“ไชยา” เตือนประชาชนระวังโรคติดต่อที่มาพร้อมฝน 14 โรคสำคัญ สั่ง นพ.สาธารณสุขจังหวัด รพ.ทุกแห่งเฝ้าระวังใกล้ชิด 90 วัน ตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ส.ค.นี้ เตือนผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ไข้ฉี่หนู ห้ามกินแอสไพรินลดไข้อย่างเด็ดขาด เสี่ยงเสียชีวิต
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว สภาพอากาศในฤดูกาลนี้ทำให้โรคหลายชนิดแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว มีโรคที่สำคัญคือ โรคไข้เลือดออก โรคฉี่หนู โรคไข้หวัดใหญ่ ไข้มาลาเรีย โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคบิด โรคไข้สมองอักเสบเจอี โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง โรคปอดอักเสบ และโรคไข้หวัดนก ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โรงพยาบาลทุกแห่ง จับตาเป็นพิเศษ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2551 เป็นช่วง 90 วันอันตราย ให้แพทย์ตรวจคัดกรองผู้ป่วยโดยละเอียด โดยเฉพาะโรคไข้หวัดนก จะต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าไทยจะยังไม่พบผู้ป่วยมาเป็นเวลา 21 เดือนก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่กลายพันธุ์จากการผสมข้ามสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก โดยในหมู่บ้านได้ขอความร่วมมือ อสม. 800,000 คน ติดตามการป่วยของสัตว์ปีกในหมู่บ้าน ตามมาตรการที่มีอยู่แล้วอย่างต่อเนื่อง และรายงานผลทุกวัน
ด้าน นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า กรมควบคุมโรค ได้ออกประกาศเตือนประชาชนในการป้องกันโรคติดต่อที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝน จัดส่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกัน โดยมี 5 กลุ่ม รวม 14 โรค คือ 1.กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคบิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ 2.กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง ที่พบบ่อยคือ โรคเลปโตสไปโรซิส หรือโรคไข้ฉี่หนู 3.กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม อาการจะเริ่มจากไข้ ไอ หายใจเร็วหรือหอบเหนื่อย 4.กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ได้แก่ โรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นยุงลายที่อยู่ในบ้าน โรคไข้สมองอักเสบเจอี (Japanese Encephalitis) ซึ่งมียุงรำคาญ มักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนาเป็นตัวนำโรค ทั้ง 2 โรคนี้อาการจะเริ่มจากมีไข้สูง ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้อาเจียน โดยโรคไข้สมองอักเสบนี้อาจทำให้พิการภายหลังได้ และ 5.โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา ทั้งนี้ จากการเฝ้าระวัง 14 โรคหน้าฝนดังกล่าวตลอดเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พบผู้ป่วยแล้ว 49,000 ราย ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99 รักษาหาย มีเสียชีวิตเพียง 19 ราย โดยเสียชีวิตจากโรคปอดบวม 13 ราย โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน 4 ราย และจากไข้เลือดออก โรคฉี่หนู อย่างละ 1 ราย สถานการณ์โรคโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้
ขณะที่นพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า อาการนำเด่นๆ ของโรคติดเชื้อหลักๆ คือ อาการไข้ หากมีไข้สูงและเช็ดตัวหรือกินยาลดไข้แล้วไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจรักษาที่ถูกกับโรค เพราะทั้ง 9 โรคที่เกิดขึ้นในฤดูฝนสามารถรักษาหายขาดได้ ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง ยาลดไข้ที่ต้องระมัดระวังในการใช้ลดอาการไข้ คือยาจำพวกแอสไพริน ห้ามกินอย่างเด็ดขาด เพราะมีอันตรายกับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้ฉี่หนู ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอยู่แล้ว หากได้รับยาแอสไพริน ซึ่งมีสารป้องกันเลือดแข็งตัวเข้าไป จะทำให้เลือดออกง่ายขึ้น ทำให้เสียชีวิตได้ง่ายขึ้น
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว สภาพอากาศในฤดูกาลนี้ทำให้โรคหลายชนิดแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว มีโรคที่สำคัญคือ โรคไข้เลือดออก โรคฉี่หนู โรคไข้หวัดใหญ่ ไข้มาลาเรีย โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคบิด โรคไข้สมองอักเสบเจอี โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง โรคปอดอักเสบ และโรคไข้หวัดนก ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โรงพยาบาลทุกแห่ง จับตาเป็นพิเศษ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2551 เป็นช่วง 90 วันอันตราย ให้แพทย์ตรวจคัดกรองผู้ป่วยโดยละเอียด โดยเฉพาะโรคไข้หวัดนก จะต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าไทยจะยังไม่พบผู้ป่วยมาเป็นเวลา 21 เดือนก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่กลายพันธุ์จากการผสมข้ามสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก โดยในหมู่บ้านได้ขอความร่วมมือ อสม. 800,000 คน ติดตามการป่วยของสัตว์ปีกในหมู่บ้าน ตามมาตรการที่มีอยู่แล้วอย่างต่อเนื่อง และรายงานผลทุกวัน
ด้าน นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า กรมควบคุมโรค ได้ออกประกาศเตือนประชาชนในการป้องกันโรคติดต่อที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝน จัดส่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกัน โดยมี 5 กลุ่ม รวม 14 โรค คือ 1.กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคบิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ 2.กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง ที่พบบ่อยคือ โรคเลปโตสไปโรซิส หรือโรคไข้ฉี่หนู 3.กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม อาการจะเริ่มจากไข้ ไอ หายใจเร็วหรือหอบเหนื่อย 4.กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ได้แก่ โรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นยุงลายที่อยู่ในบ้าน โรคไข้สมองอักเสบเจอี (Japanese Encephalitis) ซึ่งมียุงรำคาญ มักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนาเป็นตัวนำโรค ทั้ง 2 โรคนี้อาการจะเริ่มจากมีไข้สูง ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้อาเจียน โดยโรคไข้สมองอักเสบนี้อาจทำให้พิการภายหลังได้ และ 5.โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา ทั้งนี้ จากการเฝ้าระวัง 14 โรคหน้าฝนดังกล่าวตลอดเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พบผู้ป่วยแล้ว 49,000 ราย ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99 รักษาหาย มีเสียชีวิตเพียง 19 ราย โดยเสียชีวิตจากโรคปอดบวม 13 ราย โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน 4 ราย และจากไข้เลือดออก โรคฉี่หนู อย่างละ 1 ราย สถานการณ์โรคโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้
ขณะที่นพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า อาการนำเด่นๆ ของโรคติดเชื้อหลักๆ คือ อาการไข้ หากมีไข้สูงและเช็ดตัวหรือกินยาลดไข้แล้วไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจรักษาที่ถูกกับโรค เพราะทั้ง 9 โรคที่เกิดขึ้นในฤดูฝนสามารถรักษาหายขาดได้ ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง ยาลดไข้ที่ต้องระมัดระวังในการใช้ลดอาการไข้ คือยาจำพวกแอสไพริน ห้ามกินอย่างเด็ดขาด เพราะมีอันตรายกับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้ฉี่หนู ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอยู่แล้ว หากได้รับยาแอสไพริน ซึ่งมีสารป้องกันเลือดแข็งตัวเข้าไป จะทำให้เลือดออกง่ายขึ้น ทำให้เสียชีวิตได้ง่ายขึ้น