สกอ.เดินหน้าหยุดปัญหานักเรียนไม่มีทุนการศึกษาเรียนต่อระดับอุดมศึกษา จนเป็นสาเหตุให้เกิดเหตุสลดถึงขั้นฆ่าตัวตาย ประกาศเปิดศูนย์ช่วยเหลือนักศึกษาใหม่พรุ่งนี้ แต่วันนี้ก็สามารถฝากข้อความไว้ได้แล้ว
นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยว่า ศูนย์เฉพาะกิจเพื่อช่วยนักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2551 ที่จะเปิดอย่างเป็นทางการพรุ่งนี้ (20 พ.ค.) ตั้งแต่เวลา 08.00-21.30 น.จะให้บริการทุกวัน เพื่อห้คำปรึกษา แนะนำ คลี่คลายปัญหาให้กับนักศึกษาใหม่ที่ครอบครัวยากจนและต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน โดยสามารถติดต่อทางโทรศัพท์หมายเลข 0-2610-5416-17
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ (19 พ.ค.) ก็สามารถฝากข้อความไว้ได้ที่ Call Center หมายเลขโทรศัพท์ 0-2576-5555 หรือ 0-2576-5777 ตลอด 24 ชั่วโมง
นายสุเมธกล่าวด้วยว่า เบื้องต้นประเมินสาเหตุปัญหานักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกทั้งระบบรับตรงหรือแอดมิสชั่นส์แล้วไม่มีเงินเรียน พบว่า ครอบครัวประสบปัญหาหลายด้านรวมถึงข้อมูลและขั้นตอนการเข้าถึงกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หรือกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ. ) ถ้านักเรียนทุกคนรู้ว่า ถ้าไม่มีเงินเรียนจะต้องทำอะไรอย่างไรเป็นขั้นตอน ก็จะไม่เกิดปัญหาที่น่าเศร้าใจ
รวมถึงเกณฑ์การกู้ยืม กยศ. ที่กำหนดให้ครอบครัวที่กู้ยืม จะต้องมีรายได้รวมกันไม่เกิน 150,000 บาทต่อปีน่าจะต้องทบทวน เนื่องจากนักวิชาการเคยหารือกันว่า ถ้าครอบครัวใดมีลูกคนเดียวเกณฑ์รายได้ดังกล่าวอาจจะใช้ได้ แต่ถ้ามีลูกหลายคนน่าจะปรับเพิ่มรายได้ที่จะมีสิทธิ์กู้เป็น 200,000-300,000 บาท เชื่อว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องเสนอให้ทบทวนแน่นอน โดยพรุ่งนี้ นายบุญลือ ประเสริฐโสภา รมช.ศธ. นัดคุยกันเรื่องนี้ ทั้งกระทรวงการคลัง และผู้จัดการ กยศ. ซึ่งกำลังมีการยกร่างกองทุนกู้ยืมฉบับใหม่
“จะคุยกันเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เพราะ กยศ. ใช้มาครบ 10 ปีพอดี ควรมีการทบทวนกัน และปัญหาการประชาสัมพันธ์ก็ต้องแก้ไข เพราะยังลงไม่ถึงตัวเด็กจริง ๆ นอกจากนี้ โรงเรียนมัธยมฯ กว่า 3,000 โรง ก็ต้องช่วยแนะแนวให้ข้อมูลเด็กด้วย จะมีมาตรการออกมา และคราวนี้เราคงไม่แก้ปัญหาปีต่อปี แต่จะแก้เป็นระยะยาว คาดการณ์และวิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจว่าโยงถึงปัญหาสังคมหรือไม่” เลขาธิการ กกอ. กล่าว
นายสุเมธกล่าวว่า ระบบเงินกู้ของ กยศ. ในปัจจุบัน ไม่สามารถรองรับผู้เรียนอุดมศึกษาได้ทั้งหมด ระบบใหม่ที่จะสร้างขึ้นจะต้องแก้ปัญหาได้ เอาหลักการของ กยศ. และ กรอ. มาร่วมกัน คาดว่าปลายเดือนพฤษภาคมนี้จะยกร่างเสร็จและเสนอทำประชาพิจารณ์ ขณะนี้ยังไม่กล้าบอกว่า ทุกคนที่จะเรียนระดับอุดมศึกษามีสิทธิ์กู้ได้หมด แต่ถึงอย่างไร ต้องให้สิทธิ์นักเรียนมัธยมปลายได้กู้เพื่อค่าครองชีพ ส่วนชื่อกองทุนยังไม่ได้ตกลง
นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยว่า ศูนย์เฉพาะกิจเพื่อช่วยนักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2551 ที่จะเปิดอย่างเป็นทางการพรุ่งนี้ (20 พ.ค.) ตั้งแต่เวลา 08.00-21.30 น.จะให้บริการทุกวัน เพื่อห้คำปรึกษา แนะนำ คลี่คลายปัญหาให้กับนักศึกษาใหม่ที่ครอบครัวยากจนและต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน โดยสามารถติดต่อทางโทรศัพท์หมายเลข 0-2610-5416-17
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ (19 พ.ค.) ก็สามารถฝากข้อความไว้ได้ที่ Call Center หมายเลขโทรศัพท์ 0-2576-5555 หรือ 0-2576-5777 ตลอด 24 ชั่วโมง
นายสุเมธกล่าวด้วยว่า เบื้องต้นประเมินสาเหตุปัญหานักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกทั้งระบบรับตรงหรือแอดมิสชั่นส์แล้วไม่มีเงินเรียน พบว่า ครอบครัวประสบปัญหาหลายด้านรวมถึงข้อมูลและขั้นตอนการเข้าถึงกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หรือกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ. ) ถ้านักเรียนทุกคนรู้ว่า ถ้าไม่มีเงินเรียนจะต้องทำอะไรอย่างไรเป็นขั้นตอน ก็จะไม่เกิดปัญหาที่น่าเศร้าใจ
รวมถึงเกณฑ์การกู้ยืม กยศ. ที่กำหนดให้ครอบครัวที่กู้ยืม จะต้องมีรายได้รวมกันไม่เกิน 150,000 บาทต่อปีน่าจะต้องทบทวน เนื่องจากนักวิชาการเคยหารือกันว่า ถ้าครอบครัวใดมีลูกคนเดียวเกณฑ์รายได้ดังกล่าวอาจจะใช้ได้ แต่ถ้ามีลูกหลายคนน่าจะปรับเพิ่มรายได้ที่จะมีสิทธิ์กู้เป็น 200,000-300,000 บาท เชื่อว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องเสนอให้ทบทวนแน่นอน โดยพรุ่งนี้ นายบุญลือ ประเสริฐโสภา รมช.ศธ. นัดคุยกันเรื่องนี้ ทั้งกระทรวงการคลัง และผู้จัดการ กยศ. ซึ่งกำลังมีการยกร่างกองทุนกู้ยืมฉบับใหม่
“จะคุยกันเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เพราะ กยศ. ใช้มาครบ 10 ปีพอดี ควรมีการทบทวนกัน และปัญหาการประชาสัมพันธ์ก็ต้องแก้ไข เพราะยังลงไม่ถึงตัวเด็กจริง ๆ นอกจากนี้ โรงเรียนมัธยมฯ กว่า 3,000 โรง ก็ต้องช่วยแนะแนวให้ข้อมูลเด็กด้วย จะมีมาตรการออกมา และคราวนี้เราคงไม่แก้ปัญหาปีต่อปี แต่จะแก้เป็นระยะยาว คาดการณ์และวิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจว่าโยงถึงปัญหาสังคมหรือไม่” เลขาธิการ กกอ. กล่าว
นายสุเมธกล่าวว่า ระบบเงินกู้ของ กยศ. ในปัจจุบัน ไม่สามารถรองรับผู้เรียนอุดมศึกษาได้ทั้งหมด ระบบใหม่ที่จะสร้างขึ้นจะต้องแก้ปัญหาได้ เอาหลักการของ กยศ. และ กรอ. มาร่วมกัน คาดว่าปลายเดือนพฤษภาคมนี้จะยกร่างเสร็จและเสนอทำประชาพิจารณ์ ขณะนี้ยังไม่กล้าบอกว่า ทุกคนที่จะเรียนระดับอุดมศึกษามีสิทธิ์กู้ได้หมด แต่ถึงอย่างไร ต้องให้สิทธิ์นักเรียนมัธยมปลายได้กู้เพื่อค่าครองชีพ ส่วนชื่อกองทุนยังไม่ได้ตกลง