คณะแพทย์ฯศิริราช ร่วมกับ สปสช.และกทม.ตั้งศูนย์บริการผู้สูงอายุในชุมชนสกัดโรคเรื้อรังรุมผู้สูงอายุ ทั้งความดัน เบาหวาน สมองเสื่อม หากไม่ได้รับการดูแลต่อเนื่อง หวั่นลุกลามกลายเป็นภาระลูกหลาน ระบุศูนย์ผู้สูงอายุในชุมชนช่วยให้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุครบวงจร มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้ โดยทีมแพทย์จากศิริราช ด้านสปสช.ระบบศูนย์ผู้สูงอายุคือรูปแบบหนึ่งของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ที่ดูแลประชาชนแบบใกล้บ้านใกล้ใจอย่างแท้จริง
ศ.คลินิก นายแพทย์ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า โรคเรื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม และภาวะสมองเสื่อม อันนำมาด้วยอาการอัมพาต อัมพฤกษ์เรื้อรัง ซึ่งโรคเรื้อรังเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมอาการของโรคไม่ให้รุนแรง แต่ปัญหาในปัจจุบัน คือ ผู้สูงอายุมักไม่ได้รับการตรวจรักษาต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ การเดินทาง ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะเปิดศูนย์บริการสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โดยไม่ต้องเดินทางมารับบริการสุขภาพไกลจากชุมชนและได้ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตั้งเป็นศูนย์บริการผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในชุมชน (สชช.)
“การจัดบริการนำโดยทีมแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา พยาบาล จากรพ.ศิริราช เพื่อให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพให้ผู้อายุ ที่มีความทุพพลภาพเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้ ลดภาระกับญาตินำร่องแห่งแรกที่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศ เขตหนองแขม” คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าว
ดร.วัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า พื้นที่กรุงเทพมหานครมีผู้สูงอายุตามทะเบียนราษฎรในปี 2549 จำนวน 5 แสนคน และจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 9 แสนคนในปี 2553 ซึ่งมีแนวโน้มว่าผู้สูงอายุจะเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของไทย กทม.จึงให้ความสำคัญกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การเปิด สชช.นำร่องเป็นแห่งแรกนั้น กทม.ได้ร่วมมือกับหน่วยงานด้านสุขภาพเป็นบริการผู้สูงอายุในชุมชนครบวงจรคาดว่าจะเปิดให้บริการได้สิงหาคมนี้
นายแพทย์พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า สชช.ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ดำเนินการนั้นเป็นรูปแบบของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่มีประสิทธิภาพที่ให้บริการแบบใกล้บ้านใกล้ใจที่แท้จริง นั่นคือผู้สูงอายุซึ่งเป็นวัยที่มักจะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง สามารถมาใช้บริการที่ใกล้บ้านได้ ไม่ต้องไปไกลถึงโรงพยาบาลที่อยู่ห่างออกไป ไม่เป็นภาระของลูกหลานที่ต้องพาไป รพ.ใหญ่ เพราะเป็นอาการที่ไม่ซับซ้อน เป็นการนัดมาตรวจอาการ รับยา อาการโดยทั่วไป ทำให้ไม่ต้องไปรอคิวและแออัดในโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาลก็มีภาระงานที่ไม่หนักมาก มีความสุขกันทั้ง 2 ฝ่าย
“การเปิด สชช.ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศนั้น จะเป็นพื้นที่นำร่องแห่งแรกในพื้นที่ กทม.ซึ่ง สปสช.ให้งบสนับสนุนดำเนินการ 1.7 ล้านบาทเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับชุมชนอย่างแท้จริง และ สปสช.ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และกทม.ก็จะขยายสู่เขตพื้นที่อื่นๆ ใน กทม.ต่อไป ” รองเลขาธิการสปสช. กล่าว
ศ.คลินิก นายแพทย์ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า โรคเรื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม และภาวะสมองเสื่อม อันนำมาด้วยอาการอัมพาต อัมพฤกษ์เรื้อรัง ซึ่งโรคเรื้อรังเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมอาการของโรคไม่ให้รุนแรง แต่ปัญหาในปัจจุบัน คือ ผู้สูงอายุมักไม่ได้รับการตรวจรักษาต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ การเดินทาง ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะเปิดศูนย์บริการสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โดยไม่ต้องเดินทางมารับบริการสุขภาพไกลจากชุมชนและได้ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตั้งเป็นศูนย์บริการผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในชุมชน (สชช.)
“การจัดบริการนำโดยทีมแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา พยาบาล จากรพ.ศิริราช เพื่อให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพให้ผู้อายุ ที่มีความทุพพลภาพเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้ ลดภาระกับญาตินำร่องแห่งแรกที่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศ เขตหนองแขม” คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าว
ดร.วัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า พื้นที่กรุงเทพมหานครมีผู้สูงอายุตามทะเบียนราษฎรในปี 2549 จำนวน 5 แสนคน และจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 9 แสนคนในปี 2553 ซึ่งมีแนวโน้มว่าผู้สูงอายุจะเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของไทย กทม.จึงให้ความสำคัญกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การเปิด สชช.นำร่องเป็นแห่งแรกนั้น กทม.ได้ร่วมมือกับหน่วยงานด้านสุขภาพเป็นบริการผู้สูงอายุในชุมชนครบวงจรคาดว่าจะเปิดให้บริการได้สิงหาคมนี้
นายแพทย์พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า สชช.ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ดำเนินการนั้นเป็นรูปแบบของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่มีประสิทธิภาพที่ให้บริการแบบใกล้บ้านใกล้ใจที่แท้จริง นั่นคือผู้สูงอายุซึ่งเป็นวัยที่มักจะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง สามารถมาใช้บริการที่ใกล้บ้านได้ ไม่ต้องไปไกลถึงโรงพยาบาลที่อยู่ห่างออกไป ไม่เป็นภาระของลูกหลานที่ต้องพาไป รพ.ใหญ่ เพราะเป็นอาการที่ไม่ซับซ้อน เป็นการนัดมาตรวจอาการ รับยา อาการโดยทั่วไป ทำให้ไม่ต้องไปรอคิวและแออัดในโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาลก็มีภาระงานที่ไม่หนักมาก มีความสุขกันทั้ง 2 ฝ่าย
“การเปิด สชช.ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศนั้น จะเป็นพื้นที่นำร่องแห่งแรกในพื้นที่ กทม.ซึ่ง สปสช.ให้งบสนับสนุนดำเนินการ 1.7 ล้านบาทเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับชุมชนอย่างแท้จริง และ สปสช.ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และกทม.ก็จะขยายสู่เขตพื้นที่อื่นๆ ใน กทม.ต่อไป ” รองเลขาธิการสปสช. กล่าว