แพทย์พบผู้ใหญ่วัยกลางคนที่ลงพุง ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวมาตรฐาน ล้วนมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ตอนแก่
ชายและหญิงวัยเลข 4 นำหน้าที่เอวหนาเป็นกาละมัง มีแนวโน้มสูงกว่าปกติ 3 เท่าที่จะเป็นโรคความจำเสื่อมร้ายแรงชนิดนี้เมื่ออายุล่วงเข้าวัย 70 ปี
ผู้เชี่ยวชาญยอมรับว่า ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนว่าเหตุใดรอบเอวที่หนาขึ้นจึงมีผลต่อสมอง แม้ไขมันช่วงกลางลำตัวมีการเผาผลาญได้ดีกว่าไขมันบริเวณสะโพกก็ตาม กระนั้น เชื่อว่าสาเหตุอาจมาจากการที่ไขมันมีความเกี่ยวโยงกับปัญหา อาทิ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และระดับคลอเรสเตอรอลสูง
งานวิจัยอีกชิ้นเชื่อมโยงโรคอ้วนกับโรคหลอดเลือด ซึ่งมีบทบาทสำคัญกับโรคสมองเสื่อม ส่วนหนึ่งจากการที่ไขมันไปอุดตันหลอดเลือดแดง
ในการวิจัยล่าสุดบ่งชี้ว่า ขณะที่มาตรฐานการวัดระดับความอ้วนด้วยดัชนีมวลกาย อาจช่วยในการทำนายความเสี่ยง แต่ขณะเดียวกัน ไลฟ์สไตล์ที่ทำให้รอบเอวหนาหนักก็อาจเกี่ยวโยงใกล้ชิดกับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมในระยะยาว
นักวิจัยอเมริกันได้วัดระดับไขมันบริเวณหน้าท้องของอาสาสมัคร 6,583 คนที่อายุระหว่าง 40-45 ปี ในทศวรรษ 1960-1970
ผ่านไป 36 ปี อาสาสมัคร 16% ตรวจพบเป็นโรคสมองเสื่อม โดยคนที่มีชั้นไขมันรอบเอวหนาที่สุดเมื่ออายุ 40-49 ปี มีแนวโน้มเป็นโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่มีไขมันรอบเอวน้อยที่สุด
รายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวโรโลจีไม่ได้ให้รายละเอียดว่า ระดับไขมันรอบเอวเท่าใดถือว่าปลอดภัยต่อสุขภาพ แต่แพทย์แนะนำว่า รอบเอวผู้ชายไม่ควรกว้างเกิน 40 นิ้ว และไม่ควรเกิน 35 นิ้วสำหรับผู้หญิง
ดร.ราเชล วิตเมอร์ จากแผนกวิจัยไกเซอร์ เพอร์มาเนนต์ในโอ๊กแลนด์ แคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นนักวิจัยหลักของโครงการนี้ กล่าวว่าเป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่า ภาวะน้ำหนักเกินในวัยกลางคนเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อโรคภัยต่างๆ มากมาย กระนั้น น้อยคนที่จะรู้ว่าตำแหน่งของร่างกายที่สะสมไขมันส่วนเกินมีความสำคัญต่อเรื่องนี้ไม่แพ้กัน
“การตรวจสอบอย่างละเอียดแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงในสมองที่เกี่ยวพันกับโรคอัลไซเมอร์ อาจเกิดขึ้นในช่วงหนุ่มสาวจนถึงวัยกลางคน และงานวิจัยอีกชิ้นระบุว่าไขมันหนาบริเวณหน้าท้องในผู้สูงวัยเกี่ยวพันกับการเสื่อมของสมอง
“การค้นพบเหล่านี้บ่งชี้ว่าผลกระทบที่เป็นอันตรายจากไขมันหน้าท้องที่มีต่อสมองอาจเริ่มต้นก่อนที่สัญญาณของโรคสมองเสื่อมจะปรากฏเป็นเวลานาน”
งานศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่า อาสาสมัคร 20% ที่รอบเอวกว้างที่สุด มีความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 270% เมื่อเทียบกับอาสาสมัครที่เอวเล็กที่สุด
แม้แต่อาสาสมัครที่น้ำหนักตัวปกติจากการคำนวณดัชนีมวลกาย ยังมีความเสี่ยงโรคนี้สูงถึง 90% หากพุงยื่น
ขณะที่คนน้ำหนักเกินและเอวหนาจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 230% ส่วนคนที่ทั้งเป็นโรคอ้วนและลงพุงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึง 360%ท่าเมื่อเทียบกับคนน้ำหนักปกติและรอบเอวมาตรฐาน
สำหรับอาสาสมัครที่น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนแต่หน้าท้องไม่ใหญ่ มีความเสี่ยงเพิ่ม 80%
ศาสตราจารย์คลิฟ บัลลาร์ด จากอัลไซเมอร์ส โซไซตี้ สำทับว่า งานศึกษาชิ้นใหม่ตอกย้ำว่า การมีพุงใหญ่ไม่ว่าน้ำหนักจะน้อยหรือมาก ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม
ทั้งนี้ เป็นที่รับรู้กันอยู่แล้วว่า ผู้ใหญ่วัยกลางคนที่เอวหนามีความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น แต่นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยแสดงความเชื่อมโยงของการลงพุงกับโรคสมองเสื่อม
ชายและหญิงวัยเลข 4 นำหน้าที่เอวหนาเป็นกาละมัง มีแนวโน้มสูงกว่าปกติ 3 เท่าที่จะเป็นโรคความจำเสื่อมร้ายแรงชนิดนี้เมื่ออายุล่วงเข้าวัย 70 ปี
ผู้เชี่ยวชาญยอมรับว่า ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนว่าเหตุใดรอบเอวที่หนาขึ้นจึงมีผลต่อสมอง แม้ไขมันช่วงกลางลำตัวมีการเผาผลาญได้ดีกว่าไขมันบริเวณสะโพกก็ตาม กระนั้น เชื่อว่าสาเหตุอาจมาจากการที่ไขมันมีความเกี่ยวโยงกับปัญหา อาทิ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และระดับคลอเรสเตอรอลสูง
งานวิจัยอีกชิ้นเชื่อมโยงโรคอ้วนกับโรคหลอดเลือด ซึ่งมีบทบาทสำคัญกับโรคสมองเสื่อม ส่วนหนึ่งจากการที่ไขมันไปอุดตันหลอดเลือดแดง
ในการวิจัยล่าสุดบ่งชี้ว่า ขณะที่มาตรฐานการวัดระดับความอ้วนด้วยดัชนีมวลกาย อาจช่วยในการทำนายความเสี่ยง แต่ขณะเดียวกัน ไลฟ์สไตล์ที่ทำให้รอบเอวหนาหนักก็อาจเกี่ยวโยงใกล้ชิดกับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมในระยะยาว
นักวิจัยอเมริกันได้วัดระดับไขมันบริเวณหน้าท้องของอาสาสมัคร 6,583 คนที่อายุระหว่าง 40-45 ปี ในทศวรรษ 1960-1970
ผ่านไป 36 ปี อาสาสมัคร 16% ตรวจพบเป็นโรคสมองเสื่อม โดยคนที่มีชั้นไขมันรอบเอวหนาที่สุดเมื่ออายุ 40-49 ปี มีแนวโน้มเป็นโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่มีไขมันรอบเอวน้อยที่สุด
รายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวโรโลจีไม่ได้ให้รายละเอียดว่า ระดับไขมันรอบเอวเท่าใดถือว่าปลอดภัยต่อสุขภาพ แต่แพทย์แนะนำว่า รอบเอวผู้ชายไม่ควรกว้างเกิน 40 นิ้ว และไม่ควรเกิน 35 นิ้วสำหรับผู้หญิง
ดร.ราเชล วิตเมอร์ จากแผนกวิจัยไกเซอร์ เพอร์มาเนนต์ในโอ๊กแลนด์ แคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นนักวิจัยหลักของโครงการนี้ กล่าวว่าเป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่า ภาวะน้ำหนักเกินในวัยกลางคนเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อโรคภัยต่างๆ มากมาย กระนั้น น้อยคนที่จะรู้ว่าตำแหน่งของร่างกายที่สะสมไขมันส่วนเกินมีความสำคัญต่อเรื่องนี้ไม่แพ้กัน
“การตรวจสอบอย่างละเอียดแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงในสมองที่เกี่ยวพันกับโรคอัลไซเมอร์ อาจเกิดขึ้นในช่วงหนุ่มสาวจนถึงวัยกลางคน และงานวิจัยอีกชิ้นระบุว่าไขมันหนาบริเวณหน้าท้องในผู้สูงวัยเกี่ยวพันกับการเสื่อมของสมอง
“การค้นพบเหล่านี้บ่งชี้ว่าผลกระทบที่เป็นอันตรายจากไขมันหน้าท้องที่มีต่อสมองอาจเริ่มต้นก่อนที่สัญญาณของโรคสมองเสื่อมจะปรากฏเป็นเวลานาน”
งานศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่า อาสาสมัคร 20% ที่รอบเอวกว้างที่สุด มีความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 270% เมื่อเทียบกับอาสาสมัครที่เอวเล็กที่สุด
แม้แต่อาสาสมัครที่น้ำหนักตัวปกติจากการคำนวณดัชนีมวลกาย ยังมีความเสี่ยงโรคนี้สูงถึง 90% หากพุงยื่น
ขณะที่คนน้ำหนักเกินและเอวหนาจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 230% ส่วนคนที่ทั้งเป็นโรคอ้วนและลงพุงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึง 360%ท่าเมื่อเทียบกับคนน้ำหนักปกติและรอบเอวมาตรฐาน
สำหรับอาสาสมัครที่น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนแต่หน้าท้องไม่ใหญ่ มีความเสี่ยงเพิ่ม 80%
ศาสตราจารย์คลิฟ บัลลาร์ด จากอัลไซเมอร์ส โซไซตี้ สำทับว่า งานศึกษาชิ้นใหม่ตอกย้ำว่า การมีพุงใหญ่ไม่ว่าน้ำหนักจะน้อยหรือมาก ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม
ทั้งนี้ เป็นที่รับรู้กันอยู่แล้วว่า ผู้ใหญ่วัยกลางคนที่เอวหนามีความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น แต่นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยแสดงความเชื่อมโยงของการลงพุงกับโรคสมองเสื่อม