“สุเมธ” ปรับเพดานรายได้ครอบครัว 1.5 แสนบาทเพิ่มเป็น 2 แสนบาท พร้อมตั้งเงื่อนไขให้ สกอ.-มหาวิทยาลัย คัดกรองเด็กที่จบแน่ ไม่ลาออกกลางคัน เผย ไอเดียนำเงินกองทุนไปลงทุนให้เงินงอก เพื่อระยะยาวไม่แบมือของบแผ่นดิน
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยมีนายธาดา มาร์ติน ผู้จัดการ กยศ.เข้าร่วมเพื่อพิจารณาปรับเพดานรายได้ครอบครัวของผู้กู้ กยศ.ว่า ที่ประชุมมีมติเฉพาะกิจให้ปรับรายได้ครอบครัวผู้มีสิทธิกู้จากเดิม 1.5 แสนบาทต่อปี เป็น 2 แสนบาทต่อปี เพื่อให้ทันใช้ในเทอม 1 ปีการศึกษา 2551 นี้ เมื่อปรับเพดานคาดว่าจะมีผู้กู้เพิ่มขึ้น จากเดิม 125,000 คน เป็น 143,700 คน ซึ่งเรื่องนี้ คณะกรรมการ กยศ.จะสรุปแล้วเสนอต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) อีกครั้ง
อย่างไรก็ดี มีเงื่อนไขให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สกอ.และมหาวิทยาลัย ช่วยคัดกรองผู้กู้ เน้นนักศึกษาที่เรียนแล้วมีโอกาสจบการศึกษาแน่นอน ไม่ลาออกกลางคัน โดยอาจจะเข้าไปดูในสาขาที่ผู้กู้เรียนด้วย
ดร.สุเมธ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังมีข้อเสนอว่า งบประมาณที่จัดสรรมาปล่อยกู้นั้นเป็นงบประมาณแผ่นดิน และเกรงว่า จะไม่เกิดความยั่งยืน จึงมีแนวคิดว่างบที่ได้รับการจัดสรรมานั้นอาจนำไปลงทุนหมุนเวียนในลักษณะเงินต่อเงิน เพื่อให้กองทุนมีรายได้เพิ่มขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลจัดสรรงบให้ 1 พันล้านบาท หากกองทุนนำเงินไปหมุนให้เป็น 1,500 ล้าน เป็นการเอาหนี้สินไปแปลงเป็นทุน เพื่อจะได้ไม่ต้องรบกวนงบประมาณแผ่นดินในระยะยาว อย่างไรก็ดี เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องมีการหารืออย่างรอบคอบ และหากจะทำจริงๆ คงต้องมีการออกกฎหมายขึ้นมาเพื่อรองรับด้วย
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยมีนายธาดา มาร์ติน ผู้จัดการ กยศ.เข้าร่วมเพื่อพิจารณาปรับเพดานรายได้ครอบครัวของผู้กู้ กยศ.ว่า ที่ประชุมมีมติเฉพาะกิจให้ปรับรายได้ครอบครัวผู้มีสิทธิกู้จากเดิม 1.5 แสนบาทต่อปี เป็น 2 แสนบาทต่อปี เพื่อให้ทันใช้ในเทอม 1 ปีการศึกษา 2551 นี้ เมื่อปรับเพดานคาดว่าจะมีผู้กู้เพิ่มขึ้น จากเดิม 125,000 คน เป็น 143,700 คน ซึ่งเรื่องนี้ คณะกรรมการ กยศ.จะสรุปแล้วเสนอต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) อีกครั้ง
อย่างไรก็ดี มีเงื่อนไขให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สกอ.และมหาวิทยาลัย ช่วยคัดกรองผู้กู้ เน้นนักศึกษาที่เรียนแล้วมีโอกาสจบการศึกษาแน่นอน ไม่ลาออกกลางคัน โดยอาจจะเข้าไปดูในสาขาที่ผู้กู้เรียนด้วย
ดร.สุเมธ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังมีข้อเสนอว่า งบประมาณที่จัดสรรมาปล่อยกู้นั้นเป็นงบประมาณแผ่นดิน และเกรงว่า จะไม่เกิดความยั่งยืน จึงมีแนวคิดว่างบที่ได้รับการจัดสรรมานั้นอาจนำไปลงทุนหมุนเวียนในลักษณะเงินต่อเงิน เพื่อให้กองทุนมีรายได้เพิ่มขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลจัดสรรงบให้ 1 พันล้านบาท หากกองทุนนำเงินไปหมุนให้เป็น 1,500 ล้าน เป็นการเอาหนี้สินไปแปลงเป็นทุน เพื่อจะได้ไม่ต้องรบกวนงบประมาณแผ่นดินในระยะยาว อย่างไรก็ดี เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องมีการหารืออย่างรอบคอบ และหากจะทำจริงๆ คงต้องมีการออกกฎหมายขึ้นมาเพื่อรองรับด้วย