วิธีคุมกำเนิด แบบดูง่ายๆ คุมง่ายๆ แบบไหนดี จะหลั่งข้างนอก นับหน้า 7 หลัง 7 ใช้ถุงยางอนามัย ยาคุมแบบรับประทาน ยาคุมแบบฉีด แบบแปะ แบบฉุกเฉิน สารพัดวิธีให้เลือกสรร
แต่ข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไรบ้าง แม้บางเรื่องน่าจะรู้กันดีอยู่แล้ว แต่มันอาจไม่จริงเสมอไป หรือหากมีเซ็กซ์ไม่ตั้งใจ แถมไม่ได้ป้องกันจะทำอย่างไร “เลิฟ ไดอารี่... รักนี้ คุมได้” คู่มือบันทึกรักเพื่อสาวยุคใหม่ มีทางออกที่ช่วยให้รู้เท่าทันและป้องกันตนเอง ไม่ให้ท้องแบบไม่ตั้งใจ หรือติดโรคร้าย เป็นตราบาปตลอดชีวิต
**กำเนิดคู่มือสาวยุคใหม่
รศ.นพ.วรพงศ์ ภู่พงศ์ ผู้แทนสภาวิชาการคุมกำเนิดแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกประจำประเทศไทย บอกที่มาของ “เลิฟ ไดอารี่... รักนี้ คุมได้”คู่มือบันทึกรักเพื่อสาวยุคใหม่ ว่า เป็น 1 ใน กิจกรรมไฮไลต์ของ “โครงการรักนี้...คุมได้” ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สภาวิชาการคุมกำเนิดแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกประจำประเทศไทย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ไบเออร์ เชริ่ง ฟาร์มา เพื่อรณรงค์ให้ความรู้กับวัยรุ่นไทยเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสม การหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และผลที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ปลอดภัย ซึ่งนำไปสู่ปัญหาต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะท้องไม่ตั้งใจและการทำแท้งเถื่อนที่อันตรายถึงชีวิต
“คู่มือฉบับนี้มีข้อมูลที่มีประโยชน์มากมาย ทั้งเคล็ดลับของการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน ข้อดีและข้อเสียของการคุมกำเนิดแบบต่างๆ เบอร์ติดต่อศูนย์ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือทั่วประเทศ หากต้องการคำปรึกษาหรือความช่วยเหลือ ที่สำคัญ มีส่วนที่ใช้บันทึกรอบเดือนมาวันไหนบ้าง วันแรกที่มีรอบเดือนเป็นวันที่เท่าไหร่ สม่ำเสมอหรือไม่ ซึ่งถ้ารอบเดือนในแต่ละเดือนมาไม่ตรงกัน ถ้าใช้วิธีนับ หน้า 7 หลัง 7 ก็อาจจะคลาดเคลื่อนได้ ป้องกันการท้องไม่ตั้งใจได้ยาก ซึ่งอาจต้องใช้สูตรการนับอื่นที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นไปอีก” รศ.นพ.วรพงศ์ อธิบาย
นอกจากนี้ “เลิฟ ไดอารี่... รักนี้ คุมได้” ถือเป็นสื่อรณรงค์หนึ่งที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นหญิงได้มากขึ้น นอกจากนั้น ยังมีเว็บไซต์ เว็บบอร์ด ที่เด็กๆ สามารถเข้าไปหาความรู้ ซักถาม โดยไม่ต้องอาย
**เรียนรู้สารพัดวิธีคุมกำเนิด
ส่วนแนวทางการป้องกันการท้องไม่ตั้งใจในวัยรุ่นนั้น พญ.นันทา อ่วมสกุล ผอ.สำนักที่ปรึกษา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข อธิบายวิธีการคุมกำเนิดอย่างละเอียดว่า การคุมกำเนิดมี 3 ประเภท คือ 1.วิธีธรรมชาติ โดยการการหลั่งข้างนอก ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญของฝ่ายชาย วิธีนี้จะมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดเพียงแค่ 70% จึงมีความเสี่ยงในการตั้งท้องสูงมาก
ส่วนอีกวิธีที่บรรดาสาวๆ นิยมอย่างมาก คือ การนับ “หน้า 7 หลัง 7” ซึ่งหลายๆ คนเข้าใจผิดเยอะมาก และพลาดพลั้งจนตั้งท้อง ทั้งนี้ การนับหน้า 7 หลัง 7 ที่ถูกต้อง ให้นับล่วงหน้า 7 วัน ก่อนวันที่คาดว่าประจำเดือนจะมา และให้นับตั้งแต่วันแรกที่ประจำเดือนมาเป็นวันที่1 และนับต่อไปอีก 6 วัน จะรวมเป็น 7 วันพอดี ไม่ใช่นับหลัง 7 จากวันสุดท้ายของการมีประจำเดือน ซึ่งวิธีนี้จะต้องหัดสังเกตรอบเดือนของตนเอง และจดบันทึกทุกเดือนและเหมาะกับคนที่มรอบเดือนสม่ำเสมอแต่ก็ยังมีความเสี่ยงการตั้งท้องสูง เพราะวิธีนี้มีประสิทธิภาพแค่ 75%
นอกจากวิธีธรรมชาติแล้ว ยังมีการคุมกำเนิดด้วยวิธีขวางกั้น หรือ การใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ และการตั้งท้อง สำหรับวิธีนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกัน 98%
พญ.นันทา อธิบายต่อว่า ส่วนวิธีที่ 3 เป็นการใช้ฮอร์โมน โดยการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ซึ่งมีประสิทธิภาพถึง 99.7% ซึ่งนอกจากยาเม็ดแล้ว ยังมียาคุมกำเนิดทั้งแบบยาฉีด แผ่นแปะ ห่วงคุมกำเนิดหรือห่วงอนามัย IUDs และยาคุมฉุกเฉินในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ไม่ตั้งใจ ซึ่งจะต้องศึกษารายละเอียดว่า ปรึกษาทางแพทย์หรือเภสัชกรก่อน เพราะไม่ใช่ยาทุกแบบจะเหมาะกับทุกคน และต้องใช้อย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม วิธีการคุมกำเนิดลักษณะนี้ ไม่สามารถช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ซึ่งเราไม่รู้ว่าคู่ของเราเป็นโรคอะไรหรือเปล่า ดังนั้น การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยที่สุด คือ การใช้ยาคุมกำเนิดควบคู่กับการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง
“การกินยาคุมกำเนิดนอกจากป้องกันการตั้งครรภ์แล้ว ยังช่วยรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ลดอาการปวดประจำเดือน ใช้เลื่อนประจำเดือน ไปจนถึงลดภาวะโลหิตจาง ช่วยลดการเกิดสิว ผิวหน้ามัน และขนขึ้นดก รวมถึงกินแล้วไม่ได้ทำให้อ้วน เหมือนที่เชื่อๆ กัน ส่วนยาคุมฉุกเฉินนั้น ถึงแม้จะช่วยให้ไม่ตั้งท้อง หากมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ตั้งใจ แต่มีประสิทธิภาพแค่ 70% และยังกินไม่ได้บ่อย ควรกินไม่เกินเดือนละ 2 ครั้ง หรือ 4 เม็ดเท่านั้น”
พญ.นันทา บอกด้วยว่า อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจ แล้วกลัวว่าจะตั้งท้อง หรือเมื่อตั้งท้องแล้ว ไม่ควรตั้งสินใจทำแท้งเถื่อนเพราะมีความเสี่ยงเสียชีวิต 300 เท่าของการคลอดปกติ นอกจากนี้อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ต้องตัดมดลูก เกิดการติดเชื้อไม่สามารถมีลูกได้อีก ดังนั้น ควรปรึกษาพ่อแม่ ผู้ใกล้ชิด หรือถ้าไม่กล้าก็สามารถที่จะปรึกษาเพื่อนได้ แต่ต้องเป็นเพื่อนที่ดี หรือศูนย์ฮอตไลน์ที่ให้บริการ ซึ่งจะช่วยหาทางออกคลี่คลายปัญหา
ทั้งนี้ ในอดีตเด็กที่ท้องในวัยเรียนต้องเสียอนาคตทางการศึกษาไปเลย แต่ปัจจุบันโรงเรียนให้โอกาสกับเด็กเหล่านี้มากขึ้น โดยโรงเรียนหลายแห่งให้เด็กมีปัญหาตั้งท้องแบบไม่ตั้งใจ สามารถคลอดลูกก่อนแล้วกลับมาเรียนต่อได้ ระหว่างนั้นพ่อแม่ผู้ใหญ่ก็ควรให้โอกาสและกำลังใจในการที่ช่วยให้เด็กสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข
ขณะที่ผลของการรับประทานยาคุมฉุกเฉินพร่ำเพรื่อนั้น นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผอ.กองอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า การรับประทานยาคุมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ ผู้ใช้ต้องรับประทานอย่างสม่ำเสมอ และต้องรู้จักวิธีรับประทานอย่างถูกต้องด้วย
แต่สำหรับการซื้อยาคุมกำหนดแบบฉุกเฉินมารับประทานเองหลังมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาอยู่ตรงที่ส่วนใหญ่วัยรุ่นไม่ทราบวิธีใช้ที่ถูกต้อง ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับสุขภาพ เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ กะปริบกะปรอย จนถึงขั้นท้องนอกมดลูกได้
“ยาดังกล่าวเหมาะสำหรับผู้ที่ถูกข่มขืน หรือถุงยางอนามัยรั่ว หรือหลุดหลังมีเพศสัมพันธ์ แต่วัยรุ่นกลับใช้วิธีดังกล่าวแทนการทานยาคุมกำเนิดชนิดแผง และการใช้ถุงยางอนามัย ทั้งนี้ การใช้ยาคุมกำเนิดดังกล่าวยังยังเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์มากถึง 25% เพราะต้องทานยาเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมงก่อนมีเพศสัมพันธ์ แต่จะได้ผลดีต้องทานภายใน 24 ชั่วโมง และตามด้วยเม็ดที่สองภายใน 12 ชั่วโมงถัดจากทานเม็ดแรก”
สำหรับรายละเอียดต่างๆ ข้อมูลความรู้ต่างๆ บรรจุอยู่ใน “เลิฟ ไดอารี่... รักนี้ คุมได้” ซึ่ง ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่คอลเซ็นเตอร์โทร 02-664-5811 หรือเว็บไซต์โครงการ “รักนี้...คุมได้” www.mylovemycontrol.com
---------------------
ดูง่ายคุมง่ายแบบไหนดี
*หลั่งข้างนอก = เสี่ยงตั้งท้องหรือไม่ก็น้องเราติดโรค
*นับหน้า 7 หลัง 7 = นับจริง ตั้งใจจริง บันทึกจริง ถึงจะปลอดท้อง แต่ไม่ปลอดโรค
*หลั่งข้างนอก+นับหน้า 7 หลัง 7 = เสี่ยงท้องน้อยลง แต่เสี่ยงโรคเหมือนเดิม
*ถุงยางอนามัย = ป้องกันท้อง (98%) ป้องกันโรค จะไม่โศกถ้าใช้ถูกวิธี
*ถุงยางอนามัย +นับหน้า 7 หลัง 7 = ป้องกันท้องได้สูง แต่คะแนนจะพุ่งก็ต่อเมื่อเช็กมีเซ็กซ์ตามตาราง
*ยาคุมแบบรับประทาน = สะดวก ป้องกันท้องเกือบ 100% ยกเว้นป้องกันโรค
*ยาคุมแบบแปะ = ป้องกันท้องเกือบ 100% ยกเว้นป้องกันโรค มีส่วนเกินบนผิวแถมอาจระคายเคืองผิวได้
*ยาคุมแบบฉีด = ป้องกันท้องเกือบ 100% ยกเว้นป้องกันโรค แอบโศกกับผลข้างเคียงสูง
*ห่วงคุมกำเนิด = คุมได้ยาว แต่สำหรับสาวเคยมีลูกแล้ว
*ยาคุมฉุกเฉิน = ต้องฉุกเฉินจริง ไม่งั้นอันตรายมาก โอกาสท้องสูงอีกต่างหาก
*ยาคุมแบบรับประทาน+ถุงยางอนามัย = ไม่ท้องเกือบ 100% ไม่ติดโรคเกือบ 100% ไม่ต้องมานั่งโศก มั่นใจไร้กังวล
แต่ข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไรบ้าง แม้บางเรื่องน่าจะรู้กันดีอยู่แล้ว แต่มันอาจไม่จริงเสมอไป หรือหากมีเซ็กซ์ไม่ตั้งใจ แถมไม่ได้ป้องกันจะทำอย่างไร “เลิฟ ไดอารี่... รักนี้ คุมได้” คู่มือบันทึกรักเพื่อสาวยุคใหม่ มีทางออกที่ช่วยให้รู้เท่าทันและป้องกันตนเอง ไม่ให้ท้องแบบไม่ตั้งใจ หรือติดโรคร้าย เป็นตราบาปตลอดชีวิต
**กำเนิดคู่มือสาวยุคใหม่
รศ.นพ.วรพงศ์ ภู่พงศ์ ผู้แทนสภาวิชาการคุมกำเนิดแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกประจำประเทศไทย บอกที่มาของ “เลิฟ ไดอารี่... รักนี้ คุมได้”คู่มือบันทึกรักเพื่อสาวยุคใหม่ ว่า เป็น 1 ใน กิจกรรมไฮไลต์ของ “โครงการรักนี้...คุมได้” ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สภาวิชาการคุมกำเนิดแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกประจำประเทศไทย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ไบเออร์ เชริ่ง ฟาร์มา เพื่อรณรงค์ให้ความรู้กับวัยรุ่นไทยเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสม การหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และผลที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ปลอดภัย ซึ่งนำไปสู่ปัญหาต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะท้องไม่ตั้งใจและการทำแท้งเถื่อนที่อันตรายถึงชีวิต
“คู่มือฉบับนี้มีข้อมูลที่มีประโยชน์มากมาย ทั้งเคล็ดลับของการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน ข้อดีและข้อเสียของการคุมกำเนิดแบบต่างๆ เบอร์ติดต่อศูนย์ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือทั่วประเทศ หากต้องการคำปรึกษาหรือความช่วยเหลือ ที่สำคัญ มีส่วนที่ใช้บันทึกรอบเดือนมาวันไหนบ้าง วันแรกที่มีรอบเดือนเป็นวันที่เท่าไหร่ สม่ำเสมอหรือไม่ ซึ่งถ้ารอบเดือนในแต่ละเดือนมาไม่ตรงกัน ถ้าใช้วิธีนับ หน้า 7 หลัง 7 ก็อาจจะคลาดเคลื่อนได้ ป้องกันการท้องไม่ตั้งใจได้ยาก ซึ่งอาจต้องใช้สูตรการนับอื่นที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นไปอีก” รศ.นพ.วรพงศ์ อธิบาย
นอกจากนี้ “เลิฟ ไดอารี่... รักนี้ คุมได้” ถือเป็นสื่อรณรงค์หนึ่งที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นหญิงได้มากขึ้น นอกจากนั้น ยังมีเว็บไซต์ เว็บบอร์ด ที่เด็กๆ สามารถเข้าไปหาความรู้ ซักถาม โดยไม่ต้องอาย
**เรียนรู้สารพัดวิธีคุมกำเนิด
ส่วนแนวทางการป้องกันการท้องไม่ตั้งใจในวัยรุ่นนั้น พญ.นันทา อ่วมสกุล ผอ.สำนักที่ปรึกษา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข อธิบายวิธีการคุมกำเนิดอย่างละเอียดว่า การคุมกำเนิดมี 3 ประเภท คือ 1.วิธีธรรมชาติ โดยการการหลั่งข้างนอก ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญของฝ่ายชาย วิธีนี้จะมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดเพียงแค่ 70% จึงมีความเสี่ยงในการตั้งท้องสูงมาก
ส่วนอีกวิธีที่บรรดาสาวๆ นิยมอย่างมาก คือ การนับ “หน้า 7 หลัง 7” ซึ่งหลายๆ คนเข้าใจผิดเยอะมาก และพลาดพลั้งจนตั้งท้อง ทั้งนี้ การนับหน้า 7 หลัง 7 ที่ถูกต้อง ให้นับล่วงหน้า 7 วัน ก่อนวันที่คาดว่าประจำเดือนจะมา และให้นับตั้งแต่วันแรกที่ประจำเดือนมาเป็นวันที่1 และนับต่อไปอีก 6 วัน จะรวมเป็น 7 วันพอดี ไม่ใช่นับหลัง 7 จากวันสุดท้ายของการมีประจำเดือน ซึ่งวิธีนี้จะต้องหัดสังเกตรอบเดือนของตนเอง และจดบันทึกทุกเดือนและเหมาะกับคนที่มรอบเดือนสม่ำเสมอแต่ก็ยังมีความเสี่ยงการตั้งท้องสูง เพราะวิธีนี้มีประสิทธิภาพแค่ 75%
นอกจากวิธีธรรมชาติแล้ว ยังมีการคุมกำเนิดด้วยวิธีขวางกั้น หรือ การใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ และการตั้งท้อง สำหรับวิธีนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกัน 98%
พญ.นันทา อธิบายต่อว่า ส่วนวิธีที่ 3 เป็นการใช้ฮอร์โมน โดยการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ซึ่งมีประสิทธิภาพถึง 99.7% ซึ่งนอกจากยาเม็ดแล้ว ยังมียาคุมกำเนิดทั้งแบบยาฉีด แผ่นแปะ ห่วงคุมกำเนิดหรือห่วงอนามัย IUDs และยาคุมฉุกเฉินในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ไม่ตั้งใจ ซึ่งจะต้องศึกษารายละเอียดว่า ปรึกษาทางแพทย์หรือเภสัชกรก่อน เพราะไม่ใช่ยาทุกแบบจะเหมาะกับทุกคน และต้องใช้อย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม วิธีการคุมกำเนิดลักษณะนี้ ไม่สามารถช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ซึ่งเราไม่รู้ว่าคู่ของเราเป็นโรคอะไรหรือเปล่า ดังนั้น การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยที่สุด คือ การใช้ยาคุมกำเนิดควบคู่กับการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง
“การกินยาคุมกำเนิดนอกจากป้องกันการตั้งครรภ์แล้ว ยังช่วยรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ลดอาการปวดประจำเดือน ใช้เลื่อนประจำเดือน ไปจนถึงลดภาวะโลหิตจาง ช่วยลดการเกิดสิว ผิวหน้ามัน และขนขึ้นดก รวมถึงกินแล้วไม่ได้ทำให้อ้วน เหมือนที่เชื่อๆ กัน ส่วนยาคุมฉุกเฉินนั้น ถึงแม้จะช่วยให้ไม่ตั้งท้อง หากมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ตั้งใจ แต่มีประสิทธิภาพแค่ 70% และยังกินไม่ได้บ่อย ควรกินไม่เกินเดือนละ 2 ครั้ง หรือ 4 เม็ดเท่านั้น”
พญ.นันทา บอกด้วยว่า อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจ แล้วกลัวว่าจะตั้งท้อง หรือเมื่อตั้งท้องแล้ว ไม่ควรตั้งสินใจทำแท้งเถื่อนเพราะมีความเสี่ยงเสียชีวิต 300 เท่าของการคลอดปกติ นอกจากนี้อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ต้องตัดมดลูก เกิดการติดเชื้อไม่สามารถมีลูกได้อีก ดังนั้น ควรปรึกษาพ่อแม่ ผู้ใกล้ชิด หรือถ้าไม่กล้าก็สามารถที่จะปรึกษาเพื่อนได้ แต่ต้องเป็นเพื่อนที่ดี หรือศูนย์ฮอตไลน์ที่ให้บริการ ซึ่งจะช่วยหาทางออกคลี่คลายปัญหา
ทั้งนี้ ในอดีตเด็กที่ท้องในวัยเรียนต้องเสียอนาคตทางการศึกษาไปเลย แต่ปัจจุบันโรงเรียนให้โอกาสกับเด็กเหล่านี้มากขึ้น โดยโรงเรียนหลายแห่งให้เด็กมีปัญหาตั้งท้องแบบไม่ตั้งใจ สามารถคลอดลูกก่อนแล้วกลับมาเรียนต่อได้ ระหว่างนั้นพ่อแม่ผู้ใหญ่ก็ควรให้โอกาสและกำลังใจในการที่ช่วยให้เด็กสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข
ขณะที่ผลของการรับประทานยาคุมฉุกเฉินพร่ำเพรื่อนั้น นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผอ.กองอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า การรับประทานยาคุมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ ผู้ใช้ต้องรับประทานอย่างสม่ำเสมอ และต้องรู้จักวิธีรับประทานอย่างถูกต้องด้วย
แต่สำหรับการซื้อยาคุมกำหนดแบบฉุกเฉินมารับประทานเองหลังมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาอยู่ตรงที่ส่วนใหญ่วัยรุ่นไม่ทราบวิธีใช้ที่ถูกต้อง ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับสุขภาพ เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ กะปริบกะปรอย จนถึงขั้นท้องนอกมดลูกได้
“ยาดังกล่าวเหมาะสำหรับผู้ที่ถูกข่มขืน หรือถุงยางอนามัยรั่ว หรือหลุดหลังมีเพศสัมพันธ์ แต่วัยรุ่นกลับใช้วิธีดังกล่าวแทนการทานยาคุมกำเนิดชนิดแผง และการใช้ถุงยางอนามัย ทั้งนี้ การใช้ยาคุมกำเนิดดังกล่าวยังยังเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์มากถึง 25% เพราะต้องทานยาเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมงก่อนมีเพศสัมพันธ์ แต่จะได้ผลดีต้องทานภายใน 24 ชั่วโมง และตามด้วยเม็ดที่สองภายใน 12 ชั่วโมงถัดจากทานเม็ดแรก”
สำหรับรายละเอียดต่างๆ ข้อมูลความรู้ต่างๆ บรรจุอยู่ใน “เลิฟ ไดอารี่... รักนี้ คุมได้” ซึ่ง ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่คอลเซ็นเตอร์โทร 02-664-5811 หรือเว็บไซต์โครงการ “รักนี้...คุมได้” www.mylovemycontrol.com
---------------------
ดูง่ายคุมง่ายแบบไหนดี
*หลั่งข้างนอก = เสี่ยงตั้งท้องหรือไม่ก็น้องเราติดโรค
*นับหน้า 7 หลัง 7 = นับจริง ตั้งใจจริง บันทึกจริง ถึงจะปลอดท้อง แต่ไม่ปลอดโรค
*หลั่งข้างนอก+นับหน้า 7 หลัง 7 = เสี่ยงท้องน้อยลง แต่เสี่ยงโรคเหมือนเดิม
*ถุงยางอนามัย = ป้องกันท้อง (98%) ป้องกันโรค จะไม่โศกถ้าใช้ถูกวิธี
*ถุงยางอนามัย +นับหน้า 7 หลัง 7 = ป้องกันท้องได้สูง แต่คะแนนจะพุ่งก็ต่อเมื่อเช็กมีเซ็กซ์ตามตาราง
*ยาคุมแบบรับประทาน = สะดวก ป้องกันท้องเกือบ 100% ยกเว้นป้องกันโรค
*ยาคุมแบบแปะ = ป้องกันท้องเกือบ 100% ยกเว้นป้องกันโรค มีส่วนเกินบนผิวแถมอาจระคายเคืองผิวได้
*ยาคุมแบบฉีด = ป้องกันท้องเกือบ 100% ยกเว้นป้องกันโรค แอบโศกกับผลข้างเคียงสูง
*ห่วงคุมกำเนิด = คุมได้ยาว แต่สำหรับสาวเคยมีลูกแล้ว
*ยาคุมฉุกเฉิน = ต้องฉุกเฉินจริง ไม่งั้นอันตรายมาก โอกาสท้องสูงอีกต่างหาก
*ยาคุมแบบรับประทาน+ถุงยางอนามัย = ไม่ท้องเกือบ 100% ไม่ติดโรคเกือบ 100% ไม่ต้องมานั่งโศก มั่นใจไร้กังวล