สปสช.เผย 5 ปี ชดเชยช่วยผู้เสียหายตามมาตรา 41 ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ เบื้องต้นกว่า 150 ล้านบาท จาก 1,450 เรื่อง สาเหตุสำคัญผิดพลาดจากคลอดบุตร ด้านเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ชี้ช่วยเยียวยาได้ แต่ควรเพิ่มการชดเชยที่เป็นธรรม เร่งผลักดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีกลไกในการบรรเทาปัญหา และเยียวยาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น โดยมาตรา 41 ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 กำหนดให้มีการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ สำหรับอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.เสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร จ่ายเงินช่วยเหลือได้ไม่เกิน 200,000 บาท 2.สูญเสียอวัยวะ หรือพิการ จ่ายเงินช่วยเหลือได้ไม่เกิน 120,000 บาท และ 3.บาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายเงินช่วยเหลือได้ไม่เกิน 50,000 บาท
“ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547 - มิ.ย.2551 กองทุนมาตรา 41 นี้มีงบประมาณ 289 ล้านบาท โดยได้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 151 ล้านบาท คงเหลือ 138 ล้านบาท ซึ่งเกือบ 5 ปีที่ผ่านมานั้น มีผลการพิจารณาที่เข้าเกณฑ์ทั้งหมด 1,450 เรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นความเสียหายทางด้านสูตินรีเวช โดยเฉพาะการคลอดบุตรเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความเสียหายถึงขั้นเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ รองลงมาคือ ด้านอายุรกรรม ศัลยกรรม จักษุฯและทันตกรรม เป็นต้น” นพ.ประทีปกล่าว
รองเลขาธิการ สปสช.กล่าวต่อว่า การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการนั้น ไม่ได้หมายความว่า การรักษาไม่มีคุณภาพหรือไม่ได้มาตรฐาน แต่เป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน ที่ผ่านมาพบว่าทั้งฝ่ายคนไข้และบุคลากรทางการแพทย์มีการเห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือกัน ถือเป็นกระบวนการที่เข้ามาช่วย และมีคณะกรรมการกลางมาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ พร้อมๆ กับการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นประโยชน์และมีส่วนช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้บริการทำให้เรื่องร้องเรียนถึงแพทยสภาและศาลลดน้อยลง
ด้านนางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า มาตรา 41 เป็นมาตราแห่งมนุษยธรรม แม้จำนวนเงินในการช่วยเหลือเบื้องต้นจะไม่มากจนบรรเทาความเสียหายได้ทั้งหมดแต่ก็เป็นประโยชน์สามารถเยียวยาให้ผู้เสียหายสามารถดำรงชีวิตที่เสียหายต่อไปได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ปัจจุบันเครือข่ายฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้บริการบัตรทองหลายรายใช้ระยะเวลานาน ทำให้ผลการยื่นร้องเรียนเกินระยะเวลาที่มาตรา 41 กำหนดคือ 1 ปี ซึ่งเครือข่ายฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแทน เป็นต้น ดังนั้น การเข้าถึงสิทธิของผู้เสียหาย ควรเข้าถึงง่าย รวดเร็วและได้รับการดูแลเอาใจใส่จากเจ้าหน้าที่อย่างกระตือรือร้น
นางปรียานันท์ กล่าวต่อว่า มีข้อเสนอแนะว่าควรเพิ่มการชดเชยความเสียหายที่แท้จริงด้วยความเป็นธรรมจะสามารถลดจำนวนคดีฟ้องร้องที่จะเข้าสู่ศาลได้ สำหรับภาพรวมนั้น ควรช่วยกันเร่งให้ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ… มีผลบังคับใช้เร็วๆ เนื่องจากจะสามารถแก้ไขปัญหาทั้งต้นเหตุและปลายเหตุได้อย่างเป็นระบบ และยังครอบคลุมทั้งสถานบริการของรัฐและเอกชนอีกด้วย ซึ่งจะเป็นทางออกที่เชื่อว่าจะเป็นที่พอใจของทั้งฝ่ายผู้ให้บริการและผู้รับบริการอย่างแน่นอน
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีกลไกในการบรรเทาปัญหา และเยียวยาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น โดยมาตรา 41 ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 กำหนดให้มีการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ สำหรับอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.เสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร จ่ายเงินช่วยเหลือได้ไม่เกิน 200,000 บาท 2.สูญเสียอวัยวะ หรือพิการ จ่ายเงินช่วยเหลือได้ไม่เกิน 120,000 บาท และ 3.บาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายเงินช่วยเหลือได้ไม่เกิน 50,000 บาท
“ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547 - มิ.ย.2551 กองทุนมาตรา 41 นี้มีงบประมาณ 289 ล้านบาท โดยได้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 151 ล้านบาท คงเหลือ 138 ล้านบาท ซึ่งเกือบ 5 ปีที่ผ่านมานั้น มีผลการพิจารณาที่เข้าเกณฑ์ทั้งหมด 1,450 เรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นความเสียหายทางด้านสูตินรีเวช โดยเฉพาะการคลอดบุตรเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความเสียหายถึงขั้นเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ รองลงมาคือ ด้านอายุรกรรม ศัลยกรรม จักษุฯและทันตกรรม เป็นต้น” นพ.ประทีปกล่าว
รองเลขาธิการ สปสช.กล่าวต่อว่า การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการนั้น ไม่ได้หมายความว่า การรักษาไม่มีคุณภาพหรือไม่ได้มาตรฐาน แต่เป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน ที่ผ่านมาพบว่าทั้งฝ่ายคนไข้และบุคลากรทางการแพทย์มีการเห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือกัน ถือเป็นกระบวนการที่เข้ามาช่วย และมีคณะกรรมการกลางมาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ พร้อมๆ กับการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นประโยชน์และมีส่วนช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้บริการทำให้เรื่องร้องเรียนถึงแพทยสภาและศาลลดน้อยลง
ด้านนางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า มาตรา 41 เป็นมาตราแห่งมนุษยธรรม แม้จำนวนเงินในการช่วยเหลือเบื้องต้นจะไม่มากจนบรรเทาความเสียหายได้ทั้งหมดแต่ก็เป็นประโยชน์สามารถเยียวยาให้ผู้เสียหายสามารถดำรงชีวิตที่เสียหายต่อไปได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ปัจจุบันเครือข่ายฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้บริการบัตรทองหลายรายใช้ระยะเวลานาน ทำให้ผลการยื่นร้องเรียนเกินระยะเวลาที่มาตรา 41 กำหนดคือ 1 ปี ซึ่งเครือข่ายฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแทน เป็นต้น ดังนั้น การเข้าถึงสิทธิของผู้เสียหาย ควรเข้าถึงง่าย รวดเร็วและได้รับการดูแลเอาใจใส่จากเจ้าหน้าที่อย่างกระตือรือร้น
นางปรียานันท์ กล่าวต่อว่า มีข้อเสนอแนะว่าควรเพิ่มการชดเชยความเสียหายที่แท้จริงด้วยความเป็นธรรมจะสามารถลดจำนวนคดีฟ้องร้องที่จะเข้าสู่ศาลได้ สำหรับภาพรวมนั้น ควรช่วยกันเร่งให้ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ… มีผลบังคับใช้เร็วๆ เนื่องจากจะสามารถแก้ไขปัญหาทั้งต้นเหตุและปลายเหตุได้อย่างเป็นระบบ และยังครอบคลุมทั้งสถานบริการของรัฐและเอกชนอีกด้วย ซึ่งจะเป็นทางออกที่เชื่อว่าจะเป็นที่พอใจของทั้งฝ่ายผู้ให้บริการและผู้รับบริการอย่างแน่นอน