กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เก็บตัวอย่างยาแผนโบราณจากจังหวัดตรัง พัทลุง และ นครศรีธรรมราช พบยาในกลุ่มสเตียรอยด์ปนปลอมในยาแผนโบราณร้อยละ 8 แนะหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขใช้ชุดตรวจเบื้องต้นตรวจ
นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้ผลิตยาแผนโบราณบางแห่งใช้วิธีการโฆษณาสรรพคุณชวนให้ประชาชนเชื่อว่า ถ้าได้บริโภคผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณที่ตนเป็นผู้ผลิตจะหายจากอาการที่เป็นอยู่ อย่างรวดเร็ว จึงขอเตือนประชาชนไม่ควรหลงเชื่อตามคำโฆษณาดังกล่าว เพราะสรรพคุณนั้นอาจเกิดจากการที่ผู้ผลิตนำตัวยาแผนโบราณ เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ปนปลอม ในยาแผนโบราณ เพื่อหวังผลในการรักษาโรค
ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ตรัง จึงได้ดำเนินการเฝ้าระวัง การปนปลอมสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยเก็บตัวอย่าง ยาแผนโบราณที่มีเลขทะเบียนและไม่มีเลขทะเบียน ทั้งหมดจำนวน 100 ตัวอย่าง จากจังหวัดตรัง พัทลุง และนครศรีธรรมราช จำนวน 32, 31 และ 37 ตัวอย่าง ตามลำดับ จากผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการพบเดกซาเมทาโซน และ เพรดนิโซโลน จำนวน 8 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 8 ซึ่งเป็นตัวอย่างจากจังหวัดตรังจำนวน 2 ตัวอย่าง จังหวัดพัทลุงจำนวน 6 ตัวอย่าง ส่วนตัวอย่างจากจังหวัดนครศรีธรรมราชตรวจไม่พบการปนปลอมสเตียรอยด์ทุกตัวอย่าง ทั้งนี้ ตัวอย่างที่พบการปนปลอมสเตียรอยด์นั้นเป็นยาแผนโบราณที่ไม่มีการระบุเลขทะเบียน บนฉลากยา
สำหรับเดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) และเพรดนิโซโลน (Prednisolone) จัดเป็นยาแผนปัจจุบันที่อยู่ในกลุ่ม คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ยากลุ่มนี้เป็น “ยาควบคุมพิเศษ” ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น หากประชาชนรับประทานยาชนิดดังกล่าว เป็นประจำ อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่ายกาย เช่น เกิดแผลในกระเพาะอาหารถึงขั้นกระเพาะทะลุได้ ทำให้ตัวบวม หน้าบวม กระดูกผุกร่อน และเปราะหักง่าย ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำลง เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมีอาการเพิ่มขึ้นหรือความต้องการใช้อินซูลินมากขึ้น นอกจากนี้ เมื่อใช้ยาเป็นเวลานานแล้วหยุดรับประทานอย่างกะทันหัน อาจทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พัฒนาชุดตรวจสเตียรอยด์ (Steroids Test Kit) ขึ้น เพื่อใช้ทดสอบยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ปนปลอมในยาแผนโบราณ โดยเป็น ชุดตรวจสอบที่ให้ผลรวดเร็ว ชัดเจน วิธีการใช้ง่าย ไม่จำเป็นต้องทำโดยบุคลากรที่ชำนาญ เฉพาะและสามารถนำไปใช้ภาคสนามได้ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสาธารณสุขสามารถนำไปใช้ตรวจสอบได้ด้วยตนเอง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการคุ้มครองผู้บริโภค สำหรับหน่วยงานที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ชุดทดสอบและผลิตภัณฑ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซอยบำราศนราดูร ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร.0-2951-0000 ต่อ 98477, 98450
นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้ผลิตยาแผนโบราณบางแห่งใช้วิธีการโฆษณาสรรพคุณชวนให้ประชาชนเชื่อว่า ถ้าได้บริโภคผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณที่ตนเป็นผู้ผลิตจะหายจากอาการที่เป็นอยู่ อย่างรวดเร็ว จึงขอเตือนประชาชนไม่ควรหลงเชื่อตามคำโฆษณาดังกล่าว เพราะสรรพคุณนั้นอาจเกิดจากการที่ผู้ผลิตนำตัวยาแผนโบราณ เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ปนปลอม ในยาแผนโบราณ เพื่อหวังผลในการรักษาโรค
ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ตรัง จึงได้ดำเนินการเฝ้าระวัง การปนปลอมสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยเก็บตัวอย่าง ยาแผนโบราณที่มีเลขทะเบียนและไม่มีเลขทะเบียน ทั้งหมดจำนวน 100 ตัวอย่าง จากจังหวัดตรัง พัทลุง และนครศรีธรรมราช จำนวน 32, 31 และ 37 ตัวอย่าง ตามลำดับ จากผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการพบเดกซาเมทาโซน และ เพรดนิโซโลน จำนวน 8 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 8 ซึ่งเป็นตัวอย่างจากจังหวัดตรังจำนวน 2 ตัวอย่าง จังหวัดพัทลุงจำนวน 6 ตัวอย่าง ส่วนตัวอย่างจากจังหวัดนครศรีธรรมราชตรวจไม่พบการปนปลอมสเตียรอยด์ทุกตัวอย่าง ทั้งนี้ ตัวอย่างที่พบการปนปลอมสเตียรอยด์นั้นเป็นยาแผนโบราณที่ไม่มีการระบุเลขทะเบียน บนฉลากยา
สำหรับเดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) และเพรดนิโซโลน (Prednisolone) จัดเป็นยาแผนปัจจุบันที่อยู่ในกลุ่ม คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ยากลุ่มนี้เป็น “ยาควบคุมพิเศษ” ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น หากประชาชนรับประทานยาชนิดดังกล่าว เป็นประจำ อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่ายกาย เช่น เกิดแผลในกระเพาะอาหารถึงขั้นกระเพาะทะลุได้ ทำให้ตัวบวม หน้าบวม กระดูกผุกร่อน และเปราะหักง่าย ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำลง เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมีอาการเพิ่มขึ้นหรือความต้องการใช้อินซูลินมากขึ้น นอกจากนี้ เมื่อใช้ยาเป็นเวลานานแล้วหยุดรับประทานอย่างกะทันหัน อาจทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พัฒนาชุดตรวจสเตียรอยด์ (Steroids Test Kit) ขึ้น เพื่อใช้ทดสอบยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ปนปลอมในยาแผนโบราณ โดยเป็น ชุดตรวจสอบที่ให้ผลรวดเร็ว ชัดเจน วิธีการใช้ง่าย ไม่จำเป็นต้องทำโดยบุคลากรที่ชำนาญ เฉพาะและสามารถนำไปใช้ภาคสนามได้ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสาธารณสุขสามารถนำไปใช้ตรวจสอบได้ด้วยตนเอง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการคุ้มครองผู้บริโภค สำหรับหน่วยงานที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ชุดทดสอบและผลิตภัณฑ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซอยบำราศนราดูร ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร.0-2951-0000 ต่อ 98477, 98450