เครือข่ายผู้บริโภค ชี้ “หมอวิชัย” ฟ้อง รมว.สธ.ถือเป็นบรรทัดฐานในการปฏิรูปบอร์ดรัฐวิสาหกิจไม่ให้การเมืองครอบงำ พร้อมแจงมติที่ประชุมยังไม่ฟ้อง “ไชยา” ต่อ ป.ป.ช.รอผลชี้ขาดศาลรัฐธรรมนูญก่อน อีกทั้งเตรียมเข้าชื่อประชาชน 1 หมื่นคน ดันกฎหมาย 3 ฉบับ พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ร.บ.ยา และ พ.ร.บ.เข้าถึงยา ฉบับภาคประชาชน เดินหน้าให้ทำซีแอลยาด้านจิตเวชเพิ่ม ขณะเดียวกัน เตรียมฟ้องศาลปกครอง เอาผิด ก.พาณิชย์ ที่ระบุว่า “แอ็บบอต” ไม่ผิด พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า ส่วนสหภาพ อภ.ไม่เชื่อบอร์ด อภ.ชุดใหม่กล้าปลด “หมอวิทิต” เชื่อถ้า “ไชยา” ไป บอร์ดก็ต้องไปตามมารยาท
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ในการประชุมเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค เครือข่ายผู้ป่วย นักวิชาการ นักกฎหมาย ฯลฯ เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุป 4 ข้อ ใหญ่ๆ คือ 1.เครือข่ายฯ จะดำเนินการร่าง พ.ร.บ.เข้าถึงยาที่มีคุณภาพ พ.ศ.ฉบับภาคประชาชนโดยจะรวบรวมรายชื่อประชาชน 1 หมื่นรายชื่อ เพื่อเสนอกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ สาระสำคัญของกฎหมายจะเป็นกลไกให้เกิดการเข้าถึงยาอย่างมีระบบ ไม่ว่าจะเป็นยาที่ติดสิทธิบัตรหรือไม่ติดสิทธิบัตรก็ตาม พร้อมกันนี้จะผลักดันร่าง พ.ร.บ.สิทธิบัตร และพ.ร.บ.ยาฉบับภาคประชาชนที่ดำเนินการร่างเสร็จเรียบร้อยแล้วสู่การแก้ไขให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
“สาระสำคัญของกฎหมาย คือ ต้องการทำให้ผู้ป่วยทุกคนทุกระบบหลักประกันสุขภาพต่างๆ ใช้เพียงบัตรประชาชนที่มีอยู่ในการเข้าไปรักษา โดยสถานพยาบาลไม่ต้องถามว่ามีระบบหลักประกันอะไร ไม่ควรมาตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลของเรา เพราะเรื่องการจ่ายเงินเป็นเรื่องหลังบ้านที่สถานพยาบาลจะไปดำเนินการเบิกจ่ายตามสิทธิต่างๆ เพราะทุกวันนี้ประชาชนคนไทยทุกคนมีผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้อยู่แล้ว” น.ส.สารี กล่าว
น.ส.สารี กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีผู้ร้องเรียนเป็นเจ้าหน้าที่สถานทูตของสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยไปหมอด้วยอาการไข้หวัด สถานพยาบาลสั่งจ่ายยาให้ทั้งสิ้น 19 รายการ แต่ในอีกรายหนึ่งที่มาร้องเรียนกับมูลนิธิ พบว่า ตัวเองไปป่ามาแล้วมีอาการไข้น่าจะเป็นมาลาเรีย ไปหาหมอ 3 ครั้ง หมอให้เพียงยาแก้ไข้เท่านั้น จนต้องยอมเสียค่ารักษาเอง 1,250 บาท จึงรักษาให้ ในที่สุดระบบยอมรับผิดและจ่ายเงินคืนทั้งหมด ซึ่งหากผู้ป่วยมาลาเรียไม่ได้รับการรักษาได้ทัน อาจเสียชีวิตได้
น.ส.สารี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ มติที่ 2 คือ การเตรียมฟ้องร้องศาลปกครองกลางในกรณีที่คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้ามีมติเห็นว่าการที่บริษัท แอ็บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด ถอนการขึ้นทะเบียนยาใหม่ 7 รายการ ซึ่งมียาต้านไวรัสเอดส์ อลูเวีย กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เนื่องจากตอบโต้ที่ไทยประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร(ซีแอล)กับอลูเวียนั้น ว่าเป็นเรื่องที่ไม่ผิด พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า
“ในความเป็นจริงแล้วคณะอนุกรรมที่พิจารณาเรื่องนี้ที่ส่งเรื่องไปคณะกรรมการชุดใหญ่ ต่างมีความเห็นครึ่งหนึ่งว่ามีความผิดตามมาตรา 28 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าวส่วนอีกครึ่งหนึ่งกลับเห็นว่าไม่ผิด แต่คณะกรรมการชุดใหญ่ที่มี นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายในเป็นประธานกลับตัดสินเลยว่าไม่ผิด ทั้งที่บริษัทยาเป็นบริษัทแม่ใช้อำนาจถอนการขึ้นทะเบียนยาส่งผลต่อการผลิตหรือจำหน่ายยาในประเทศ ซึ่งถือว่าขัดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงเตรียมฟ้องร้องศาลปกครองกับคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าต่อไป” น.ส.สารี กล่าว
น.ส.สารี กล่าวต่อว่า มติที่ 3 ที่ประชุมได้เสนอชื่อให้ นายบริพัตร ดอนชาญ ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์แห่งประเทศไทย และ นางสายชล แซ่ลิ้ม ประธานเครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง และรองประธานฝ่ายดูแลผู้ป่วยมะเร็ง เข้าร่วมคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาการเข้าถึงยาระบบยาที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน ที่มี นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน ซึ่งจะมีการหารือกันครั้งแรกในวันที่ 24 มิ.ย.นี้ที่ สธ.พร้อมกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการรวบรวมข้อมูลว่ายังมียาชนิดใดที่มีความจำเป็นและยังมีปัญหาการเข้าถึงยาอีก โดยเฉพาะยาทางด้านจิตเวชเพื่อผลักดันให้มีการทำแก้ไขปัญหานี้ ส่วนมติสุดท้าย ที่ประชุมลงความเห็นให้ชะลอการยื่นฟ้องคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรื่อง นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ขาดคุณสมบัติเป็นรัฐมนตรี โดยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีการวินิจฉัยคดีที่นายไชยา ขาดคุณสมบัติเสียก่อน
“ในส่วนของ นพ.วิชัย โชควิวัฒน อดีตประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม(บอร์ดอภ.)ฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลาง กรณีที่ นายไชยา ปลดบอร์ด อภ.นั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะถือว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีประวัติศาสตร์ และเพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิรูปบอร์ดรัฐวิสาหกิจทั้งหลาย เพื่อให้ปราศจากการครอบงำทางการเมือง โดยอาจจะให้ผู้ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ องค์กรภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อความโปร่งใส รวมถึงการข้อความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจนั้นๆ” น.ส.สารี กล่าว
นายระวัย ภู่ผะกา ประธานสหภาพองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า การประชุมครั้งแรกของบอร์ด อภ.ชุดใหม่ที่มีนายถิรชัย วุฒิธรรมเป็นประธานบอร์ดฯ ไม่มีเนื้อหาสาระ และไม่ชัดเจน ซึ่งช่วงเริ่มแรกน่าจะเป็นการศึกษางาน โดยดูแนวทางต่างๆ จากกรรมการบอรืดชุดเก่า เพราะไม่มีข้อมูลไม่เคยรู้เรื่องยามาก่อน อาจต้องให้เวลาในการทำงานสักระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เห็นว่า บอร์ดชุดนี้คงไม่กล้าตัดสินใจ หรือทำอะไรมากนัก เนื่องมาจากหากรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง ถูกศาลตัดสินว่า สิ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรีตั้งแต่ ป.ป.ช.ชี้มูลมา ก็ต้องออกจากตำแหน่ง และบอร์ดชุดใหม่ก็ต้องไปด้วย เพราะพูดถึงเรื่องการรักษามารยาทกันตั้งแต่ต้น ซึ่งหากไม่มีบอร์ด ก็ไม่กระทบกับการทำงาน เพราะมีผู้อำนวยการ อภ.ที่สามารถบริหารงานต่อไปได้
ส่วนกระแสข่าวการปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ อภ.ลาออกจากตำแหน่งนั้น นายระวัย กล่าวว่า บอร์ด อภ.ชุดนี้คงไม่กล้าปลดนพ.วิทิต อย่างแน่นอน เพราะขณะนี้เท่ากับมี นพ.วิทิต เพียงคนเดียวเท่านั้นที่มีความสามารถในการบริหาร เนื่องจากกรรมการชุดเก่าถูกปลดหมดแล้ว
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ในการประชุมเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค เครือข่ายผู้ป่วย นักวิชาการ นักกฎหมาย ฯลฯ เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุป 4 ข้อ ใหญ่ๆ คือ 1.เครือข่ายฯ จะดำเนินการร่าง พ.ร.บ.เข้าถึงยาที่มีคุณภาพ พ.ศ.ฉบับภาคประชาชนโดยจะรวบรวมรายชื่อประชาชน 1 หมื่นรายชื่อ เพื่อเสนอกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ สาระสำคัญของกฎหมายจะเป็นกลไกให้เกิดการเข้าถึงยาอย่างมีระบบ ไม่ว่าจะเป็นยาที่ติดสิทธิบัตรหรือไม่ติดสิทธิบัตรก็ตาม พร้อมกันนี้จะผลักดันร่าง พ.ร.บ.สิทธิบัตร และพ.ร.บ.ยาฉบับภาคประชาชนที่ดำเนินการร่างเสร็จเรียบร้อยแล้วสู่การแก้ไขให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
“สาระสำคัญของกฎหมาย คือ ต้องการทำให้ผู้ป่วยทุกคนทุกระบบหลักประกันสุขภาพต่างๆ ใช้เพียงบัตรประชาชนที่มีอยู่ในการเข้าไปรักษา โดยสถานพยาบาลไม่ต้องถามว่ามีระบบหลักประกันอะไร ไม่ควรมาตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลของเรา เพราะเรื่องการจ่ายเงินเป็นเรื่องหลังบ้านที่สถานพยาบาลจะไปดำเนินการเบิกจ่ายตามสิทธิต่างๆ เพราะทุกวันนี้ประชาชนคนไทยทุกคนมีผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้อยู่แล้ว” น.ส.สารี กล่าว
น.ส.สารี กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีผู้ร้องเรียนเป็นเจ้าหน้าที่สถานทูตของสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยไปหมอด้วยอาการไข้หวัด สถานพยาบาลสั่งจ่ายยาให้ทั้งสิ้น 19 รายการ แต่ในอีกรายหนึ่งที่มาร้องเรียนกับมูลนิธิ พบว่า ตัวเองไปป่ามาแล้วมีอาการไข้น่าจะเป็นมาลาเรีย ไปหาหมอ 3 ครั้ง หมอให้เพียงยาแก้ไข้เท่านั้น จนต้องยอมเสียค่ารักษาเอง 1,250 บาท จึงรักษาให้ ในที่สุดระบบยอมรับผิดและจ่ายเงินคืนทั้งหมด ซึ่งหากผู้ป่วยมาลาเรียไม่ได้รับการรักษาได้ทัน อาจเสียชีวิตได้
น.ส.สารี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ มติที่ 2 คือ การเตรียมฟ้องร้องศาลปกครองกลางในกรณีที่คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้ามีมติเห็นว่าการที่บริษัท แอ็บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด ถอนการขึ้นทะเบียนยาใหม่ 7 รายการ ซึ่งมียาต้านไวรัสเอดส์ อลูเวีย กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เนื่องจากตอบโต้ที่ไทยประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร(ซีแอล)กับอลูเวียนั้น ว่าเป็นเรื่องที่ไม่ผิด พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า
“ในความเป็นจริงแล้วคณะอนุกรรมที่พิจารณาเรื่องนี้ที่ส่งเรื่องไปคณะกรรมการชุดใหญ่ ต่างมีความเห็นครึ่งหนึ่งว่ามีความผิดตามมาตรา 28 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าวส่วนอีกครึ่งหนึ่งกลับเห็นว่าไม่ผิด แต่คณะกรรมการชุดใหญ่ที่มี นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายในเป็นประธานกลับตัดสินเลยว่าไม่ผิด ทั้งที่บริษัทยาเป็นบริษัทแม่ใช้อำนาจถอนการขึ้นทะเบียนยาส่งผลต่อการผลิตหรือจำหน่ายยาในประเทศ ซึ่งถือว่าขัดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงเตรียมฟ้องร้องศาลปกครองกับคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าต่อไป” น.ส.สารี กล่าว
น.ส.สารี กล่าวต่อว่า มติที่ 3 ที่ประชุมได้เสนอชื่อให้ นายบริพัตร ดอนชาญ ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์แห่งประเทศไทย และ นางสายชล แซ่ลิ้ม ประธานเครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง และรองประธานฝ่ายดูแลผู้ป่วยมะเร็ง เข้าร่วมคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาการเข้าถึงยาระบบยาที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน ที่มี นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน ซึ่งจะมีการหารือกันครั้งแรกในวันที่ 24 มิ.ย.นี้ที่ สธ.พร้อมกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการรวบรวมข้อมูลว่ายังมียาชนิดใดที่มีความจำเป็นและยังมีปัญหาการเข้าถึงยาอีก โดยเฉพาะยาทางด้านจิตเวชเพื่อผลักดันให้มีการทำแก้ไขปัญหานี้ ส่วนมติสุดท้าย ที่ประชุมลงความเห็นให้ชะลอการยื่นฟ้องคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรื่อง นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ขาดคุณสมบัติเป็นรัฐมนตรี โดยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีการวินิจฉัยคดีที่นายไชยา ขาดคุณสมบัติเสียก่อน
“ในส่วนของ นพ.วิชัย โชควิวัฒน อดีตประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม(บอร์ดอภ.)ฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลาง กรณีที่ นายไชยา ปลดบอร์ด อภ.นั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะถือว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีประวัติศาสตร์ และเพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิรูปบอร์ดรัฐวิสาหกิจทั้งหลาย เพื่อให้ปราศจากการครอบงำทางการเมือง โดยอาจจะให้ผู้ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ องค์กรภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อความโปร่งใส รวมถึงการข้อความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจนั้นๆ” น.ส.สารี กล่าว
นายระวัย ภู่ผะกา ประธานสหภาพองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า การประชุมครั้งแรกของบอร์ด อภ.ชุดใหม่ที่มีนายถิรชัย วุฒิธรรมเป็นประธานบอร์ดฯ ไม่มีเนื้อหาสาระ และไม่ชัดเจน ซึ่งช่วงเริ่มแรกน่าจะเป็นการศึกษางาน โดยดูแนวทางต่างๆ จากกรรมการบอรืดชุดเก่า เพราะไม่มีข้อมูลไม่เคยรู้เรื่องยามาก่อน อาจต้องให้เวลาในการทำงานสักระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เห็นว่า บอร์ดชุดนี้คงไม่กล้าตัดสินใจ หรือทำอะไรมากนัก เนื่องมาจากหากรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง ถูกศาลตัดสินว่า สิ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรีตั้งแต่ ป.ป.ช.ชี้มูลมา ก็ต้องออกจากตำแหน่ง และบอร์ดชุดใหม่ก็ต้องไปด้วย เพราะพูดถึงเรื่องการรักษามารยาทกันตั้งแต่ต้น ซึ่งหากไม่มีบอร์ด ก็ไม่กระทบกับการทำงาน เพราะมีผู้อำนวยการ อภ.ที่สามารถบริหารงานต่อไปได้
ส่วนกระแสข่าวการปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ อภ.ลาออกจากตำแหน่งนั้น นายระวัย กล่าวว่า บอร์ด อภ.ชุดนี้คงไม่กล้าปลดนพ.วิทิต อย่างแน่นอน เพราะขณะนี้เท่ากับมี นพ.วิทิต เพียงคนเดียวเท่านั้นที่มีความสามารถในการบริหาร เนื่องจากกรรมการชุดเก่าถูกปลดหมดแล้ว