“สุเมธ” เผย กรอ.ใหม่ เปลี่ยนการชำระคืน ใช้หลักเกณฑ์ของ กยศ.และให้เฉพาะสาขาขาดแคลน ความต้องการของประเทศ ระบุ สกอ.กำหนดสาขา ภายในสัปดาห์หน้า
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า มติคณะกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ได้เสนอกองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกขาดกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ที่จะนำมาใช้นั้น ได้ให้นำระบบระเบียบการกู้ยืม กรอ.แบบเดิม มาใช้สำหรับเด็กที่จะกู้ในปีการศึกษา 2550 นี้ โดยมีคณะกรรมการ กรอ.โดยมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ส่วนเงื่อนไขที่แตกต่างจากระบบ กรอ.เดิม นั่นก็คือการชำระเงินคืนให้ใช้แบบเดียวกันกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) อาทิ มีดอกเบี้ย 1% ชำระเงินคืน 15 ปี เป็นต้น ซึ่งรูปแบบ กรอ.ในครั้งนี้ คาดว่าจะนำมาใช้ชั่วคราวเท่านั้น
ส่วน กรอ.ในรูปแบบใหม่นี้ จะให้เฉพาะสาขาวิชาที่ขาดแคลน สาขาที่เป็นที่ต้องการของประเทศ โดย สกอ.จะเป็นผู้กำหนดว่ามีสาขาได้บ้าง ทาง สกอ.จะนำหลักสูตรมาพิจารณา คาดว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะได้ข้อสรุป แล้วจะนำข้อสรุปนี้ไปสนอสภาพัฒน์ ในการนำกรอ.กลับมาใช้ในครั้งนี้ ไม่ได้ปรับเปลี่ยนระบบอะไรมาก ไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างไร มั่นใจว่าทันภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 แน่ เพราะทางคณะทำงานเร่งออกระบบระเบียบ กฎหมาย หลักของกรอ.ให้ชัดเจน เร็วที่สุด
“กรอ.ใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบบระเบียบอะไรมากมาย แค่เปลี่ยนการชำระคืนเท่านั้น เด็กคนไหนที่กู้กรอ.อยู่ในขณะนี้ก็ยังคงกู้กรอ.ต่อไป การกู้ครั้งนี้ จึงเหมือนการเปิดให้มีผู้กู้รายใหม่ แต่มีการจำกัดสาขา” ดร.สุเมธ กล่าวทิ้งท้าย
ด้าน นพ.ธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ ที่มีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้นำเรื่องการกู้เงินเพื่อการศึกษาเข้าหารือ ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วได้ข้อสรุปในหลักการว่าปีการศึกษา 2551 จะดำเนินการกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต(กรอ.)และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) คู่ขนานกันไป
โดยในส่วนของกรอ. จะให้กู้เฉพาะสาขาที่เป็นความต้องการสูงของตลาดแรงงาน ส่วนคุณสมบัติผู้กู้ ไม่มีการจำกัดรายได้ของครอบครัว สำหรับระเบียบเงื่อนไขการชำระคืนนั้น ให้เป็นแบบกยศ. ส่วนว่าจะกู้ในสาขาใดได้บ้าง จำนวนผู้กู้เท่าไหร่ และจะใช้งบประมาณเท่าใดนั้น จะมีการหารือร่วมกับระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ สศช.และกรอ.ต่อไป ส่วนในอนาคต จะมีการนำข้อดีและข้อเสียของกรอ.และกยศ.มารวมกันเพื่อปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ให้รองรับกับการกู้แบบกรอ.ต่อไป
“ในที่ประชุม นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำขอให้มีการแนะแนวให้ความรู้แก่นักศึกษาว่าสาขาใดกู้กรอ.ได้หรือสาขาใดกู้ไม่ได้เพื่อเป็นข้อมูลให้นักศึกษาตัดสินใจเลือกเรียนสาขาต่างๆ ได้ถูก ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ขอให้นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อขอความเห็นชอบในวันที่ 25 มีนาคมนี้” นพ.ธาดา กล่าว
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า มติคณะกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ได้เสนอกองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกขาดกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ที่จะนำมาใช้นั้น ได้ให้นำระบบระเบียบการกู้ยืม กรอ.แบบเดิม มาใช้สำหรับเด็กที่จะกู้ในปีการศึกษา 2550 นี้ โดยมีคณะกรรมการ กรอ.โดยมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ส่วนเงื่อนไขที่แตกต่างจากระบบ กรอ.เดิม นั่นก็คือการชำระเงินคืนให้ใช้แบบเดียวกันกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) อาทิ มีดอกเบี้ย 1% ชำระเงินคืน 15 ปี เป็นต้น ซึ่งรูปแบบ กรอ.ในครั้งนี้ คาดว่าจะนำมาใช้ชั่วคราวเท่านั้น
ส่วน กรอ.ในรูปแบบใหม่นี้ จะให้เฉพาะสาขาวิชาที่ขาดแคลน สาขาที่เป็นที่ต้องการของประเทศ โดย สกอ.จะเป็นผู้กำหนดว่ามีสาขาได้บ้าง ทาง สกอ.จะนำหลักสูตรมาพิจารณา คาดว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะได้ข้อสรุป แล้วจะนำข้อสรุปนี้ไปสนอสภาพัฒน์ ในการนำกรอ.กลับมาใช้ในครั้งนี้ ไม่ได้ปรับเปลี่ยนระบบอะไรมาก ไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างไร มั่นใจว่าทันภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 แน่ เพราะทางคณะทำงานเร่งออกระบบระเบียบ กฎหมาย หลักของกรอ.ให้ชัดเจน เร็วที่สุด
“กรอ.ใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบบระเบียบอะไรมากมาย แค่เปลี่ยนการชำระคืนเท่านั้น เด็กคนไหนที่กู้กรอ.อยู่ในขณะนี้ก็ยังคงกู้กรอ.ต่อไป การกู้ครั้งนี้ จึงเหมือนการเปิดให้มีผู้กู้รายใหม่ แต่มีการจำกัดสาขา” ดร.สุเมธ กล่าวทิ้งท้าย
ด้าน นพ.ธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ ที่มีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้นำเรื่องการกู้เงินเพื่อการศึกษาเข้าหารือ ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วได้ข้อสรุปในหลักการว่าปีการศึกษา 2551 จะดำเนินการกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต(กรอ.)และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) คู่ขนานกันไป
โดยในส่วนของกรอ. จะให้กู้เฉพาะสาขาที่เป็นความต้องการสูงของตลาดแรงงาน ส่วนคุณสมบัติผู้กู้ ไม่มีการจำกัดรายได้ของครอบครัว สำหรับระเบียบเงื่อนไขการชำระคืนนั้น ให้เป็นแบบกยศ. ส่วนว่าจะกู้ในสาขาใดได้บ้าง จำนวนผู้กู้เท่าไหร่ และจะใช้งบประมาณเท่าใดนั้น จะมีการหารือร่วมกับระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ สศช.และกรอ.ต่อไป ส่วนในอนาคต จะมีการนำข้อดีและข้อเสียของกรอ.และกยศ.มารวมกันเพื่อปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ให้รองรับกับการกู้แบบกรอ.ต่อไป
“ในที่ประชุม นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำขอให้มีการแนะแนวให้ความรู้แก่นักศึกษาว่าสาขาใดกู้กรอ.ได้หรือสาขาใดกู้ไม่ได้เพื่อเป็นข้อมูลให้นักศึกษาตัดสินใจเลือกเรียนสาขาต่างๆ ได้ถูก ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ขอให้นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อขอความเห็นชอบในวันที่ 25 มีนาคมนี้” นพ.ธาดา กล่าว