นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 13 เมษายน ทุกปี จัดเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ได้ประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สธ. เพื่อวางแผนในการจัดระบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ เนื่องจากข้อมูลของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล รายงานว่าใน ปี 2550 ไทยมีประชากรทั้งหมด เกือบ 63 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุร้อยละ 11 หรือจำนวนกว่า 6.8 ล้านคน โดยร้อยละ 90 เป็นผู้สูงอายุวัยต้นมีอายุ 60-79 ปี จำนวนกว่า 6 ล้านคน อายุ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 652,000 คน คาดว่าผู้สูงอายุไทยจะมีอายุยืนยาวขึ้น ผู้ชายเฉลี่ยประมาณ 79.1 ปี ผู้หญิงเฉลี่ย 81.5 ปี และในอีกประมาณ 3 ปีข้างหน้านี้ ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุเต็มตัว
นายไชยา กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ เนื่องจากอวัยวะภายในร่างกายทำงานลดลงตามอายุที่มากขึ้น จากการสำรวจครั้งล่าสุดพบว่า มีผู้สูงอายุประมาณครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 3 ล้านคน มีโรคเรื้อรังประจำตัวที่สำคัญ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต สมองเสื่อม โดยมีผู้สูงอายุร้อยละ 20 หรือประมาณกว่า 1.3 ล้านคน ที่อยู่ในสภาพช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งคนอื่นดูแล เป็นสัญญาณเตือนให้เตรียมพร้อมรับมือปัญหาที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีผู้สูงอายุเกือบ 500,000 ราย ที่ต้องอยู่คนเดียวตามลำพังเนื่องจากลูกหลานย้ายไปทำงานต่างถิ่น หากเจ็บป่วยจะขาดผู้ดูแล หรือได้รับการดูแลไม่ต่อเนื่อง มีนโยบายจะระดมพลังของอาสาสมัครสาธารณสุขกว่า 800,000 คน ที่อยู่ในหมู่บ้านอยู่แล้ว ช่วยดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ อบอุ่นยิ่งขึ้น
นายไชยา กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ เนื่องจากอวัยวะภายในร่างกายทำงานลดลงตามอายุที่มากขึ้น จากการสำรวจครั้งล่าสุดพบว่า มีผู้สูงอายุประมาณครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 3 ล้านคน มีโรคเรื้อรังประจำตัวที่สำคัญ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต สมองเสื่อม โดยมีผู้สูงอายุร้อยละ 20 หรือประมาณกว่า 1.3 ล้านคน ที่อยู่ในสภาพช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งคนอื่นดูแล เป็นสัญญาณเตือนให้เตรียมพร้อมรับมือปัญหาที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีผู้สูงอายุเกือบ 500,000 ราย ที่ต้องอยู่คนเดียวตามลำพังเนื่องจากลูกหลานย้ายไปทำงานต่างถิ่น หากเจ็บป่วยจะขาดผู้ดูแล หรือได้รับการดูแลไม่ต่อเนื่อง มีนโยบายจะระดมพลังของอาสาสมัครสาธารณสุขกว่า 800,000 คน ที่อยู่ในหมู่บ้านอยู่แล้ว ช่วยดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ อบอุ่นยิ่งขึ้น