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมของสมาคมโรคไตฯ เพื่อมาพิจารณาปรับเปลี่ยนราคาค่าบริการให้มีความเหมาะสมตามสภาพความเป็นจริงในอนาคตต่อไป
นพ.ประทีป กล่าวต่อว่า ในวันที่ 1 ตุลาคม จะเริ่มให้บริการผู้ป่วยไตวายเรื้องรัง สปสช.ยืนยันจะยังคงใช้อัตราค่าบริการการฟอกเลือดที่ 1,500 บาท ซึ่ง นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็ยืนยันด้วยตนเองว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคา เพราะในขณะนี้ราคาดังกล่าวถือว่ามีความเหมาะสมแล้ว ซึ่งฝ่ายวิชาการของสปสช.ได้ทำการวิเคราะห์ราคาต้นทุนแล้วอยู่ที่ 1,225 บาท แต่การบริหารจัดการภายในของโรงพยาบาลแต่ละแห่งจะต้องมีประสิทธิภาพ เช่น มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย ก็ให้บริการในราคา 1,000 บาทต่อครั้ง มูลนิธิพลตรีจำลอง ศรีเมือง รามคำแหง คิดครั้งละ 1,200 บาทต่อครั้ง หรือแม้แต่ศูนย์บริการฟอกเลือกของเอกชนอย่างศูนย์ไตเทียมราชวัตร ก็คิดค่าบริการครั้งละ 1,500 บาทต่อครั้งเท่านั้น
“ราคาต้นทุนการฟอกเลือดคิดง่ายมากสามารถแจกแจกแต่ละหมวดออกมาได้ทุกรายการ คือ ค่าอุปกรณ์ 625 บาท ค่าซ่อมบำรุงเครื่องไตเทียม ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา รวม 200 บาท และค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ 400 บาท ก็มีความชัดเจนอยู่แล้ว ขาดอย่างเดียวที่สปสช.อาจไม่ได้บวกเพิ่มเข้าไป คือ ค่าบริการ ค่าแอร์ หรือค่าความสะดวกสบาย ซึ่งผู้ป่วยก็ไม่ได้ต้องการการความหรูหรา หรือความสะดวกสบายเหล่านี้เพียงแค่มีมาตรฐานทางการแพทย์ที่จะช่วยรักษาชีวิตได้จากเดิมที่หากไม่มีเงินก็ไม่มีโอกาสเข้าถึงบริการเลยก็เสียชีวิต หรือที่เข้ารับการรักษาก็สิ้นเนื้อประดาตัว” นพ.ประทีป กล่าว
นพ.ประทีป กล่าวด้วยว่า การที่ สปสช.เข้ามาดูแลขยายการให้บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ก็พยายามหาทางออกให้ทุกฝ่ายอยู่ได้ ให้ฝ่ายบริการพอมีกำไรพอสมควร ผู้ป่วยไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายสูงจนเกินไป ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็สามารถให้บริการได้ครอบคลุมทั่วถึง โดยไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายซึ่งก็มาจากภาษีของประชาชน ดังนั้น ราคาที่กำหนดจึงไม่ได้อยู่ดีๆ แล้วคิดขึ้นมาแต่มีการพิจารณาไตร่ตรองอย่างดีแล้ว แต่เมื่อทางสมาคมโรคไตฯ ส่งข้อมูลมาก็จะรับพิจารณา เพราะอนาคตค่าใช้จ่ายย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไป ค่าบริการฟอกไตอาจมีการปรับขึ้นหรือลงก็ได้ตามข้อเท็จริงได้ ซึ่งในช่วง 6-12 เดือน ที่เริ่มให้บริการฟอกไต จะมีการรวบรวมตัวเลขข้อมูลผู้เข้ารับบริการการ เพื่อนำไปพิจารณาปรับค่าบริการต่อไป
นพ.ประทีป กล่าวอีกว่า ในส่วนของคุณภาพมาตรฐานการให้บริการของสถานบริการทั้งรัฐและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการกับ สปสช.ในราคาค่าบริการ 1,500 บาทนั้น ทุกแห่งได้ผ่านการประเมินเกณฑ์รับรองมาตรฐานทางการแพทย์ในการให้บริการฟอกเลือดจากสมาคมโรคไตฯ แล้ว โดยเหมือนกันกับมาตรฐานการบริการในระบบประกันสังคมหรือระบบสวัสดิการราชการที่เสียค่าใช้จ่ายในการฟอกเลือด 2,000 บาทต่อครั้ง
“ที่ผ่านมา สปสช.และสมาคมโรคไตฯ มีการทำงานร่วมกันมาโดยตลอด ในการพิจารณาราคาค่าบริการฟอกไต 1,500 บาทต่อครั้ง ก็มีตัวแทนจากสมาคมโรคไตฯ มีส่วนร่วมเป็นคณะอนุกรรมการ แต่เนื่องจากเพิ่งมีการเปลี่ยนนายกสมาคมโรคไตฯ ช่วง 1-2 เดือนนี้ จึงอาจทำให้ยังไม่มีการต่อเนื่องในการทำงาน”นพ.ประทีป กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศ.นพ.ดุสิต ล้ำเลิศสกุล นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ได้ทำหนังสือถึง นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ลงวันที่ 12 กันยายน 2551 เรื่องค่ารักษาพยาบาลการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยหนังสือระบุว่า เนื่องด้วยรัฐบาลได้ประกาศนโยบายให้บริการรักษาโรคไตวายเรื้อรังอย่างทั่วถึง และครอบคลุมผู้ป่วยผู้มีสิทธิบัตรทอง ซึ่งจะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป โดยผู้ป่วยจะต้องร่วมจ่าย 1 ใน 3 ของราคาค่าบริการ แต่เนื่องจากราคาค่าบริการที่ 1,500 บาท เป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงที่จะรับได้ในด้านต้นทุน และเนื่องจากการศึกษาค่ารักษาพยาบาลดังกล่าว เป็นค่าใช้จ่ายที่กระทำการสำรวจเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา โดยใช้ราคาของมูลนิธิโรคไตเป็นบรรทัดฐานส่วนหนึ่ง แต่ปัจจุบันค่าใช้จ่ายทางการแพทย์เปลี่ยนแปลงไปมาก ดังนั้น ราคาต้นทุนของการรักษาทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดจึงไม่สามารถแบกรับภาระดังกล่าวได้
หนังสือระบุอีกว่า สมาคมโรคไตฯ จึงใคร่ขอทาง สปสช.พิจารณาช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยขอให้พิจารณาตามหลักเศรษฐศาสตร์ความเป็นจริง ซึ่งราคาดังกล่าวนี้สมาคมได้ประเมินร่วมกันกับการบริการต่างๆ และคณะแพทยศาสตร์ทุกแห่ง พบว่า ราคาต้นทุนในปัจจุบันอยู่ที่ 1,800-2,000 บาท เป็นอย่างน้อย สมาคมโรคไตฯ จึงขอให้ สปสช.พิจารณาค่าบริการอีกครั้ง ก่อนจะเริ่มดำเนินงานในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ของการบริการที่ได้คุณภาพมาตรฐานทางการรักษาที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตต่อไป
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว และได้ทำหนังสือตอบกลับไปเมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา เพื่อขอบคุณที่สมาคมโรคไตฯ ให้ความร่วมมือในการทำงานและช่วยเหลือด้วยดีมาโดยตลอด พร้อมทั้งขอรายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ราคาต้นทุนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมของสมาคมโรคไตฯ เพื่อมาพิจารณาปรับเปลี่ยนราคาค่าบริการให้มีความเหมาะสมตามสภาพความเป็นจริงในอนาคตต่อไป
นพ.ประทีป กล่าวต่อว่า ในวันที่ 1 ตุลาคม จะเริ่มให้บริการผู้ป่วยไตวายเรื้องรัง สปสช.ยืนยันจะยังคงใช้อัตราค่าบริการการฟอกเลือดที่ 1,500 บาท ซึ่ง นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็ยืนยันด้วยตนเองว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคา เพราะในขณะนี้ราคาดังกล่าวถือว่ามีความเหมาะสมแล้ว ซึ่งฝ่ายวิชาการของสปสช.ได้ทำการวิเคราะห์ราคาต้นทุนแล้วอยู่ที่ 1,225 บาท แต่การบริหารจัดการภายในของโรงพยาบาลแต่ละแห่งจะต้องมีประสิทธิภาพ เช่น มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย ก็ให้บริการในราคา 1,000 บาทต่อครั้ง มูลนิธิพลตรีจำลอง ศรีเมือง รามคำแหง คิดครั้งละ 1,200 บาทต่อครั้ง หรือแม้แต่ศูนย์บริการฟอกเลือกของเอกชนอย่างศูนย์ไตเทียมราชวัตร ก็คิดค่าบริการครั้งละ 1,500 บาทต่อครั้งเท่านั้น
“ราคาต้นทุนการฟอกเลือดคิดง่ายมากสามารถแจกแจกแต่ละหมวดออกมาได้ทุกรายการ คือ ค่าอุปกรณ์ 625 บาท ค่าซ่อมบำรุงเครื่องไตเทียม ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา รวม 200 บาท และค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ 400 บาท ก็มีความชัดเจนอยู่แล้ว ขาดอย่างเดียวที่สปสช.อาจไม่ได้บวกเพิ่มเข้าไป คือ ค่าบริการ ค่าแอร์ หรือค่าความสะดวกสบาย ซึ่งผู้ป่วยก็ไม่ได้ต้องการการความหรูหรา หรือความสะดวกสบายเหล่านี้เพียงแค่มีมาตรฐานทางการแพทย์ที่จะช่วยรักษาชีวิตได้จากเดิมที่หากไม่มีเงินก็ไม่มีโอกาสเข้าถึงบริการเลยก็เสียชีวิต หรือที่เข้ารับการรักษาก็สิ้นเนื้อประดาตัว” นพ.ประทีป กล่าว
นพ.ประทีป กล่าวด้วยว่า การที่ สปสช.เข้ามาดูแลขยายการให้บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ก็พยายามหาทางออกให้ทุกฝ่ายอยู่ได้ ให้ฝ่ายบริการพอมีกำไรพอสมควร ผู้ป่วยไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายสูงจนเกินไป ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็สามารถให้บริการได้ครอบคลุมทั่วถึง โดยไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายซึ่งก็มาจากภาษีของประชาชน ดังนั้น ราคาที่กำหนดจึงไม่ได้อยู่ดีๆ แล้วคิดขึ้นมาแต่มีการพิจารณาไตร่ตรองอย่างดีแล้ว แต่เมื่อทางสมาคมโรคไตฯ ส่งข้อมูลมาก็จะรับพิจารณา เพราะอนาคตค่าใช้จ่ายย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไป ค่าบริการฟอกไตอาจมีการปรับขึ้นหรือลงก็ได้ตามข้อเท็จริงได้ ซึ่งในช่วง 6-12 เดือน ที่เริ่มให้บริการฟอกไต จะมีการรวบรวมตัวเลขข้อมูลผู้เข้ารับบริการการ เพื่อนำไปพิจารณาปรับค่าบริการต่อไป
นพ.ประทีป กล่าวอีกว่า ในส่วนของคุณภาพมาตรฐานการให้บริการของสถานบริการทั้งรัฐและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการกับ สปสช.ในราคาค่าบริการ 1,500 บาทนั้น ทุกแห่งได้ผ่านการประเมินเกณฑ์รับรองมาตรฐานทางการแพทย์ในการให้บริการฟอกเลือดจากสมาคมโรคไตฯ แล้ว โดยเหมือนกันกับมาตรฐานการบริการในระบบประกันสังคมหรือระบบสวัสดิการราชการที่เสียค่าใช้จ่ายในการฟอกเลือด 2,000 บาทต่อครั้ง
“ที่ผ่านมา สปสช.และสมาคมโรคไตฯ มีการทำงานร่วมกันมาโดยตลอด ในการพิจารณาราคาค่าบริการฟอกไต 1,500 บาทต่อครั้ง ก็มีตัวแทนจากสมาคมโรคไตฯ มีส่วนร่วมเป็นคณะอนุกรรมการ แต่เนื่องจากเพิ่งมีการเปลี่ยนนายกสมาคมโรคไตฯ ช่วง 1-2 เดือนนี้ จึงอาจทำให้ยังไม่มีการต่อเนื่องในการทำงาน”นพ.ประทีป กล่าว